วันเสาร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สัตว์เศรษฐกิจ

สัตว์เศรษฐกิจ หมายถึง สัตว์เลี้ยงที่มีคุณค่าและมีปริมาณมากพอที่จะนำมาใช้ประโยชน์ในเชิงเศรษฐกิจ ตัวอย่างของสัตว์เศรษฐกิจที่เป็นที่รู้จักกันมีอาทิเช่น โค กระบือ ไก่ สุกร เป็นต้น โดยสัตว์เศรษฐกิจของประเทศออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ คือแกะซึ่งขนของมันสามารถนำรายได้เข้าประเทศเป็นจำนวนมาก นอกจากนั้นก็มีโคซึ่งผลผลิตทั้งเนื้อ หนัง สามารถนำไปแปรรูปเป็นผลผลิตส่งขายไปได้ทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยสัตว์เศรษฐกิจที่นำรายได้เข้าประเทศ มีอาทิเช่น ไก่ ซึ่งการแปรรูปทั้งในลักษณะไก่ต้มสุก และไก่แช่แข็งส่งออกไปยังประเทศญี่ปุ่น ยุโรปและสหรัฐอเมริกา นอกจากนี้ก็มีกุ้งกุลาดำ ซึ่งมีการเลี้ยงอย่างกว้างขางทางภาคใต้ของประเทศและสามารถส่งออกนำรายได้ เข้าประเทศได้มหาศาลเช่นกัน

ปัจจุบันมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้นอีกหลายชนิดทั้ง จากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสามารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้

อาชีพเลี้ยงสัตว์ จัดได้ว่าเป็นอาชีพที่ทำกันอย่างแพร่หลายกระจายอยู่ตามภูมิภาคต่างๆ ของประเทศไทย สัตว์เศรษฐกิจที่นิยมเลี้ยงมีอยู่ด้วยกันหลายประเภท ทั้งเลี้ยงเพื่อบริโภคภายในประเทศและส่งออกต่างประเทศ โดยการเลี้ยงสัตว์สามารถทำรายได้เข้าสู่ประเทศเป็นจำนวนมาก ในปัจจุบัน การเลี้ยงสัตว์ของประเทศไทยถือได้ว่ามีศักยภาพและใช้เทคโนโลยีเทียบเท่ากับ นานาประเทศ เนื่องจากผลผลิตที่ผลิตได้จากประเทศไทยสามารถตอบสนองต่อความต้องการบริโภค และสร้างความเชื่อมั่นในคุณภาพตามมาตรฐานทั้งจากยุโรปหรืออเมริกา

ซึ่งในระยะหลังจากที่เกิดภาวะโลกร้อนหรือ “Global Warming” มีการสูญพันธ์ของสัตว์นานาชนิดมากขึ้นมีการก่อกำเนิดของโรคใหม่ๆ ระบาดสู่คนมากขึ้น เช่น ซาร์สหรือไข้หวัดนก ทำให้มีการฆ่าทำลายสัตว์ปีก และไก่ จำนวนมากมหาศาลตามที่เห็นอยู่ในข่าวที่ผ่านมา เราจึงต้องมีการพัฒนาสัตว์เศรษฐกิจใหม่ขึ้น ทั้งจากการนำสัตว์ป่ามาเลี้ยงในเชิงพาณิชย์ เช่น หมูป่า และการนำเข้ามาจากต่างประเทศ นกกระจอกเทศ ซึ่งสมารถนำมาเพาะเลี้ยงและขยายพันธุ์ โดยมีแนวโน้มจะสามารถผลิตในเชิงพาณิชย์ได้ในอนาคต เพราะสามารถนำทุกส่วนมาทำเป็นผลผลิตขายได้

การเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจเพื่อการจำหน่ายตามความต้องการของ ผู้บริโภค เป็นแนวทางหนึ่งที่สามารถสร้างรายได้ให้แก่ครอบครัว สามารถประกอบอาชีพได้

[แก้ไข] 1.หลักการเลี้ยงสัตว์เพื่อจำหน่าย

ความต้องการของตลาด โดยเฉพาะอย่างยิ่งปริมาณและกลุ่มเป้าหมายของผู้บริโภค

ต้นทุนการผลิต หมายถึง ค่าใช้จ่ายในการผลิตทั้งหมด รวมทั้งแหล่งการเงินซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญ ในการดำเนินการ

ความรู้และทักษะของผู้ผลิตเป็นสิ่งสำคัญมาก เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์ ซึ่งเป็นสิ่งมีชีวิตต้องมีทักษะ และเทคนิคชั้นสูงรวมทั้งเทคโนโลยีจึงจะไปได้รอด

เปิดโลกทัศน์การเลี้ยงสัตว์ใหม่ ถ้าเป็นผู้ริเริ่มเป็นคนแรก และตลาดรองรับ โอกาสที่ประสบผลสำเร็จเป็นไปได้สูงมาก

สถานที่เลี้ยงสัตว์ต้องเหมาะสมกับสัตว์แต่ละประเภท รวมทั้งสภาพแวดล้อมที่เอื้ออำนายต่อการเลี้ยงสัตว์ชนิดต่างๆ ด้วย

