วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การเลี้ยงปลาดุกอุย


ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาวมีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบัน วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศ หรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก
การเพาะผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม.

2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป

3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
4. เข็มฉีดยา
5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา

4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้
1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit) การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้ ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่ง ฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีด ครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง

5. ปริมาณสารละลายที่ใช้หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับ พ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็น เรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี

6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร) ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ชนิดและปริมาณต่อมใต้สมองในการฉีดกระตุ้นให้ปลาดุกอุยวางไข่
ชนิดต่อม ฉีดครั้งที่ 1 (โดส) ฉีดครั้งที่ 2 (โดส)
ปลาสวาย 1.5 2.5
ปลาจีน 1 2
ปลาไน 0.8 1.8

7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อ นั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะ ผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำ เชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมีย ประมาณ 10 ตัว

8. การฟักไข่ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟัก ไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาด ประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่
การอนุบาลลูกปลา
ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร การขนส่งลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน น้ำที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เข่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลุกปลาและการเน่าเสีย ของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อง 1 ลูกปลาดุก ลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อ ซีเมนต์ ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้ว ค่อย ๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อ ๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่น ๆ
ขั้นตอนการเลี้ยง
1. อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ควรปล่อยในอัตประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและระบบการเปลียนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่วๆไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหารควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (2-3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การให้ อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 - 14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40- 70 %
3. การถ่ายเท น้ำเมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำ ในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 -60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
4. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจาก ปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ชึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหาร จะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้ง แล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา
การเลี้ยงปลาให้ได้ขนาดตลาด
การเลี้ยงปลาดุกลูกผสมอุยเทศเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์
1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มี สภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูน ระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 ชม. ควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ โดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ชม./อาทิตย์ให้อาหารเม็ดประมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา โดยปล่อยปลาในอัตรา 50-70 ตัว/ตรม. ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80% ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสียยกว่าการถ่ายเทน้ำ เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด
2. การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาวเพีอปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 - 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋มคอกเพีอให้เกิดอาหารธรรพาติสำหริบลูกปลาในอัตราประมาณ 40 - 80 กก./ไร่
4. นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำจนมีระดับน้ำลึก 30-40 ซม. หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกินควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลาหลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาทปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้ เท่าๆกันก่อน โดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว
อนึ่ง ในการรักษาโรดปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
วิธีป้องกันโรค
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ
สารเคมีและยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา
ชนิดของสารเคมี/ยา วัตถุประสงค์ ปริมาณที่ใช้
เกลือ กำจัดแบคทีเรียบางชนิดเชื้อราและปรสิตบางชนิดลดความเครียดของปลา 0.1-0.5%่ แช่ตลอด 0.5-1.0 % แช่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ปูนขาว ฆ่าเชื้อก่อนปล่อยปลาปรับของดินและน้ำ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ
คลอรีน ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กับบ่อเลี้ยงปลา 10พีพีเอ็มแช่ 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนใช้
ดิพเทอร์เร็กซ์ กำจัดปลิงใส เห็บปลา หนอนสมอ 0.25-0.5 พีพีเอ็มแช่ตลอดยาที่ใช้ควรเป็นผงละเอียดสีขาวถ้ายาเปลี่ยนเป็นของเหลวไม่ควรใช้
ฟอร์มาลิน กำจัดปรสิตภายนอกทั่วไป 25-50 พีพีเอ็มแช่ตลอดระหว่างการใช้ควรระวังการขาดออกซิเจนในน้ำ
ออกซีดเตตร้าซัยคลิน กำจัดแบคทีเรีย ผสมกับอาหารในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมให้กินนาน 7-10วันติดต่อกันแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ตันนาน 5-7 วัน
คลอแรมฟินิคอล <กำจัดแบคทีเรีย <ผสมกับอาหารอัตรา 1 กรัมอาหาร 1 กิโลกรัมหนึ่งสัปดาห์บางครั้งก็ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนกับปลาน้ำจืดชนิดอื่น
รายการ ดุกบิ๊กอุย ช่อน นิล ตะเพียน
ต้นทุนทั้งหมดต่อไร่(บาท) 48,834.07 411,297.83 6,151.25 9,832.84
ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 3,191.32 19,163.07 888.27 1,120.48
เกษตรกรขายได้ (บาท) 20.25 46.22 11.35 15.16
พันธุ์ปลาที่ปล่อย (ตัว/ตรม.) 25-30 25-30 5-6 2-3
กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อ กก. (บาท) 4.95 5.75 4.43 6.39
กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ (บาท) 15,790.16 58,439.27 3,930.61 7,162.64
ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง (เดือน) 5.25 6.85 10.49 10.83
ผลตอบแทนการลงทุน (ร้อยละ) 32.35 14.21 64.02 72.86
ปริมาณการเพาะเลี้ยง
การจำหน่ายผลผลิตปลาดุกในราคาเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดเป็นรายภาคปี 2535 ดังนี้
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 44.92 บาท
จังหวัดอุทัยธานี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 19.26 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุดรธานี ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 70.23 บาท
จังหวัดนครราชสีมา ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.89 บาท
ภาคกลาง
จังหวัดชัยนาท ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 28.61 บาท
จังหวัดลพบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.38 บาท
ภาคตะวันออก
จังหวัดสมุทรปราการ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 68.49 บาท
จังหวัดนครนายก ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.86 บาท
ภาคตะวันตก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 30.95 บาท
จังหวัดกาญจนบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.07 บาท
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 54.48 บาท
จังหวัดพัทลุง ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 23.20 บาท
สำหรับในปี 2538 ราคาปลาดุกไตรมาสแรก (เดือนมกราคม-มีนาคม 2538) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.63 บาทแลไตรมาสที่สอง (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท (จุลสารเศรษฐกิจการประมง กรมประมง)
จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าต้นทุนการผลิตปลาดุกบิ๊ก อุยในปี 2535 โดยเฉลี่ยต่อไร่เป็นเงิน 48,834.07 บาท จำหน่ายได้ไร่ละ 64,624.23 บาทมีกำไรสุทธิ 15,790.16 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 15.30 บาทมีกำไรสุทธิเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.95 บาทได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 32.35
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ระหว่างปลาดุกบิ๊กอุยกับปลาช่อนในปี 2535 พบว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 411,297.83 บาท จำหน่ายผลผลิตมีรายได้ 469,737.10 บาทต่อไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 40.47 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 5.75บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 14.21
เกี่ยวกับผลการศึกษาจำนวนฟาร์มเนื้อที่ ปริมาณและมูลค่าการเลี้ยงปลาน้ำจืดในปี 2534 ของกองเศรษฐกิจการประมง กรมประมงมีดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 15,444ฟาร์มเนื้อที่ 15,430 ไร่ ปริมาณผลผลิต 13,298.46 ตัน มูลค่า 288.1 ล้านบาท ได้แก่พื้นที่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 29,226 ฟาร์ม เนื้อที่ 46,501 ไร่ ปริมาณผลผลิต 11,334.13 ตัน มูลค่า 264.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี ภาคกลาง จำนวน 14,172 ฟาร์ม เนื้อที่ 77,322 ไร่ ปริมาณผลผลิต 85,199.22 ตัน มูลค่า 1,614.5 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ จำนวน 5,897 ฟาร์ม เนื้อที่ 1,925 ไร่ ปริมาณผลผลิต 5,076.94 ตัน มูลค่า 156.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา
ราคาจำหน่ายและผลผลิต

