วันอาทิตย์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ปลาคาร์พ

การ คัดเลือกพันธุ์พันธุ์ปลาคาร์พนั้นจำเป็นต้องมีความพิถีพิถันในการคัดเลือก เพราะมีความสำคัญที่ลูกปลาที่ออกมาจะมีคุณภาพและขายได่ราคาหรือไม่

=700) window.open('http://www.ictdoisaket.com/upload/attachment/Mon_0910/33_33_3242734e10374cf.jpg');" onload="if(this.width>'700')this.width='700';if(this.height>'700')this.height='700';" border="0">

การเลือกพ่อ-แม่พันธุ์
เมื่อจะเพาะพัันธุ์ปลา ก็คงต้องการให้ปลาที่เกิดมามีสีสดใสสุขภาพดีและรอด
ต้องเริ่มด้วยการเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ที่มีคุณภาพดีเยี่ยม โดยดูจากปลาที่มีสุขภาพ
แข็งแรง คล่องแคล่วว่องไว สีสวยและครีบมีลักษณะดี ผู้เชี่ยวชาญบางคน
แนะนำว่าต้องไม่นำปลาkoi ชนิดหลักๆมารวมกันและควรจะเลือกปลาที่มี
สีพื้นสีขาว สีสด และลำตัวตรง คนเลี้ยงปลาที่มีชื่อเสียงบางคน จับคู่ปลาตัวผู้
และตัวเมียอย่างละตัวมาผสมพันธุ์กัน แต่มันยากที่จะเลือกปลาที่มีคุณสมบัติดี
พร้อม สำหรับที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ดังนั้นควรเลือกตัวผู้ 3 ตัว และตัวเมีย 1 ตัว ถ้าการจับคู่แรกล้มเหลว ลองเปลี่ยนคู่ผสมพันธุ์ด้วยตัวผู้อีกตัวเมื่อได้เวลาแล้ว นำปลาที่เลือกไปไว้ในบ่อผสมพันธุ์ อุณหภูมิน้ำในบ่อควรจะอยู่ที่ประมาณ 75 องศาฟาเรนไฮด์ ในตอนกลางวัน และอุณหภูมิควรจะลดลงในตอนกลางคืน การเปลี่ยนแปลงนี้เองที่กระตุ้นให้เกิดการผสมพันธุ์

ถ้าจับตาดูปลา ให้ดี เราจะเห็นมันเกี้ยวกัน ตัวผู้เริ่มที่จะรังแกตัวเมียเพื่อให้ตัวเมียวางไข่ การเกี้ยวจะเพิ่มขึ้นเมื่อใกล้เวลาที่ตัวเมียจะวางไข่ ไข่จะถูกวางในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ที่ซึ่งกระจายอยู่ตามที่ต่างๆ ในบ่อการผสมพันธุ์และการวางไข่มักเกิดในช่วงเช้า

การย้ายพ่อ-แม่พันธุ์ พ่อ-แม่ปลาอาจจะกินไข่ของตัวเองได้ ดังนั้นจึงต้องย้ายออกจากบ่อ อาจจะย้าย
ไปอีกบ่อที่มีคุณภาพน้ำดีและอุณหภูมิใกล้เคียงกัน หรือ จะย้ายกลับไปที่บ่อก็ได้
ไข่และลูกปลาอาจจะตายเป็นจำนวนมาก เพราะฉะนั้นไม่ต้องเป็นกังวลที่จะปกป้องไข่ทุกฟอง

การดูแลรักษาไข่
ไข่ ต้องอยู่ในอุณหภูมิที่คงที่เปลี่ยนแปลงได้ไม่เกิน 5 องศาฟาเรนไฮด์ทั้งกลางวันและกลางคืน ไข่จะตายถ้าอุณหภูมิของน้ำเปลี่ยนแปลงมากในระยะเวลา 24 ชั่วโมง ไข่จะเริ่มฟักภายใน 4-7 วัน ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิน้ำ ซึ่งควรอยู่ที่ประมาณ 68-75 องศาฟาเรนไฮด์ มันไม่แปลกที่เชื้อราจะ
มารบกวนไข่ ดังนั้นอาจต้องเพิ่มสารต้า่นเชื้อราในน้ำ เช่น malachite greenและควรมีความเข้มข้นประมาณ 0.2 มิลลิกรัมต่อน้ำ 1 ลิตร