[แก้ไข] 2.สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่น

สัตว์ที่มีจำหน่ายในท้องถิ่นมีหลายประเภทแตกต่างไปตามลักษณะของภูมิประเทศ ของท้องถิ่นนั้นๆ

2.1 ชายทะเลเป็นดินเลนน้ำกร่อย หรือน้ำเค็ม มีกุ้ง ปู ปลา และสัตว์ทะเลอื่นๆ

2.2 ที่ลุ่มหรือเขตดินเหนีย เหมาะแก่การทำบ่อปลา บ่อกุ้งก้ามกราม ปลานิล ปลาตะเพียน ปลาไน ปลาดุก ปลาช่อน ปลาสวาย และปลาน้ำจืดต่างๆ

2.3 ทุ่งหญ้าหรือแหล่งปลูกพืชผักที่มีเศษผักและหญ้าที่หาง่าย เป็นแหล่งเลี้ยงโคเนื้อ โคนม กระบือ แพะ แกะ

2.4 แหล่งที่หาซื้อพืชไร่ได้ง่ายเป็นแหล่งเลี้ยงไก่ไข่ ไก่เนื้อ สุกร เป็ด ห่าน

2.5 แนวโน้มในอนาคตคือสัตว์ชนิดใหม่ เช่น หมูป่า เนื้อกวาง นกกระจอกเทศ จระเข้ และผึ้งเพื่อการบริโภค เป็นต้น

[แก้ไข] 3.ประเภทของสัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่าย

สัตว์เลี้ยงเพื่อจำหน่ายมีหลายประเภทดังนี้

สัตว์ทั่วไปที่เป็นความต้องการของตลาด เช่น เป็ด ไก่ หมู วัว กุ้ง หอย ปู ปลา เป็นต้น เป็นอาหารพื้นฐานที่มีคนนิยมบริโภคโดยทั่วไป ไม่ว่าจะเป็นคนต่างชาติ ศาสนา และวัฒนธรรมสัตว์เป็นที่นิยมเฉพาะบางกลุ่ม แต่อาจมีปริมาณคนบริโภคสูงมาก เช่น แพะ แกะ เป็นต้น

เป็นสัตว์เศรษฐกิจชนิดใหม่ที่มีผู้นิยมบริโภคสูง สามารถจำหน่ายได้ง่ายและสม่ำเสมอ เช่น ผึ้งและผลิตภัณฑ์ ตั๊กแตน เป็นต้น ซึ่งมีกลุ่มผู้บริโภคอยู่จำนวนมากพอสมควร และมีการลงทุนต่ำ ปัจจุบันมีสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ออกจำหน่ายและส่งเสริมการผลิตด้วยจึงน่าจะ เป็นทางเลือกที่สดใส

สัตว์เศรษฐกิจที่น่าสนใจอีกชนิดที่นำมาฝากสมาชิกวิชาชีพ ปริทัศน์ เพื่อเป็นทางเลือกในการเลี้ยงสัตว์เศรษฐกิจก็คือ ปูม้า โดยธรรมชาติแล้วปูม้าจะมีกระดองกว้าง ระหว่างขอบตามีหยักประมาณสีหยัก ขาสั้นกว่าก้าม ขาคู่ท้ายแบนเป็นรูปใบพาย ตัวผู้มีก้ามยาวกว่าตัวเมีย ลำตัวมีสีฟ้าอ่อน มีจุดสีขาวทั่วไปบนกระดอง พื้นท้องเป็นสีขาว ก้ามสั้นกว่าตัวผู้ กระดองสีน้ำตาลอ่อน มีตุ่มขรุขระไม่มีจุดสีขาวเหมือนตัวผู้ ปลายขามีสีม่วง

รสชาติของเนื้อปูม้ามีรสหวานอร่อย เป็นที่ชื่นชอบของผู้ที่ชอบรัปทานอาหารทะเลเป็นอย่างมาก ในอดีตปูม้าเป็นเพียงสัตว์ทะเลที่ปะปนมากับเครื่องมือประมง ซึ่งชาวประมงใช้จับปลาในเขตน้ำตื้นเท่านั้น การจับปูม้าเป็นอาชีพจริงๆ ยังไม่มี และเป็นอาหารทะเลที่มีราคาถูก แต่ปัจจุบันปูม้ากลับมาเป็นอาหารทะเลที่มีราคาสูง มีการปรางเพื่อจับปูโดยเฉพาะแทนการจับปลาอย่างเดียว

ดังนั้น การเพาะเลี้ยงปูม้าเพื่อเป็นสัตว์เศรษฐกิจน่าจะเป็นทางเลือกให้กับผู้ที่ สนใจในอาชีพประมง เพราะปูม้าสามารถเริ่มผสมพันธ์ได้ตั้งแต่อายุประมาณสามเดือน ขนาด 4.5 เซนติเมตร วางไข่ตลอดปีแถมยังมีราคาสูงและยังมีส่วนช่วยในการเพิ่มปริมาณปูม้าเพื่อ สนองความต้องการตลาดอาหารทะเลได้อีก รวมถึงเป็นการช่วยลดการใช้ทรัพยากรปูม้าที่อยู่จำกัดตามธรรมชาติ และยังเป็นการทดแทนปูตามธรรมชาติที่ถูกจับไปทุกวันอีกด้วย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น