การจำหน่ายผลผลิตปลาดุกในราคาเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดเป็นรายภาคปี 2535 ดังนี้

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 44.92 บาท
จังหวัดอุทัยธานี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 19.26 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุดรธานี ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 70.23 บาท
จังหวัดนครราชสีมา ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.89 บาท
ภาคกลาง
จังหวัดชัยนาท ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 28.61 บาท
จังหวัดลพบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.38 บาท
ภาคตะวันออก
จังหวัดสมุทรปราการ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 68.49 บาท
จังหวัดนครนายก ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.86 บาท
ภาคตะวันตก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 30.95 บาท
จังหวัดกาญจนบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.07 บาท
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 54.48 บาท
จังหวัดพัทลุง ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 23.20 บาท
สำหรับในปี 2538 ราคาปลาดุกไตรมาสแรก (เดือนมกราคม-มีนาคม 2538) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.63 บาทและไตรมาสที่สอง (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท (จุลสารเศรษฐกิจการประมง กรมประมง)
จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าต้นทุนการผลิตปลาดุกบิ๊ก อุยในปี 2535 โดยเฉลี่ยต่อไร่เป็นเงิน 48,834.07 บาท จำหน่ายได้ไร่ละ 64,624.23 บาทมีกำไรสุทธิ 15,790.16 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 15.30 บาทมีกำไรสุทธิเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.95 บาทได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 32.35
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ระหว่างปลาดุกบิ๊กอุยกับปลาช่อนในปี 2535 พบว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 411,297.83 บาท จำหน่ายผลผลิตมีรายได้ 469,737.10 บาทต่อไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 40.47 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 5.75บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 14.21
เกี่ยวกับผลการศึกษาจำนวนฟาร์มเนื้อที่ ปริมาณและมูลค่าการเลี้ยงปลาน้ำจืดในปี 2534 ของกองเศรษฐกิจการประมง กรมประมงมีดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 15,444ฟาร์มเนื้อที่ 15,430 ไร่ ปริมาณผลผลิต 13,298.46 ตัน มูลค่า 288.1 ล้านบาท ได้แก่พื้นที่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 29,226 ฟาร์ม เนื้อที่ 46,501 ไร่ ปริมาณผลผลิต 11,334.13 ตัน มูลค่า 264.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี ภาคกลาง จำนวน 14,172 ฟาร์ม เนื้อที่ 77,322 ไร่ ปริมาณผลผลิต 85,199.22 ตัน มูลค่า 1,614.5 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ จำนวน 5,897 ฟาร์ม เนื้อที่ 1,925 ไร่ ปริมาณผลผลิต 5,076.94 ตัน มูลค่า 156.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา
การตลาด
1. ตลาดกลางที่เป็นแหล่งซื้อขายปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดบางปะกง ฉะเชิงเทรา ตลาดรังสิต ปทุมธานี ตลาดลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสะพานปลา กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิถีการตลาดปลาในภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอเทศ) ซึ่งขนส่งในลักษณะแช่น้ำไว้ระหว่างการขนส่งและวางขายในตลาดนั้นจะผ่านมือผู้ รวบรวมจากภาคกลางแล้วสงให้พ่อค้าขายส่งมือ 1,2 จนกระทั่งถึงพ่อค้าขายปลีก
