วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สาขาอาชีพเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ จืด ประจำปี 2552/2553

นายสุวิน นะวะชีระ

อายุ 70 ปี
การศึกษา ประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) แผนกช่างสำรวจ
วิทยาลัยเทคนิค ทุ่งมหาเมฆ กรุงเทพฯ
สถานภาพ สมรส
ที่อยู่ 27 หมู่ที่ 8 ต.แห่ใต้ อ.โกสุมพิสัย จ.มหาสารคาม 44140
โทรศัพท์ 08 1954 9859 begin_of_the_skype_highlighting 08 1954 9859 end_of_the_skype_highlighting
หมายเลขทะเบียนฟาร์ม 4402000524
หมายเลขใบรับรอง GAP 44201-44-GAPFO-03-48-00001
อาชีพ เพาะพันธ์ปลาและอนุบาลลูกปลาน้ำจืด และไรน้ำนางฟ้า
(ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลากระโห้เทศ ปลาเฉา ปลาเกล็ดเงิน ปลาแรด)
ประวัติ
หลังจากจบการศึกษาจากวิทยาลัยเทคนิค ทุ่งมหาเมฆ แผนกช่างสำรวจ เมื่อปี 2503 จากนั้นได้เข้ารับราชการในกรมชลประทาน เริ่มปฏิบัติราชการครั้งแรกที่โครงการก่อสร้างเขื่อนภูมิพล จ.ตาก ต่อมาได้ปฏิบัติราชการที่โครงการสร้างเขื่อนลำปาว จ.กาฬสินธุ์, โครงการก่อสร้างชลประทานน้ำพอง จ.ขอนแก่น , โครงการก่อสร้างเขื่อนสิริกิติ์ จ.อุตรดิตถ์ ตามลำดับ และสุดท้ายได้มาปฏิบัติงานโครงการก่อสร้างชลประทานน้ำพอง จ.ขอนแก่น จนเกษียณอายุราชการ เมื่อปี 2543
ความคิดริเริ่มและความ พยายามฟันฝ่าอุปสรรค
- เมื่อปี 2518 ขณะที่ปฏิบัติราชการที่โครงการก่อสร้างชลประทานน้ำพอง จ.ขอนแก่น ได้ซื้อที่ดินในอำเภอโกสุมพิสัย จำนวน 12 ไร่ ทำการขุดบ่อเลี้ยงปลา เพื่อเพิ่มรายได้ให้กับครอบครัว
-มีความสนใจริเริ่มเพาะพันธุ์ปลาโดยได้เรียนรู้ค้นคว้าฝึกฝนและสอบถามเจ้า หน้าที่ประมงจากศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดขอนแก่นและมหาสารคาม นำมาปฏิบัติฟาร์มของตนเองจนประสบความสำเร็จ จัดเป็นฟาร์มเพาะพันธุ์ปลาแห่งแรกของอำเภอโกสุมพิสัย และของจังหวัดมหาสารคาม
- ปี 2521ได้ขยายฟาร์มใหม่ ภายใต้ชื่อ “ฟาร์มพ่อใหญ่อัศวินฟาร์มปลา” เนื้อที่ 80 ไร่
- เป็นผู้นำหลักการพันธุกรรมมาเป็นหลักในการเพาะพันธุ์ปลาในฟาร์ม ริเริ่มหาพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งต่างๆ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์และป้องกันสายเลือดชิด เพื่อให้ลูกปลาแข็งแรง โตเร็ว เช่น เพาะปลาตะเพียน โดยใช้พ่อพันธุ์จากแหล่งลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยา และใช้แม่พันธุ์จากแหล่งลุ่มแม่น้ำโขง พร้อมทั้งเป็นตัวกลางในการแลกเปลี่ยนพ่อแม่พันธุ์มาสู่กลุ่มผู้เพาะเลี้ยง ปลา นอกจากนี้ยังเป็นผู้พัฒนาการเพาะพันธุ์ปลาชนิด แปลกๆ และหายาก เช่น ปลาบ้า ปลากระโห้ไทย ปลากระโห้เทศ ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลาตะพาก เป็นต้น
- เข้าร่วมเป็นทีมงานวิจัยการเพาะไรน้ำนางฟ้า ในโครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและการจัดการการเพาะเลี้ยงไรน้ำ นางฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น พร้อมทั้งได้เข้ารับอบรมการเพาะเลี้ยงไรน้ำนางฟ้า รุ่นที่ 3 นำมาปรับใช้ในฟาร์มของตน จนพบว่าไรน้ำนางฟ้าสามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ในบ่อดิน ซึ่งเดิมนั้นขยายพันธุ์ได้เฉพาะบ่อซีเมนต์ อีกทั้งยังเป็นผู้ริเริ่มนำไรน้ำนางฟ้า หรือ
อาร์ทีเมียน้ำจืด มาใช้ในการอนุบาลลูกปลาในฟาร์ม
- จากปัญหาการเลี้ยงปลาของเกษตรกรที่ซื้อพันธุ์ปลาไปเลี้ยงมีอัตรารอดต่ำ ผลตอบแทนไม่ดี จึงได้ศึกษาหาแนวทางแก้ไข จนพบว่าลูกปลาขนาดเล็ก 2-3 เซนติเมตร มีอัตรารอดต่ำกว่าลูกปลาที่มีขนาดใหญ่กว่า คือ 5-7 เซนติเมตร และ 7-10 เซนติเมตร จึงได้จำหน่ายลูกปลาที่มีขนาดใหญ่ขึ้น ส่งผลให้ช่วงแรกๆ ยอดขายลดลง แต่ชื่อเสียงด้านคุณภาพลูกปลาดีขึ้น ก็ทำให้ยอดขายเพิ่มขึ้นในช่วงหลัง