หลัง จากฟักไข่ ลูกปลาจะหาที่ปลอดภัยโดยสัญชาตญาณ และจะหลบซ่่อนตัวอยู่ในอุปกรณ์เพาะพันธุ์ ลูกปลาสามารถอยู่รอดได้ 2-3 วัน จากอาหารที่ถุงไข่แดง (yolk sacs) หลังจากใช้หมดแล้วก็จะต้องให้อาหารมัน ลูกปลาต้องเผชิญกับความเปลี่ยนแปลงหลายอย่าง และระยะตัวอ่อนในช่วง 2-3 วันแรกต้องทำทุกทางที่จะเพิ่มออกซิเจนจำนวนมากให้แก่ลูกปลาในช่วงนี้ และต้องแน่ใจว่ามีการให้ออกซิเจนในน้ำ ควรจะรู้ว่า ต้องให้อาหารลูกปลาได้เมื่อพวกมันเริ่มที่จะว่ายน้ำไปมาในความลึกระดับกลาง ของน้ำ

คุณกฤษฎา อุยะเสถียร หรือคุณหนึ่ง เป็นอีกหนึ่งนักเลี้ยงที่มีพัฒนาการในการเลี้ยงปลาคาร์พ
รวดเร็วมาก จากจุดเริ่มต้นกับบ่อเล็กๆ กลายมาเป็นบ่อที่ใหญ่ขึ้น จากมือใหม่หัดขับ กำลังจะก้าว
มาเป็นดาวรุ่งพุ่งแรงดาวจรัสแสงของวงการ วันนี้ถือเป็นโอกาสที่วิเศษสุด ที่คุณหนึ่งได้สละเวลา
อันมีค่ามาพูดคุยสนทนาภาษาปลาคาร์พ แบบกันเองๆ มารับฟังเรื่องราวเส้นทางสายปลาคาร์พ
ของเขาคนนี้กันดีกว่าครับ
– ส่วนใหญ่การเลี้ยงปลาคาร์พ มักจะเริ่มต้นจากเห็นคนอื่นเลี้ยงแล้วอยากเลี้ยงตาม หรือไม่
ก็มีใครชักชวนให้เลี้ยง คุณหนึ่งเริ่มต้นจากจุดนี้หรือเปล่าครับ
คุณหนึ่ง- ไม่นะผมเลี้ยงของผมเอง เริ่มจากเมื่อสิบปีที่แล้ว ตอนนั้นผมเลี้ยงปลาทองแล้วก็
นึกอยากเลี้ยงปลาคาร์พดูบ้าง เพราะชอบที่ตัวมันใหญ่ มีลวดลายสวยแปลกตา จำไม่ได้ว่าเคย
เห็นครั้งแรกเมื่อไหร่ คือเห็นมาตั้งแต่ตอนเป็นเด็ก
– บ่อยังใหม่อยู่เลย รู้สึกว่าระบบยังไม่เข้าที่ด้วยซ้ำ เพิ่งสร้างเสร็จหรือครับ
คุณหนึ่ง- สร้างเสร็จไม่นานมานี้เอง เป็นบ่อแรกที่เลี้ยงปลาคาร์พอย่างเป็นกิจลักษณะ เป็น
บ่อมาตรฐานมีระบบกรอง
– อย่างนี้หมายความว่า มีบ่อก่อนหน้าบ่อนี้ใช่ไหมครับ
คุณหนึ่ง - แต่ก่อนผมเลี้ยงอยู่ที่ต่างจังหวัด เป็นบ่อขุดเอง
ลึก 1.2 กว้าง 1.2 ม. เป็นบ่อเล็กๆ สร้างไว้ข้างบ้าน ขุดเองนะ
ครับแต่จ้างช่างมาฉาบ ตอนนั้นเลี้ยงปลาไทย ไม่ได้เลี้ยงปลา
