วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

บทที่ 2
การคัดเลือกพันธุ์และการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำที่สำคัญ
(Species and Important Aquatic Animal Species)

พันธุ์สัตว์น้ำนับเป็นปัจจัยหนึ่งที่สำคัญใน หลายปัจจัยที่จะนำไปสู่ความสำเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ เดิมทีเดียวเราไม่ค่อยคำนึงถึงเรื่องนี้เท่าใดนัก เนื่องจากเราสามารถเก็บเกี่ยวหรือหาได้จากธรรมชาติได้ไม่ลำบาก แต่ปัจจุบันการหาจากธรรมชาติยากลำบากมากขึ้นและการนำสัตว์น้ำจากธรรมชาติมา เลี้ยงในที่จำกัด เป็นการเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อมค่อนข้างมาก เลี้ยงแล้วไม่ค่อยเจริญเติบโตหรือเป็นโรคบ่อย ประกอบกับสภาพแวดล้อมที่เสื่อมโทรมมีโอกาสที่จะเกิดการสูญเสียลักษณะเดิมที่ ดีของสายพันธุ์เดิมได้ง่าย เนื่องจากลักษณะที่ปรากฏ (Phynotype, P) นั้น เกิดจากปัจจัยของพันธุกรรม (Genotype ,G) และสภาพแวดล้อม (Environments, E) มีความสัมพันธ์ร่วมกัน (P = G + E) เราจึงมีความจำเป็นต้องมีการคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำที่ดี

ความจำเป็นที่ต้องคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำ
1. เรื่องของสายพันธุ์ พันธุ์สัตว์น้ำบางชนิดที่ทำการเพาะเลี้ยงไม่ใช่พันธุ์แท้เกิดการกลายพันธุ์ เช่น ตระกูลปลานิล Oreochromis niloticus สามารถผสมข้ามพันธุ์ตามธรรมชาติได้กับปลาหมอเทศ O. mossambicus เป็นลักษณะที่ไม่เป็นที่นิยมรับประทาน เนื่องจากรูปร่างและปริมาณเนื้อน้อย ทำให้สายพันธุ์ปลานิลดั้งเดิมที่เป็นสายพันธุ์แท้จากพระราชวังสวนจิตรดา ซึ่งเป็นปลาพระราชทาน ที่มีลักษณะที่ดีทั้งการเจริญ เติบโตและรสชาติสูญเสียไป
2. เรื่องของการนำพันธุ์สัตว์น้ำจากต่างภูมิภาค และต่างประเทศมาเลี้ยงโดยไม่คำนึงถึงผลเสียที่จะเกิดขึ้นจากการหลุดไปอาศัย อยู่ในธรรมชาติ ทำลายความหลากหลายของพันธุ์ปลาพื้นเมืองที่ดีให้ลดลง และเมื่อนำไปผสมพันธุ์กับปลาพื้นเมือง ทำให้สูญเสียลักษณะของพันธุกรรมที่ดีไป เช่น การทนต่อสภาพ แวดล้อมเฉพาะที่และรสชาติ ตัวอย่าง การนำปลาดุกรัสเซีย Clarias gariepinus มาเลี้ยง ลงไปในแหล่งน้ำธรรมชาติทำให้ ปลาดุกอุย ดุกด้าน หาได้ยาก เนื่องจากปลาชนิดนี้มีนิสัยกินเนื้อเป็นหลัก สามารถที่จะทำลายพันธุ์ปลาพื้นเมืองได้ง่าย หรือเมื่อนำมาผสมกับปลาดุกไทย ดุกอุยตัวเมีย Clarias macrocephalus ได้ลูกที่เรียกว่าปลาดุกยักษ์ ซึ่งรสชาติและความนิยมสู้ปลาดุกอุยไม่ได้ แต่มีข้อดี คือ ทนโรค เจริญเติบโตดี
3. การคัดพันธุ์เพื่อเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ในทางลบ เนื่องจากขาดข้อมูลด้านการเจริญเติบโต อายุ โดยทั่วไปเกษตรกรมักจะคัดปลาในแต่ละรุ่นที่ได้ขนาดโตดีออกจำหน่ายก่อน ทำให้ลูกปลาในรุ่นที่เหลือเลี้ยงไว้เป็นพ่อแม่ ซึ่งไม่ใช่โตเพราะลักษณะทางพันธุกรรม แต่เป็นการโตเพราะมีอายุมาก เช่น ปลาไน ปลานิล และกุ้งก้ามกราม ซึ่งเราเรียกการคัดพันธุ์แบบนี้ว่า การคัดในทางลบ (Negative-Selection) แล้วนำไปเป็นพ่อแม่พันธ์ ทำให้รุ่นลูกและรุ่นหลานออกมามีแนวโน้มของพันธุกรรมที่ไม่ดีหรือเจริญเติบโตช้า
4. การผสมเลือดชิด (Inbreeding) อาจเกิดขึ้นโดยความไม่รู้หรือไม่ตั้งใจ หรือเป็นเพราะมีเหตุปัจจัยจำเป็น กล่าวคือการคัดพันธุ์ของเกษตรกรโดยทั่วไป เมื่อคัดพันธุ์ที่มีขนาดโตพอใช้ แล้วเลี้ยงร่วมกับจำนวนที่ไม่มากพอ แล้วนำมาผสมพันธุ์กันเองในรุ่นเดียวกัน และกระทำซ้ำ ๆ กันหลายครั้ง ทำให้โอกาสของลักษณะไม่ดีปรากฏออกมามากในรุ่นต่อ ๆ ไป ทั้งนี้อาจจะเกิดจากสาเหตุมีบ่อหรือพ่อแม่พันธุ์ จำนวนน้อย เช่น ปลาไน กุ้งก้ามกราม (รูปที่ 2.1)
การผสมเลือดชิด สามารถแบ่งออกได้เป็นโดยทางตรงได้แก่ การนำพ่อ-แม่พันธุ์ที่เป็นเครือญาติกันมาผสมกัน ส่วนทางอ้อมการที่นำพ่อแม่ปลาจำนวนน้อยคู่มาผสมเฉพาะในฟาร์มเมื่อนำลูกที่ได้มาเป็นพ่อ-แม่พันธุ์ ลูกพ่อแม่เดียวกันก็มีโอกาสผสมกันเอง และทำให้สูญเสียลักษณะพันธุกรรมที่ดี (Genetic Drift) (อุทัยรัตน์ , 2537)


รูปที่ 2.1 แสดงการจัดการพ่อแม่พันธุ์ระบบเปิดและระบบปิด ระบบปิดจะเกิดการผสมเลือดชิดมากกว่าระบบเปิด และผสม; ดัดแปลงจาก อุทัยรัตน์ (2537)