ความ คิดริเริ่มและความพยายามฟันฝ่าอุปสรรค


ผลงานและความสำเร็จ
- สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาได้ถึง 10 ล้านตัว/ปี และไรน้ำนางฟ้า 1 ตัน/ปี รายได้รวม 6.83 ล้านบาท/ปี มีกำไรรวม 4.816 ล้านบาท/ปี
1) เพาะพันธุ์ปลากะโห้เทศ 2.5 ล้านตัว ตัวละ 1 บาท มีต้นทุน 0.25 บาท/ตัว รายได้รวม 2.5 ล้านบาท/ปี มีผลกำไร 1.875 ล้านบาท/ปี
2) เพาะพันธุ์ปลาจาระเม็ดน้ำจืด 2.5 ล้านตัว ตัวละ 1 บาท มีต้นทุน 0.25 บาท/ตัว รายได้รวม 2.5 ล้านบาท/ปี มีผลกำไร 1.875 ล้านบาท/ปี
3) เพาะพันธุ์ปลาน้ำจืดอื่นๆ รวม 5 ล้านตัว ตัวละ 0.3 บาท มีต้นทุน 0.10 บาท/ตัว รายได้รวม 1.5 ล้านบาท/ปี มีผลกำไร 1 ล้านบาท/ปี
4) เพาะไรน้ำนางฟ้า 1,000 กก. มูลค่า 330 บาท/กก. มีต้นทุน 66 บาท/กก. รายได้รวม 0.33 ล้านบาท/ปี มีผลกำไร 0.066 ล้านบาท/ปี
- สามารถเพาะพันธุ์สัตว์น้ำได้ใบรับรองการปฏิบัติทางการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่ ดี (GAP) เช่น ปลาจาระเม็ดน้ำจืด ปลากระโห้เทศ ปลาเฉา ปลาเกล็ดเงิน ปลาแรด
- เข้าร่วมทำงานกับทีมงานวิจัยการเพาะไรน้ำนางฟ้า ในโครงการวิจัยเพื่อพัฒนารูปแบบที่เหมาะสมและการจัดการการเพาะเลี้ยงไรน้ำ นางฟ้าเชิงพาณิชย์ในประเทศ ร่วมกับมหาวิทยาลัยขอนแก่น (http://www.champa.kku.ac.th/atrc)
- เป็นผู้ประสบความสำเร็จในการเพาะไรน้ำนางฟ้าในบ่อดินได้ในปริมาณมากเป็นราย แรก
- เป็นประธานเครือข่ายคนรักไรนางฟ้ารุ่นที่ 3
- สามารถส่งออกลูกปลากระโห้เทศ ไปยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น ลาว มาเลเชีย

ผลงานและความสำเร็จ


ความเป็นผู้นำและการเสียสละ เพื่อประโยชน์ส่วนรวม
-เป็นผู้นำอาชีพการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่อำเภอโกสุมพิสัยเป็นเกษตรกร คนแรกที่สนใจและดำเนินการเพาะพันธุ์ปลาในพื้นที่ จนเกิดการรวมกลุ่มผู้ร่วมอาชีพก่อตั้งสหกรณ์ประมงผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โกสุมพิสัย และเป็นประธานสหกรณ์ฯ คนแรก
-การเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม เช่น มอบพันธุ์ปลาให้สำนักงานประมงจังหวัดนำไปปล่อยในพิธีวันสำคัญต่างๆ มอบทุนการศึกษา และอาหารกลางวันให้แก่เด็กนักเรียนที่ยากจนในชนบท อีกทั้งได้บริจาควัสดุอุปกรณ์สำนักงานให้แก่หน่วยงานราชการ เพื่อใช้ประโยชน์แก่ทางราชการ
-ฟาร์มเป็นแหล่งเรียนรู้การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่ เผยแพร่ให้ความรู้โดยไม่ปิดบัง ส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรสามารถยึดเป็นอาชีพหลักได้ จนปัจจุบันมีฟาร์มเพาะพันธุ์ปลากว่า 200 แห่งในอำเภอโกสุมพิสัย ถือได้ว่าเป็นแหล่งที่เพาะพันธุ์ปลาจำหน่ายรายใหญ่ของประเทศ และยังขยายผลไปยังพื้นที่ข้างเคียง เช่น อ.เชียงยืน และ อ.กันทรวิชัย
- เป็นประมงอาสา

ความ เป็นผู้นำและการเสียสละเพื่อประโยชน์ส่วนรวม


อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
-นำความรู้จากการรับราชการจากกรมชลประทานในการก่อสร้างเขื่อนมาใช้ในการวาง แผนผังฟาร์มเพื่อการอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมซึ่งมีบ่อสำหรับเก็บกักน้ำ/บ่อพัก น้ำ ซึ่งไม่มีการทิ้งน้ำเสียลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติจนได้รับใบรองรองจากศูนย์ วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดมหาสารคามและสำนักงานประมงจังหวัดมหาสารคาม เป็นฟาร์มที่ผ่านการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดี (GAP)
- มีการบำบัดน้ำในบ่อพักลูกปลาด้วยจุลินทรีย์/น้ำหมักชีวภาพ (EM)

อนุรักษ์ ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
ที่มา : ส่วนเศรษฐกิจการประมง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น