นอก ไปซื้อที่จตุจักรตัวไหนสวยถูกใจ ราคา 100-200 บาท
ก็ซื้อมาเลี้ยงดูเล่น เอามาใส่อ่างเล็กๆ เลี้ยงที่บ้านกรุงเทพแล้ว
ขนย้ายไปขอนแก่น
– บ่อแรกที่พูดถึงเป็นบ่อเล็ก แล้วด้วยเหตุใดบ่อใหม่นี้จึง
สร้างออกมาใหญ่กว่าเดิมครับ
คุณหนึ่ง - จากประสบการณ์ที่ได้จากการเลี้ยง ในบ่อเล็กๆ
ปลาโตช้า ตามความเข้าใจของผม บ่อเล็กมันจะทำให้ปลาตัว
เล็กไปด้วย มันเหมือนกับปลาทองที่ผมเคยเลี้ยงถ้าอ่างเล็กปลา
ก็จะตัวเล็กตามอ่าง ถ้าเปลี่ยนอ่างใหญ่ขึ้น ปลาก็ขยายตัวตาม
อ่าง บ่อนี้ผมเลยทำใหญ่ขึ้น เพราะอยากจะเลี้ยงปลาไซส์ใหญ่
ในวันหน้า
- บ่อนี้สร้างเองเหมือนบ่อแรกหรือเปล่าครับ
คุณหนึ่ง - ผมให้คุณประทนต์ทำ คุณประทนต์ออกแบบ
ให้ทั้งหมด ผมเพิ่มเติมรายละเอียดลงไปนิดหน่อย ตามความ
รู้ที่เรามี ขนาดของบ่อ กว้าง,ลึก,ยาว ผมกำหนดเอง แต่จริงๆ
แล้วบ่อนี้ถูกจำกัดด้วยพื้นที่ข้างบ้าน ทำเต็มพื้นที่แล้ว ได้กว้าง
2.8 ม. รวมบ่อกรองด้วย กว้าง 3.3 ม. ยาว 6.2 ม. ความลึก
ตรงสะดือบ่อ 2.3 ม. ความลึกด้านข้าง 1.95 ม.
– บ่อกรองใช้ระบบไหน
คุณหนึ่ง - ช่องแรกผมเป็นระบบเซมิวอร์เท็ก ช่อง 2 เป็น
ระบบน้ำล้นน้ำลอด มีช่องมีเดียทั้งหมด 2 ช่อง มีเดียที่ใช้เป็น
หินภูเขาไฟ ส่วนช่องที่เป็นช่องน้ำล้น ผมกำลังคิดว่าจะเอาภู่
ภู่มาแขวนเพื่อดักจับตะกอนหนัก
– ท่อจากสะดือบ่อมาบ่อกรองวอร์เท็ก ใช้ท่อขนาดกี่นิ้ว
คุณหนึ่ง - ขนาด 4 นิ้ว 2 ท่อ บ่อมี 2 สะดือหัวท้าย ปั้มใช้
FOX ขนาดท่อเอาท์พุท 3 นิ้ว
– ค่าใช้จ่ายในการสร้างบ่อนี้เท่าไหร่ครับ
คุณหนึ่ง - ตัวบ่อเปล่าๆ กับมีเดียบางส่วน 190,000 บาท
ไม่รวมปั้ม FOX
– ปัญหาในการสร้างบ่อนี้มีอะไรบ้างครับ
คุณหนึ่ง- ถ้าพูดถึงปัญหาตอนสร้างไม่มีอะไรนะ ไม่รั่วไม่
ซึม ดินที่ขุดผมก็เอามาถมบริเวณหน้าบ้าน ที่เห็นเป็นเนินสูง
มาจากดินที่ขุดทำบ่อทั้งนั้น สนามหญ้าสูงกว่าเก่าเยอะเลยแต่
สร้างเสร็จแล้วนี่สิ มีบางส่วนที่ผมอยากเปลี่ยนแปลง

