5. สิ่งแวดล้อม มีอิทธิพลต่อการแสดงออกของลักษณะเช่นเดียวกับพันธุกรรมดังสมการ P = G+E ในสัตว์น้ำ สิ่งแวดล้อมจะมีอิทธิพลต่อการแสดงออกมากในสายพันธุ์ที่ไม่แท้ เมื่อเทียบกับสัตว์ชนิดอื่น ๆ ดังมีรายงานการผันแปรของลักษณะโดยทั่วไปของประชากรหนึ่งประมาณการเกิดจาก สภาพแวดล้อม 70 % พันธุกรรม 30 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับชนิดและสภาพแวดล้อมเหมาะสมนั้น ๆ นอกจากนี้ปฏิสัมพันธ์ของพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อม (Genotype-Environment Integration) เช่น ปลาสายพันธุ์หนึ่งเจริญเติบโตได้ดีในสภาพแวดล้อมหนึ่ง แต่โตไม่ดีหรือมีปัญหาตายง่าย ในสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป เช่น การนำปลา Rainbow Trout ปลาชัลแนลแคทฟิช มาเลี้ยงในภาคเหนือของไทย
6. การเลือกลักษณะที่จะทำการคัดเลือก ลักษณะที่สำคัญทางเศรษฐกิจที่ควรพิจารณา เพื่อการคัดเลือกปรับปรุง เช่น อัตราการเจริญเติบโต อัตราการรอดตายจากไข่จนถึงวัยเจริญพันธุ์ หรือรูปร่างสีสันในปลาสวยงาม การคัดพันธุ์จึงควรคำนึงค่าสหสัมพันธ์ ของลักษณะทางเดียวกัน (Positive Correlation) เช่น อัตราการเจริญเติบโตของปลาวัยอ่อนกับเต็มวัย ส่วนค่าทางตรงข้าม (Negative Correlation) เมื่อคัดเลือกพันธุ์ เช่น อัตราการเจริญเติบโตของปลากับขนาดและอายุเมื่อถึงวัยเจริญพันธุ์ เช่น การคัดปลาอายุวัยเจริญพันธุ์อายุน้อยทิ้ง และตัวอย่างการคัดเลือกสีรูปร่างของปลาสวยงามก่อนวัยเจริญพันธุ์ทิ้งทำให้ สูญเสียลักษณะที่ดี เพราะโดยทั่วไปสี รูปร่างจะมีลักษณะที่ดีเมื่ออยู่ในช่วงเจริญพันธุ์ ดังนั้นการคัดเลือกพันธุ์ที่ดีต้องคำนึงถึงลักษณะต่าง ๆ ที่สำคัญ และค่า สหสัมพันธ์ของลักษณะนั้น และควรทำดัชนีของการคัดพันธุ์ (Selection Index) เป็นมาตรฐานของแต่ละประเภท (สุภัทรา, 2531)