2. การบริโภคภายในประเทศ จากผลผลิตปลาดุกเฉลี่ยในปี 2530 จำนวน 13,900 ตันถ้าจำนวนประชากรมีประมาณ 52 ล้านคน ก็จะบริโภคปลาดุกเฉลี่ย 0.27 กก./คน/ปี เท่านั้นแต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าในภาคอีสานบริโภคปลาน้ำ จืดเฉลี่ย 21.3 กก./คน/ปี ในจำนวนนี้เป็นปลาช่อน 7 กก./คน/ปี ปลาดุก 3.6 กก./คน/ปี ปลาหมอ 1.8 กก./คน/ปี นอกนั้นเป็นปลานิลตะเพียนและปลาอื่นๆ ปริมาณปลาดุกที่บริโภค 3.6 กก./คน/ปี นั้นร้อยละ 18.6 ได้จากการซื้อมา ดังนั้นคนอีสาน 1 คน ซื้อปลาดุกบริโภคเฉลี่ย 0.67 กก./คน/ปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยทั้งประเทศ
3. ราคา จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกี่ยวกับ ราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงขายได้ พบว่า การเพิ่มขึ้นของราดาปลาน้ำจืด โดยเฉพาะ ปลาช่อนและปลาดุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 5.85 และ 5.05 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่า สัตว์น้ำจากทะเล
การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญ ๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาฟาร์มของปลาดุกสูงขึ้นถึง ร้อยละ 25.63 ซึ่งสูงมากที่สุด ส่วนปลาช่อนนั้นอัตราเพิ่มขึ้นของราคาเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นส่วนราคากุ้งก้ามกรามนั้นลดลงร้อยละ 9.01 จากปี 2529 สำหรับราคาฟาร์มเฉลี่ยในแต่ละภาคนั้นจะเห็นว่าราคาฟาร์มในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือนั้นสูงมากกว่าภาคกลาง และภาคตะวันตกและภาคตะวันออก และถ้าเป็นรายจังหวัดแล้วจะเห็นว่าราคาฟาร์ม ในจังหวัดสตูลและสงขลานั้นสูงสุดกล่าวคือราคาปลาดุก ณ ฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งแสดงว่าปริมาณผลิตนั้นมีผลกระทบกับราคาฟาร์มกล่าวคือ ในภาคกลาง และภาคตะวันตก ซึ่งมีการกระจุกตัวกันของแหล่งผลิตมากทำให้ราคาฟาร์มเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าภาค อื่น ๆ ซึ่งมีการกระจายตัวของแหล่งผลิตมากกว่า
แนวโน้มการตลาด
1. ปลาดุกบิ๊กอุยเป็นปลาเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วจึงมีเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาปลาดุกไม่เคลื่อนไหวมากนัก
2. เนื่องจากอุปนิสัยของคนไทยซึ่งนิยมบริโภคเนื้อปลาอยู่แล้ว ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ราคาต่ำลงได้แล้วจะทำให้การบริโภคสูงขึ้น
3. ผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอันเนื่องมาจากแหล่งน้ำเสื่อมโทรมก็จะมีผลทำให้ มีการบริโภคปลาจากการเพาะเลี้ยงมากขึ้น
4. เมื่อมีการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของปลาดุกได้แล้วก็มีโอกาสในการแข่งขันในระดับต่างประเทศมากขึ้น
5. ในปัจจุบันมีการรณรงค์บริโภคอาหารโปรตีนจากเนื้อปลา เพราะให้โปรตีนสูง ย่อยง่ายและยังมีราคาถูกด้วย
ปัญหาและอุปสรรค
1. ส่วนเหลื่อมการตลาด(Market Margin)ของปลาดุกซึ่งต้องแช่น้ำตลอดจนทั้งนี้เพราะผู้บริโภคนิยมบริโภคแบบมี ชีวิตทำให้ส่วนเหลื่อมการตลาดสูง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พบว่าส่วนเหลื่อมการตลาดของปลาน้ำจืดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14 บาท
2. สำหรับตลาดในประเทศนั้นยัง มีการแข่งขันกับปลาดุกจากแหล่งน้ำธรรมชาติในบางช่วงฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝน ดังนั้นการผลิตและตลาดควรคำนึงถึงฤดูกาลด้วย
3. ตลาดต่างประเทศ ยังค่อนข้างจำกัด เนื่องมาจากการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์แปรรูปยังไม่กว้างขวางเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น