– เปลี่ยนแปลงจุดไหนครับ
คุณหนึ่ง- ความยาวของบ่อ พื้นที่ของผมมันยังมีเพียงพอ
ที่จะสร้างได้ยาวมากกว่านี้ ตอนแรกที่สร้างผมก็คิดว่าขนาด 6
คูณ 4 นี่ใหญ่แล้ว แต่พอมีโอกาสไปเห็นบ่อ 700 ตัน คุณโฟล์ค
นครสวรรค์ กลับมาแทบอยากทุบบ่อนี้ทิ้ง ถ้าผมได้ไปเห็นบ่อ
คุณโฟล์คก่อนนะ ผมคงทำยาวเกิน 10 เมตรขึ้นไป หรืออาจจะ
ทำยาวจนสุดพื้นที่เลยก็ได้ ผมเพิ่งได้รับความรู้มาว่าบ่อยาวจะ
มีผลดีต่อโครงสร้างปลา บ่อยาวจะมีระยะให้ปลาได้ว่าย โครง
สร้างปลาจะสวย ผมมีโครงการที่จะทำบ่อใหม่
– ชอบปลาเล็กหรือใหญ่ ชอบปลาฟาร์มไหนเป็นพิเศษ
คุณหนึ่ง- ผมชอบปลาซาไก ปลาเกือบทุกตัวผมจะซื้อจาก
ไทย-นิปปอน ผมชอบเลี้ยงปลาโตไซ (ปลาอายุ 1 ปี) มันเหมือน
กับว่าเป็นการฝึกทักษะการเลี้ยงของเราไปในตัว
ผมว่าการเลี้ยงปลาคาร์พที่ดีมันต้องมาจากจุดเริ่มต้น ต้อง
เริ่มต้นมาจากขั้นที่หนึ่ง ปลาโตไซมันเป็นปลาขั้นที่หนึ่ง ถ้าเรา
ไปเริ่มต้นกับปลาใหญ่ เราก็ไม่มีโอกาสรู้ว่าปลาเล็กมันเป็นอย่าง
ไร มันไม่เป็นไปตามขั้นตอน
– ตอนนี้เลี้ยงไว้ทั้งหมดกี่ตัวครับ
คุณหนึ่ง- 29 ตัว ไซส์ใหญ่สุดเป็นโคฮากุ 45 bu ปลาตัว
โปรดผมมีอยู่ 3 ตัว เป็นโอจิบะชิกูเล่หมดเลย ชอบที่มันกินเก่ง
กินอาหารกับมือผมได้เลยนะ เชื่องมาก เป็นปลาจากฟาร์มซาไก
ปลาที่มาจากฟาร์มอื่นมี 4 ตัว เป็นอิซ่าโชว่า 2 ตัว อีก 2 ตัวเป็น
โคฮากุกับซูซุย จำไม่ได้ว่ามาจากฟาร์มไหน
– เลี้ยงมาแล้วทั้งปลาไทยและปลาญี่ปุ่น มีความแตกต่าง
กันไหมครับ
คุณหนึ่ง- ผมว่าปลาไทยเรื่องสีใช้ได้ ถ้าเป็นปลาเล็กลวด
ลายสวยไม่แพ้ญี่ปุ่น แต่ในเรื่องโครงสร้างมันจะด้อยกว่าอย่าง
เห็นได้ชัด ผมเคยเลี้ยงปลาไทยได้ถึง 73 bu เลยนะ แต่โครง
สร้างมันไม่ล่ำ เรื่องสีปลาไทยเล็กๆ สีใช้ได้ แต่พอโตสีจะจาง
แต่ปลาซาไกยิ่งโตสียิ่งหนา เข้ม
– เรื่องราคา คิดว่าปัจจุบันนี้ราคาแพงเกินไปไหมครับ
คุณหนึ่ง- ผมคงตอบไม่ได้หรอกครับแพงหรือไม่แพง แต่
ถ้าเราจ่ายเงินไปแล้ว เราได้ความสุขกลับคืนมา มันก็สมเหตุสม
ผลกับเงินที่จ่ายไป ดีกว่าเอาไปเสียหายเรื่องอื่น
– ตั้งเป้าหมายในการเลี้ยงไปถึงระดับไหนครับ
คุณหนึ่ง- จากที่ได้ไปเห็นปลาของคุณโฟล์ค แล้วรู้สึกประ
ทับใจ อยากเลี้ยงให้ได้ถึงระดับนั้น และจะส่งเข้าประกวดด้วย
ครับ ผมคิดว่าการประกวดมันเป็นเหมือนการกระตุ้นและสร้าง
ความสนุก ให้กับการเลี้ยงของเรา
– ประทับใจบ่อคุณโฟล์คมากหรือครับ
คุณหนึ่ง- มันเป็นอะไรที่เพอร์เฟ็คมากทั้งปลาทั้งบ่อ ทุก
อย่างลงตัวไปหมด ผมแนะนำให้ผู้ที่คิดจะเลี้ยง ลองหาโอกาส
ไปเยี่ยมชมบ่อคุณโฟล์คก่อน คุณจะได้ความรู้ได้แนวทางดีๆมา
มาใช้เป็นประโยชน์แน่นอน
– คิดว่าควรเลี้ยงปลาจำนวนกี่ตัวครับ
คุณหนึ่ง- จำนวนที่เลี้ยงอยู่ตอนนี้มากเกินไป วันหน้าต้อง
คัดออกบางส่วน อาจจะคัดเอาปลาที่แกรนไม่โต ปลาตัวผู้ปลา
ด้อยคุณภาพ บ่อผมน่าจะเลี้ยงปลาใหญ่ได้ไม่เกิน 15 ตัว
– คำแนะนำสำหรับผู้ที่กำลังจะสร้างบ่อเลี้ยงปลาคาร์พ
คุณหนึ่ง- ต้องเตรียมข้อมูล วางแผนให้ดี ต้องมีความรู้
ในเบื้องต้นบ้าง โดยเฉพาะเรื่องระบบบ่อกรอง จะให้ผู้รับเหมา
คิดแทนเราไปเสียทุกเรื่องไม่ได้ เราต้องมั่นใจในข้อมูลที่เราไป
รู้ไปศึกษามา เราต้องให้คำแนะนำการแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ กับ
บ่อเลี้ยงถ้าไม่รั่วไม่ซึมก็เลี้ยงปลาได้ทั้งนั้นแหละ แต่กับบ่อกรอง
ถ้ามันไม่ดีแล้วมันเป็นปัญหาที่แก้ไขได้ยากในภายหลัง
จบแล้วครับ กับการพูดคุยสนทนาเล็กๆ น้อยๆ กันเองๆ ที่
คุณหนึ่งได้สละเวลามาร่วมสนทนาเล่าสู่กันฟัง หวังว่าหลังจาก


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น