แนวทางในการคัดเลือกพันธุ์สัตว์น้ำ
เพื่อให้ได้พันธุ์สัตว์น้ำที่มีคุณลักษณะที่ต้องการ เช่น การคงอยู่ของสายพันธุ์ที่ดีตลอดมีความต้องการ โตเร็ว ทนต่อสภาพแวดล้อมและต้านทานโรค ตามความเหมาะสมของสภาพภูมิประเทศและสิ่งแวดล้อมเฉพาะการพัฒนาพันธุ์สัตว์น้ำจึงมีความจำเป็น ถึงแม้ว่าจะยุ่งยากและต้องใช้เวลา
1. การจัดการพ่อ-แม่พันธุ์ (Broodstock Management) ในปัจจุบันเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่า จากการปล่อยและละเลยในเรื่องพันธุกรรม ทำให้ปลาหลายชนิดเริ่มมีการเจริญเติบโตลดลง แม้จะไม่มีการทดลองยืนยันในเรื่องนี้ แต่ข้อมูลจากการสังเกตของผู้เลี้ยงปลานับร้อย ๆ ราย ก็ทำให้เชื่อได้ว่าปัญหาที่เกิดขึ้นมีแนวโน้มที่จะเป็นความจริง จากความจริงที่ว่าลักษณะปรากฏ (Phenotype) เป็นผลมาจากลักษณะทางพันธุกรรม (Genotype) และสิ่งแวดล้อม ซึ่งหมายถึงสภาพการเลี้ยงประกอบกัน เมื่อสิ่งแวดล้อมในการเลี้ยงยังเป็นเช่นเดิม แต่ลักษณะปรากฏ คือการเจริญเติบโตช้าลง ก็ทำให้พออนุมานได้ว่าสาเหตุน่าจะเนื่องมาจากลักษณะทางพันธุกรรมนั่นเอง คนส่วนใหญ่เข้าใจว่าการที่ลักษณะทางพันธุกรรมด้อยลงนี้มีสาเหตุมาจากการผสมเลือดชิด (Inbreeding) โดยไม่ได้มีการทดลองยืนยันในเรื่องนี้ แต่จากการศึกษาของ Eknath และ Doyle (1985) พบว่าสาเหตุใหญ่น่าจะเกิดมาจากปรากฏการณ์ที่เรียกว่าการคัดเลือกทางลบ (Negative Selection) และการคัดเลือกทางอ้อม (Indirect Selection) การคัดเลือกทางลบเกิดจากการที่เกษตรกรนิยมจับปลาขนาดใหญ่ขายไปก่อน และเก็บปลาขนาดเล็กไว้เป็นพ่อแม่พันธุ์ มีผลให้ยีน (Gene) ที่ดีถูกคัดทิ้งไปเรื่อย ๆ ลูกปลาที่ได้ในช่วงต่อ ๆ มาจึงเจริญเติบโตช้าลง บางฟาร์มก็พยายามคัดเลือกพ่อแม่พันธุ์ ขนาดใหญ่มาใช้ในการเพาะพันธุ์ โดยเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่เจริญพันธุ์ช้า (Late Maturing) มาเพาะ ซึ่งพวกที่เจริญพันธุ์ช้านี้มัก จะโตช้ากว่าพวกที่เจริญพันธุ์เร็ว ลักษณะเช่นนี้เรียกว่าการคัดเลือกโดยทางอ้อม ในการเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์จึงมีข้อควรปฏิบัติคือ
1.1 ควรคัดปลาที่โตได้ขนาดตลาดรุ่นแรกสุดในบ่อมาเป็นพ่อแม่พันธุ์
1.2 ควรเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์อายุต่างกันแยกกัน
1.3 ในการเพาะพันธ์แต่ละครั้งควรใช้พ่อแม่พันธุ์หลายคู่ หากการเพาะแต่ละครั้งใช้ปลาเพศเมียน้อยตัว สามารถเพิ่มจำนวนพ่อแม่พันธุ์ได้โดยใช้น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หลายตัวผสมกับ ไข่จากปลาตัวเมีย 1 ตัว เพื่อให้ไข่และน้ำเชื้อผสมกันได้หลาย ๆ คู่ อย่างน้อย 30 คู่ หรือใช้ตัวผู้ 3 ตัว ต่อตัวเมีย 1 ตัว 30 ชุด หรือตัวผู้ 3 ตัว ต่อตัวเมีย 2 ตัว 15 ชุด ซึ่งจะช่วยลดอัตราการผสมเลือดชิดลงได้ นอกจากนั้นควรคัดปลาที่จะใช้เป็นพ่อแม่พันธุ์ ในปีต่อไปจากการผสมพ่อแม่หลาย ๆ คู่
1.4 เมื่อสังเกตว่าลูกปลาที่ผลิตเริ่มโตช้า ควรหาพ่อแม่พันธุ์จากแหล่งอื่น ไม่ควรใช้พ่อแม่พันธุ์ซ้ำ ๆ กันหลายครั้งในรอบปี ซึ่งโตดีกว่ามาผสมจะทำให้อัตราส่วนของยีนดีเพิ่มขึ้นในประชากร
2. หลีกเลี่ยงในการผสมเลือดชิด เมื่อมีการผสมพันธุ์กันระหว่างสายพันธุ์ที่ใกล้ชิด ความสมบูรณ์และอัตราการรอดของลูกหลายรุ่นต่อไปก็จะลดลงเช่นเดียวกับคนเรา ได้มีการประมาณไว้ว่าหากมีการสืบพันธุ์ระหว่างพี่-น้อง ท้องเดียวกันแล้ว ความสมบูรณ์และอัตราการรอดจะลดลงอย่างเห็นได้ชัดถึง 20 % และถ้ามีการผสมพันธุ์ระหว่างเครือญาติใกล้กันแล้วก็จะมีผลเกิดขึ้นในทำนองเดียวกัน แต่ช้ากว่าหรือประมาณ 4 ชั้นอายุ (Generation) ความเสื่อมของสายพันธุ์ที่เกี่ยวกับการเจริญเติบโต การผสมพันธุ์ การต่อต้านเชื้อโรคจะลดลงเรื่อย ๆ เมื่อพ่อแม่พันธุ์ ได้จำนวนลดลงในขีดจำกัดจำนวนหนึ่งแล้ว โอกาสที่จะมีการผสมพันธุ์ระหว่างวงศ์ญาติกันก็มีมากน้อยตามโอกาส แม้ในฟาร์มเลี้ยงปลาขนาดใหญ่ ถ้าหากมีพ่อแม่พันธุ์ถูกใช้แล้วใช้อีกเป็นเวลาหลายปี พวกลูกหลานเกิดมาก็ย่อมมีโอกาสผสมพันธุ์กับรุ่นพ่อแม่พันธุ์ด้วย วิธีการหลีกเลี่ยงจัดการเช่นเดียวกับพ่อแม่พันธุ์
3. การคัดเลือกสายพันธุ์ เป็นวิธีการที่นิยมแต่ต้องคำนึงถึง ได้แก่ ลักษณะที่ต้องการให้ ชัดเจน นิยมในประชากรที่มีค่าความแปรปรวนสูง จะให้ผลตอบสนองต่อการคัดพันธุ์ได้ดี วิธีการคัดพันธุ์ อุทัยรัตน์ (2537) ได้กล่าวไว้มี 3 วิธีด้วยกันที่นิยม ได้แก่
3.1 Mass Selection หรือ Individual Selection การคัดพ่อแม่พันธุ์โดยวิธีนี้จะพิจารณาจากลักษณะปรากฏของปลาที่จะคัดเพียง อย่างเดียว จากนั้นหากนำปลาที่คัดได้มาผสมพันธุ์กันโดยมีการวางแผนการผสมจะเรียกการคัด พันธุ์นี้ว่า Individual Selection หากนำพ่อแม่พันธุ์เหล่านั้นมาปล่อยรวมให้ผสมพันธุ์กันเอง เรียกว่า Mass Selection
3.2 Family Selection คัดโดยทำการผสมปลาเป็นคู่ ๆ จากนั้นนำลูกจากแต่ละคู่ผสมมาแยกเลี้ยงกัน เมื่อจะคัดก็พิจารณาจากค่าเฉลี่ยของลูกแต่ละครอบครัว เมื่อตัดสินใจเลือกครอบครัวใดก็จะเก็บไว้ทั้งครอบครัวเดียว ดังนั้นจำเป็นต้องเลี้ยงปลาจำนวนหลาย ๆ ครอบครัว แยกกันเป็นวิธีการที่ต้องการ แรงงานและบ่อจำนวนมาก
3.3 Within Family Selection ทำการผสมปลาเป็นคู่ ๆ เช่นเดียวกัน แต่จะทำการ คัดเลือกโดยคัดปลาที่โตดีที่สุดจากแต่ละครอบครัวไว้ ตัวอย่าง

ดังนั้น ถ้าต้องการคัดไว้ 20 % โดยวิธี Mass Selection ก็ต้องคัดปลา A4 A1 C1 และ A2 ถ้าคัดวิธี Family Selection เก็บครอบครัว C ไว้ทั้งครอบครัวถ้าคัดแบบ Within Family selection ก็คัด A4 B5 C1 และ D5 ไว้
3. การจัดการระบบการผสม นิยมใช้กรณีที่ประชากรมีค่าอัตราทางพันธุกรรม (Heritability , H2) ต่ำ หรือมีความแปรปรวนไม่มาก เมื่อวัตถุประสงค์การรวมลักษณะที่ดีของ 2 สายพันธุ์เข้าด้วยกัน ได้ลูกผสมที่มีลักษณะดีเหมือนพ่อแม่ (Heterosis) ซึ่งวิธีการผสมดังกล่าวนิยมกระทำกัน 2 วิธีได้แก่ (อุทัยรัตน์, 2537)
3.1 การผสมข้ามสายพันธุ์ (Intraspecific Hybridization) การคำนวณหาค่าตอบสนองของลูกผสม ที่เรียกว่า Heterosis สามารถหาได้จาก
Heterosis % = ค่าเฉลี่ยของลูกผสม - ค่าเฉลี่ยพ่อแม่ x 100
ค่าเฉลี่ยของพ่อแม่
เช่น การผสมของสัตว์น้ำชนิดเดียวกันแต่ต่างภูมิภาคหรือท้องที่ ซึ่งมีโอกาสน้อยในการผสม ซึ่งมีลักษณะพันธุกรรมต่างกันในบางลักษณะ ถ้าหากมีลักษณะที่แตกต่างทางพันธุกรรมมาก โอกาสการเกิด Heterosis ก็มีมาก นอกจากนี้การผสมข้ามสายพันธุ์ยังเป็นประโยชน์ต่อการสร้างสายพันธุ์แท้ โดยการผสมเลือดชิดก่อนแล้วคัดลักษณะที่ดีเอาไว้ จะได้ลักษณะที่ดีของยีนมากขึ้น แล้วนำไปผสมข้าม
3.2 การผสมข้ามชนิด (Interspecific Hybridization) ได้ทั้งในระดับต่างชนิด ต่างสกุล หรือต่างครอบครัว แต่จะเป็นไปได้มากกว่าในคู่ที่มีสายวิวัฒนาการใกล้ชิดกัน ถ้าต่างกันมากลูกที่ออกมามักจะเป็นหมันหรือผสมไม่ติด
4. การคัดปลาเพศเดียวที่โตเร็วเลี้ยง สามารถควบคุมปริมาณประชากรขนาดสู่ตลาดและผลิตเพิ่มขึ้นได้ เป็นที่นิยม เช่น
4.1 การผสมข้ามเพื่อผลิตปลาเพศผู้นิยมในปลานิล การผสมข้ามชนิดสกุล Orechromis จะได้ ลูกผสมที่เป็นเพศผู้ทั้งหมด สาเหตุเนื่องจากระบบโครโมโซมที่ควบคุมเพศต่างกัน เช่น O. niloticus เมีย (xx) ผสมกับ O. auruea (zz) ตัวผู้ ? ลูกตัวผู้ล้วน (xz)
4.2 การแปลงเพศโดยใช้ฮอร์โมนเพศผสมในอาหารโดยตรง เพื่อผลิตปลาเพศผู้ เช่น ในปลานิล นิยมใช้ฮอร์โมน 17 ? Methyl testosterone ผสมอาหารอัตรา 20-60 มก. ต่ออาหาร 1 กก. ให้กินในระยะไข่แดงยุบแล้วหรือก่อน 2 สัปดาห์ นาน 30-50 วัน จะผลิตลูกปลาเพศผู้ได้เกือบ 100% (Tayamen และ Shelton , 1978) ส่วนในปลาตะเพียนและปลาดุกอุย ปลาเพศเมียเป็นที่ต้องการและโตเร็วกว่าเพศผู้ ฮอร์โมนที่นิยมใช้ B-Estradial (EST) หรือ Diethylesterrol (DES) ปลาตะเพียนผสมอาหารให้กิน 50 มก./อาหาร 1 กก. ปลาอายุ 7 วัน หรือแช่ 200 ug/ลิตร นาน 28 วัน ได้ปลาเพศเมียที่มีไข่และรังไข่ปกติ (นวลมณี, 2537)
5. การคัดเลือกพันธุ์ที่เหมาะสมกับสภาพภูมิประเทศ สิ่งแวดล้อมตามความต้องการของตลาด ให้เหมาะสมกับระบบประเภทและลักษณะของการเลี้ยง กล่าวคือหากต้องการเลี้ยงสัตว์น้ำเพื่อการดำรงชีพหรือเพื่อเป็นอาหารบริโภค ควรเลือกเลี้ยงสัตว์น้ำที่ลงทุนน้อยควรเลี้ยง ปลากินพืชได้แก่ ปลานิล ไน ตะเพียน ยี่สก และ ระบบการเลี้ยงอาจเป็นแบบทั้งพัฒนาหรือผสมผสาน แต่หากต้องการเลี้ยงสัตว์น้ำเชิงพาณิชย์ ควรเลี้ยงสัตว์น้ำที่มีมูลค่า ระบบในการเลี้ยงก็ต้อง ลงทุนดูแลจัดการมากขึ้น เป็นการเลี้ยงแบบพัฒนา การเลี้ยงในกระชังหรือในบ่อควรเลี้ยง กุ้งก้ามกรามหรือกุ้งทะเล ปลาชะโด ปลากระพงขาว กุ้งก้ามกราม ปลาบู่ ปลาสวยงาม หรือ กบ เป็นต้น

แนวทางในการประเมินผลการคัดสายพันธุ์
เมื่อมีการพัฒนาสายพันธุ์แล้วจะต้องมีการประเมินผลลักษณะสายพันธุ์ที่คัดหรือปรับปรุง โดยทั่วไปมี 2 แนวทาง เช่น
1. การพิจารณาค่าตอบสนองต่อการคัดพันธุ์ (Selection Response) คือ ค่าแตกต่างของลักษณะปรากฏในรุ่นลูกกับประชากรรุ่นพ่อแม่ ซึ่งหาได้จากสูตร (อุทัยรัตน์, 2537)
R = Sh2
h2 = อัตราทางพันธุกรรมมีอยู่ 3 ระดับ ? 0.3 สูง / < 0.3-0.15
ปานกลาง / ? 0.15 ต่ำ
S = ค่าแตกต่างของประชากรรุ่นลูกกับพ่อแม่
หรือจากสูตร
R = I SD h
I = ความเข้มของการคัดพันธุ์ ได้จากสัดส่วนของปลาที่คัดไว้ เป็น % นำไปเปิดตาราง
SD = Standard Deviation ของประชากรที่คัด
h2 = อัตราทางพันธุกรรม

จำนวนที่คัด (%) I ตัวอย่าง ปลาดุกอุยน้ำหนักเฉลี่ย 180 SD= 20.15 กรัม
30 1.159 h2 = 0.31 ต้องการเพิ่มช่วงอายุคัดไป 15 กรัม
20 1.4 ต้องคัดไว้กี่ %
10 1.755 R = I SD h
5 2.063 15 = I x 20.15 x 0.31
2 2.421 I = 15
20.15 x 0.31
= 2.4 = 2 %

2. การประเมินผลโดยใช้วิธี Progeny Testing การเปรียบเทียบประชากรรุ่นลูก ที่คัดพันธุ์กับไม่ได้คัด (อุทัยรัตน์, 2537)
3. โดยการประเมินผลของลูกผสมได้จากการคำนวณหาค่า heterosis
อนึ่งในการประเมินผลการคัดเลือกสายพันธุ์หรือผลจากการทำลูกผสม การเปรียบเทียบกับรุ่นพ่อแม่จะต้องทำในสภาพแวดล้อม ระบบการเลี้ยง เวลา อายุที่เหมือนกัน และควรมีประชากรควบคุมเพื่อประเมินความแตกต่างของสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลง


1. คำนำ
ปลานิล Oreochomis nilotica (Linnaeus) เป็นปลาน้ำจืดที่ให้ผลผลิตสูงสุดในปี 2539 คือ 81,547 ตัน/ปี เข้ามาเมืองไทยครั้งแรก พ.ศ. 2508 โดยเจ้าชาย ฮากิฮิโต มงกุฎราชกุมารญี่ปุ่นมอบพันธุ์ปลานิลให้แก่ในหลวง 50 ตัว และในหลวงทรงได้ทรงพระราชทานลูกปลานิลให้แก่กรมประมง 10,000 ตัว ปี 2509 สามารถแพร่กระจายอาศัยอยู่ทวีปอเมริกา และเอเชียตะวันออก

2. ชีววิทยา
ลักษณะทั่วไปมีรูปร่างลักษณะเหมือนกับปลาหมอเทศ ผิดกันตรงที่ปลานิลมีลายสีดำและจุดสีขาวสลับกัน ที่บริเวณครีบหลัง ครีบหางและครีบก้น ลำตัวสีเขียวปนน้ำตาลและมีลายดำจาง ๆ พาดขวางตามลำตัว ขนาดโตยาวกว่า 10 ซม.หรือ 20 กรัม สามารถแยกเพศโดยดู ลักษณะภายนอก ปลานิลเพศผู้มีสีเข้ม ใต้คางจะมีสีออกแดง ส่วนตัวเมียจะมีจาง ส่วนท้องบริเวณช่องเพศ Urogenital Papilla ตัวผู้จะมีช่องเปิด 2 ช่อง คือ อุจจาระกับปัสสาวะ ส่วนตัวเมียมีช่องเปิด 3 ช่อง แยกระหว่างอุจจาระ ปัสสาวะ ช่องไข่ นิสัยการกินอาหาร ชอบกินซากพืช เนื้อ สาหร่าย แมลง ตะไคร่น้ำ
การผสมพันธุ์ ได้ตลอดทั้งปี 5-6 ครั้ง/ปี ตัวผู้ขุดหลุม ตัวเมียอมไข่ครั้งละ 50-600 ฟอง

3. การเพาะขยายพันธุ์
ก. การเพาะในบ่อดิน เตรียมบ่อขนาด 0.5-1 ไร่ 3-5 วัน ใช้พ่อแม่พันธุ์อายุ 3-4 เดือน ขนาด 50-100 กรัม อัตราส่วน 1:3 (ผู้ : เมีย; ) 400 ชุด/บ่อ 1 ไร่ ถ่ายน้ำทุกสัปดาห์ อายุได้ 1 เดือน ได้ลูกปลาขนาด 3-5 ซม.
ข. กระชัง ขนาด 2x3x3 เมตร ปล่อย 6 ตัว/ม2 (ผู้ 1 ตัว : เมีย 5 ตัว) ได้ลูกปลา 3,000-5,000 ตัว นิยมเคาะลูกปลาจากปากตัวเมียนำ ไปแปลงเพศให้เป็นเพศผู้ด้วยฮอร์โมน 17 ? Methyl testosterone เพื่อเลี้ยงแบบเข้มข้นเชิงพาณิชย์ได้รับความสนใจมากขึ้น
ค. การให้อาหารพ่อแม่ปลา ปลายข้าว : สาหร่าย : รำ อัตราส่วน 1 : 2 : 3 ให้ 2-5% ของน้ำหนัก ตัวปลา ใช้ปุ๋ยคอกเสริมเวลาเตรียมบ่อเพื่อให้เกิดอาหารธรรมชาติสมบูรณ์ขึ้น

4. การอนุบาลลูกปลา
ก. ในบ่อดินปล่อยขนาด 1-2 ซม. 50,000 ตัว/200 ม2 ให้อาหารธรรมชาติ รำละเอียด กากถั่ว นาน 4-5 สัปดาห์ ได้ขนาด 3-7 ซม.
ข. บ่อซีเมนต์ ปล่อยขนาด 1-2 ซม. 300 ตัว/ม2 อนุบาลนาน 5 สัปดาห์
ค. กระชัง 3x3x2 เมตร ปล่อยขนาด 1-2 ซม. ได้ 3,000-5,000 ตัว อนุบาล 3-5 สัปดาห์

5. การเลี้ยงในบ่อดิน
ก. การเลี้ยงแบบผสม ปล่อยขนาด 3-5 ซม. 3 ตัว/ม2 นาน 6-12 เดือน ให้อาหารปลากินพืชผสมรำ ปลายข้าว ปลาป่น โปรตีน 20% ผลผลิต ใส่ปุ๋ยคอกอย่างเดียว 200-300 กก./6 เดือน/ไร่ ปุ๋ยคอก + อาหารเสริมโปรตีน 20% 500-1,000 กก./1 ไร่/6 เดือน การเลี้ยงร่วมกับปลาดุก ปล่อยปลาดุกในกระชัง 20-30 ตัว/ม2 แล้วปล่อยปลานิล 5 ตัว/ม2 ในบ่อเพื่อกินเศษอาหารที่เหลือจากการเลี้ยงปลาดุก หรือเลี้ยงในนาข้าว
ข. การเลี้ยงแบบเพศผู้อย่างเดียว ข้อดีป้องกันปลาแน่นบ่อ และสามารถควบคุมขนาดของปลาเมื่อจับได้ ปัจจุบันมีเกษตรกรในภาคเหนือหลายรายมีความต้องการปลานิลเพศผู้มากขึ้น เนื่องจากประสบปัญหาปลาแน่นบ่อและเลี้ยงไม่โต ขนาดเล็ก ขายไม่ได้ราคา โดยการคัดเพศจาก ลูกปลาขนาด 20 กรัมขึ้นไปหรือจากการแปลงเพศกับลูกปลาอายุ 3-10 วัน โดยใช้ฮอร์โมน 17 –methyltestosterone ผสมอาหาร 40-60 มก/1 กก.อาหาร ให้ลูกปลากินนานเป็นเวลานาน 1 เดือน อนุบาลจนได้ขนาด 0.25 กรัม นำไปปล่อยในบ่อหรือกระชังก่อน อัตรา 7-8 ตัว/ม2 อาหารที่ได้ ปรับตามน้ำหนักของปลา ช่วงแรก 8-10% ช่วงกลาง 5-8% ช่วงปลาย 2-4% ของน้ำหนักตัวปลา เลี้ยงนาน 6-8 เดือน ได้ขนาด 300 กรัม ซึ่งปลานิลนี้สามารถนำไปเลี้ยงต่อในสภาพน้ำกร่อยได้ (15 ppt) โดยปล่อย 1 ตัว/ม2 เลี้ยงนานอีก 6-9 เดือน จะได้ขนาด 1-1.5 กก. เพื่อส่งออก ห้องเย็นนำไปทำปลาดิบหรือ Fin Ray ซึ่งเริ่มนิยมเลี้ยงเชิงพาณิชย์มากขึ้น แต่ก็ยังต้องพัฒนาปรับปรุงให้ดีขึ้น ปัจจุบันนิยมเลี้ยงมากในแหล่งน้ำขนาดใหญ่ เช่น การเลี้ยงปลานิลเพศผู้ซีพี และปลานิลทับทิม


1. คำนำ
ปลาดุกอุย ชื่อสามัญ Walking Catfish ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias macrocephalus (Gunther)
ปลาดุกด้าน ชื่อสามัญ Walking Catfish ชื่อวิทยาศาสตร์ Clarias batrachus (Linnaeus)
ปลาดุกรัสเซีย Clarias gariepenus
ปลาดุกยักษ์ เป็นลูกผสมระหว่างปลาดุกรัสเซียตัวผู้กับปลาดุกอุยตัวเมีย ปัจจุบันนิยมเพาะเลี้ยงกันมากเนื่องจากโตเร็ว ในแถบภาคกลาง และปลาดุกอุยและดุกด้านหาพันธุ์ได้ยาก และไม่ทนทานต่อโรคเท่าปลาดุกยักษ์ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้านพื้นเมืองของไทย พบมากแถบภาคกลาง สามารถเลี้ยงให้หนาแน่น ให้ผลผลิตสูงถึง 15.5 ตัน/ไร่ ใน 6 เดือน เป็นปลาน้ำจืดที่ให้ผลผลิตเป็นอันดับสองในปี 2539 คือปีละ 64,372 ตัน

2. ชีววิทยา
เป็นปลากินเนื้อ สามารถอยู่ได้ในสภาพ O2 ต่ำ เจริญพันธุ์ 8-12 เดือน ไข่จมติดสีเหลือง วางไข่ปีละ 3 – 4 ครั้ง พ.ค. – ส.ค. ครั้งละ 3,000-15,000 ฟอง ไข่ปลาดุกอุยสีน้ำตาลอมแดง ขนาด 1-2 ม.ม. กะโหลกท้ายทอยของดุกอุยจะโค้ง ส่วนดุกด้านจะแหลมมนกว่า ไข่ฟัก 25-30 ชม. อุณหภูมิ 25-30 ํC ความแตกต่างทางเพศ อวัยวะเพศตัวผู้จะเป็นติ่งแหลม ส่วนตัวเมียนูนกลม

3. การเพาะขยายพันธุ์
ก. การเลี้ยงพ่อ-แม่ปลา ปล่อยหลังเพาะช่วงก่อนฤดูหนาว ปลาขนาด 200-250 กรัม บ่อขนาด 800-1600 ม2 ลึก 1.5 เมตร ปล่อย 400-600 ตัวหรือ 100 กก./ไร่ ให้อาหาร รำ:ปลาเป็ด 1:8 อัตรา 1-3% ต่อน้ำหนักปลา ถ้าอ้วนเกินต้องลดอาหารก่อนการเพาะ
ข. การเพาะแบบธรรมชาติ ใช้บ่อขนาด 1-3 ไร่ ขุดร่องรอบกว้าง 3 เมตร ลึก 1.25 เมตร คล้ายการเลี้ยงปลาในนาข้าวหรือร่องสวน บนแปลงที่ไม่ได้ขุด ทำเป็นหลุมขนาด 30x20 ซม. ห่าง 3-4 เมตร ให้แม่ปลาวางไข่เมื่อถึงฤดู ปล่อยพ่อแม่ปลา 250-350 คู่/1 ไร่ หลังจากวางไข่ 7-10 วัน สามารถรวบรวมลูกปลาได้ และนำไปอนุบาลต่อในกระชัง หรือบ่อคอนกรีต การเพาะครั้งต่อไปให้ระบายน้ำออกให้เหลือน้ำเฉพาะในร่อง วิธีนี้จะได้ลูกปลาครั้งละประมาณ 2-3 แสนตัว เดือนละ 2 ครั้ง นาน 6 เดือน
ค. การเพาะแบบผสมเทียม การคัดพ่อแม่ปลาต้องให้ได้ขนาดที่เหมาะสมใกล้เคียงกัน นำมาพักก่อน แล้วฉีดฮอร์โมนตามระยะความเข้มข้นดังนี้
เข็มที่ 1 เว้นระยะ เข็มที่ 2 เว้นระยะ
(ชม.) (ซม.)
ต่อมใต้สมอง
แม่พันธุ์ 1 Dose 6 2 Dose 10-12 รีด
พ่อพันธุ์ 0.5 Dose 10-12 ผ่า
Human Chorionic Gonadotropin HCG + ต่อมใต้สมอง
แม่พันธุ์ 1 Dose 6 1600-2000IU 9-11 รีด
พ่อพันธุ์ 500-1000IU 9-11 ผ่า
Suprefact (LHRHa) + Mothelium
แม่พันธุ์ 20-30 ug/kg+ 16 รีด
5 mg/kg ผ่า
พ่อพันธุ์ 10-15 ug/kg 10 รีดหรือผ่า
ง. การฟักไข่
บ่อซีเมนต์ ขนาด 10-15 ม2 มีตาข่ายเขียวรองรับไข่ ฟักไข่ได้ประมาณ 50,000 ฟอง อวนเปล ขนาด 2x5x1 เมตร 5-6 ซม. อุณหภูมิ 25-30 ํC จะฟักออกเป็นตัว ใน 20-30 ชม. มีระบบน้ำถ่ายเท ให้อากาศ

4. การอนุบาล
ก. ในบ่อซีเมนต์ 5 ม2 1,000 ตัว/ม2
วันที่ 1 เตรียมบ่อทำความสะอาด หัวอาหารไก่-หมู 120 กรัม/ม2 หว่านทิ้งค้างคืน
วันที่ 2 เติมน้ำในบ่อ 30 ซม. ใส่ไรแดงล้างแล้ว 50 กรัม/5 ม2
วันที่ 3-4 ไรแดงขยายพันธุ์มากขึ้น
วันที่ 5 นำลูกปลาดุกปล่อย 250-300 ตัว/ม2
วันที่ 6 ให้อาหารเสริมไข่แดงหรือปลาป่น กากถั่ว รำละเอียด แป้ง วิตามิน แร่ธาตุ หลังจากนั้น 3-4 วัน เติมน้ำสูงขึ้น เลี้ยงนาน 20-30 วัน ได้ลูกปลาขนาด 3 ซม.

ข. ในบ่อดินหรือนาข้าว
เตรียมบ่อ ตากบ่อ 2-3 วัน --> โรยปูนขาว 100-200 กก./ไร่ --> ปุ๋ยคอก 200 กก./ไร่ --> เก็บน้ำ 30 ซม. เก็บเชื้อไรแดง 3-5 กก./ไร่ --> 3 วัน ปล่อยลูกปลา 300 ตัว/ม2 ก่อนเติมน้ำ 2-3 สัปดาห์ ลูกปลาโต 4 ซม.
อาหารสำเร็จลูกปลากิน
วันที่ กรัม/10,000 ตัว สูตร น้ำหนัก (%)
1-2 120 ปลาป่น 56
3-6 150 รำละเอียด 12
7-12 180 กากถั่วลิสงป่น 12
13-15 200 แป้งเหนียว 14
16-18 250 น้ำมันปลา 4
วิตามิน 1.6
สารเหนียว 0.4

5. การเลี้ยงปลาใหญ่
ก. บ่อดินขนาด 200-400 ม2 ลึก 1 เมตร ขนาด 3-5 ซม. ปล่อย 20-25 ตัว/ม2 5-7 ซม. ปล่อย 15-20 ตัว/ม2 ฆ่าเชื้อโรค ฟอร์มาลิน 4 ppm (40 ซีซี./น้ำ 1 ตัน) ให้อาหารวันรุ่งขึ้น เลี้ยงนาน 10 วันและ 30 วัน กำจัดพยาธิใช้ฟอร์มาลินซ้ำ
ตัวอย่าง การเลี้ยง ปล่อยขนาด 3-5 ซม. 10,000 ตัว ปริมาณอาหารผสมต่อวัย
อาทิตย์ 1-4 ปริมาณอาหาร 5-8 กก.
" 5-8 " 9-17 กก.
" 9-12 " 20-29 กก.
" 13-16 " 33-45 กก.
ข. บ่อคอนกรีต วิทย์และคณะ, 2526 แนะนำว่า อัตราการปล่อยลูกปลาดุกด้านที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงในบ่อคอนกรีตกลมระบบ น้ำหมุนเวียน คือ 350-500 ต่อลูกบาศก์เมตร การปล่อยปลาในช่วงแรก ระดับน้ำควรลึก 30-40 เซนติเมตร หรือให้มีระดับใกล้เคียงกับความลึกที่ลูกปลาเคยอยู่ และค่อยๆ เพิ่มระดับน้ำขึ้นประมาณ 10 เซนติเมตร ทุก 5 วัน จนมีระดับน้ำที่ต้องการ อาหารที่ใช้เลี้ยงปลาดุกนิยมใช้อาหารสำเร็จรูปชนิดเม็ดลอยน้ำ มีระดับโปรตีน 30-45 % เพราะว่าสะดวกในการจัดการและทราบปริมาณอาหารที่ปลากิน ให้อาหารประมาณวันละ 3-12 % ของน้ำหนักปลา วันละประมาณ 5 ครั้ง คือเวลา 7.00, 10.00, 13.00, 16.00 และ 20.00 น. ตามลำดับ ควรลดหรือเพิ่มปริมาณอาหารตามความต้องการของปลา นอกจากนี้ยังต้องลดระดับน้ำในบ่อปลาลงประมาณ 15 เซนติเมตร ในเวลาประมาณ 6.00 และ 17.30 น. ของทุกวัน เพื่อระบายน้ำก้นบ่อทิ้ง
6. โรคที่พบมากได้แก่
โคนครีบหูบวม ท้องบวม แผลตามลำตัว สาเหตุจากเชื้อ Aeromonas hydrophilla รักษาใช้ยาเตตราไซควินไฮโดรคลอไรด์ 500 mg/อาหาร 1 กก. ให้กินนาน 10-20 วัน และ NaCl 1%
โรคคอลัมทารัส เชื้อ Flaxibacter columnaris ตัวขาวซีดครีบเปื่อย ยาปฏิชีวนะ 50 mg/1 กก. และด่างทับทิม 3-5 กรัม/ม3 2-3 ชม.โรคที่เกิดจากพยาธิ เช่น Trichodina sp, Oodinium sp, Dactylogyrus sp. ใช้ฟอร์มาลีน 30 มล/ม3 แช่ หรือดินเทอร์เร็กซ์ 0.25 กรัม/ม3

1. คำนำ
ปลาบึกเป็นปลาที่มีความสำคัญต่อประชาชนในลุ่ม แม่น้ำโขงที่ยาวที่สุดในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (4,000 กม.) ตั้งแต่ตอนล่างของมณฑลยูนาน ประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน จนถึงทะเลสาบ Tonle Sap ในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนกัมพูชา ตามอนุสัญญาว่าด้วยการอนุรักษ์พันธุ์พืชและสัตว์ป่า CONVENTIONAL ON INTERNATIONAL TRADE IN ENDANGERED SPECIES (CITES) OF WILD FAUNA AND FLORA กำหนดให้ปลาบึกเป็นปลาที่กำลังสูญพันธุ์ (Endanger Species) และเป็นปลาที่ไม่มีเกล็ดที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในโลก การจับปลาบึกจากแม่น้ำโขง ณ บ้านหาดไคร้ อ.เชียงของ จ.เชียงราย ตั้งแต่ปี 2526 จำนวนปลาที่จับได้เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ จนสูงสุดในปี 2533 จับได้สูงสุด 65 ตัว หลังจากนั้นจำนวนที่จับได้ลดลงตลอดจนล่าสุดปี 2544 - 2546 ไม่สามารถจับปลาบึกได้เลย พ่อแม่ปลาบึกบางส่วนถูกนำมาผสมเทียมโดยกรมประมงตั้งแต่ปี 2526 ปลาบึกบางส่วนนำไปทดลองศึกษาด้านชีววิทยา อนุกรมวิธาน โดยหน่วยงานของรัฐ เช่น กรมประมง และมหาวิทยาลัย และปล่อยลงสู่แหล่งน้ำธรรมชาติรวมทั้งแม่น้ำโขง ปลาบึกเจริญเติบโตดีในบ่อดินและแหล่งน้ำขนาดใหญ่ ทำให้เกษตรกรสนใจเพาะเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินและสามารถเลี้ยงร่วมกับปลากินพืช เช่น ปลานิลได้ ปลาบึกอายุ 3-5 ปี เจริญเติบโตได้ 20-40 กก. (4-6 กก./ปี) ต้นทุนการเลี้ยง 30-50 บาท/กก. จำหน่ายในราคา 80-150 บาท/กก. ประกอบกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จะมีนโยบายส่งเสริมให้ปลาบึกส่งออกได้ใน รูปต้มยำปลาบึกหรือแปรรูปในอนาคต นอกจากนี้การแปรรูปเป็นอาหารอย่างอื่นที่น่าสนใจเพิ่มขึ้นได้แก่ ปลาแล่เนื้อแช่แข็ง สเต๊กปลาบึก

2. ชีววิทยา
ลูกปลาบึกขนาดเล็กมีสีคล้ำเหลือบเหลือง ข้างลำตัวมีแถบสีคล้ำยาว 1-2 แถบ ครีบหางตอนบนและล่างมีแถบสีคล้ำตามยาว ปลาขนาดใหญ่ที่ยังมีชีวิต ด้านหลังของข้างลำตัวจะมีสีเทาอม น้ำตาลแดง ด้านข้างเป็นสีเทาปนน้ำเงินจางกว่าด้านหลัง เมื่อค่อนลงมาทางท้องสีจะจางลงเรื่อย ๆ จนเป็นสีขาวเงิน ตามลำตัวมักมีจุดสีดำค่อนข้างกลมกระจายอยู่ห่าง ๆ เกือบทั่วตัว (ธีรพันธ์ ภูคาสวรรค์, 2525; เสน่ห์ ผลประสิทธิ์, 2526) จุดเหล่นี้ชาวประมงจังหวัดหนองคาย เรียกว่า จุดน้ำหมึก และคาดว่าจุดดังกล่าวจะเพิ่มจำนวนขึ้นในปลาที่มีขนาดโต หัวปลาบึกที่มีขนาดใหญ่คิดเป็น 31.5-32.0 % ของความยาวลำตัว หัวมีความกว้าง 14.3-27.0 % ของความยาวลำตัว ความลึกแนวหลังตา 13.4-14.2 % ของความยาวลำตัว ความยาวลำตัวเป็น 3.6 เท่าของความลึก จะงอยปากใหญ่กลมมนอยู่ปลายสุดของหัว ความกว้างลำตัวคิดเป็น 37.7-44.7 % ของความยาวหัว มีหนวดเส้นเล็ก ๆ ซ่อนอยู่ที่ร่องหลังมุมปาก 1 คู่ ที่มุมขากรรไกรบนเป็นเส้นแบนสีแดง มีความยาวเล็กน้อยกว่าเส้นผ่าศูนย์กลางตา บริเวณจะงอยปากมีรูจมูก 2 คู่ ตั้งอยู่บนริมฝีปากด้านข้างของหัว จมูกคู่หน้าอยู่ชิดกันมากกว่าคู่หลัง นัยน์ตามีขนาดเล็กอยู่เป็นอิสระไม่ติดกับขอบตามีเส้น ผ่าศูนย์กลางคิดเป็น 1 ใน 20 เท่าของความยาวหัว ตำแหน่งของนัยน์ตาตั้งอยู่ต่ำกว่าระดับมุมปาก (Chevey, 1930) ลูกตามีหนังบาง ๆ คลุมด้านขอบเล็กน้อยเปิดเป็นช่องกลม การจัดลำดับอนุกรมวิธานของปลาบึกจาก Chevey (1930) และ Nelson (1994)
Phylum Chordata ;Class Actinopterygii ;Division Teleostei ;Order Siluriforme
Family Pangasiidae ;Genus Pangasianodon; Species gigas

3. การเพาะฟักและอนุบาล
ปลาบึกเพศผู้และเพศเมียที่เลี้ยงในบ่อดิน สามารถนำมาผสมเทียมได้ด้วยฮอร์โมนต้องมีอายุมากกว่า 10 ปี และควรมีน้ำหนักไม่น้อยกว่า 15 กก. และต้องอยู่ในช่วงฤดูกาลวางไข่ ตั้งแต่ปลายเดือน พฤษภาคม – กรกฎาคม ของทุกปีจะเป็นช่วงเวลาที่หมาะสม ตัวอย่างการเพาะผสมเทียมที่สำเร็จที่ภาควิชาเทคโนโลยีการประมง คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ หลังฉีดฮอร์โมน GnRHa 10 ?g/kg ผสมกับ domperidone 5mg/kg ปลาบึกอายุ 10 ปี น้ำหนัก 17 กิโลกรัม นาน 4 ชั่วโมง สามารถรีดน้ำเชื้อปลาบึกได้และ ผสมกับปลาบึกเพศเมีย ณ สถานีประมงน้ำจืด จ. พะเยา น้ำหนัก 54 กก. ฉีดเข็มที่ 1 GnRHa 10 ?g/kg ผสมกับ domperidone 5mg/kg หลังจากนั้น 8 ชม. ฉีดเข็มที่ 2 ด้วย GnRHa 20 ?g/kg ผสมกับ domperidone 5 mg/kg 0.5 โดส นานประมาณ 12 ชม. ผสมออกเป็นตัวปลาบึก ขนาด 2 เซนติเมตร จำนวน 300 ตัว คิดเป็น 3.33 % จากไข่ทั้งหมดประมาณ 6,000 ฟอง นอกจากนี้ได้ตรวจสอบการมีไข่ปลาบึก พบว่าปลาบึกเพศเมียที่ฉีดด้วย GnRHa 50 ?g/kg น้ำหนัก 17 กก. ไข่มีการพัฒนาหลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งที่สี่ 75 วัน เข็มที่ 1 GnRHa 5 ?g/kg ผสมกับ domperidone 2.5 mg/kg และฉีดฮอร์โมนเพศ ปลาบึกเพศผู้น้ำหนัก 16 กก. เข็มที่ 2 GnRHa 10 ?g/kg ผสมกับ domperidone 2.5 mg/kg เข็มที่ 3 เวลา GnRHa 15 ?g /kg ผสมกับ domperidone 2.5 mg/kg เข็มที่ 4 GnRHa 5 ?g/kg ผสมกับ domperidone 0.5 mg/kg วันที่ 27 กรกฎาคม 2545 เวลา 16.00 น. ประสบความสำเร็จในการผสมเทียมปลาบึก โดยสามารถรีดไข่ และน้ำเชื้อปลาบึกหนัก 17 กก. ได้ไข่หนัก 650 กรัม วันที่ 28 กรกฎาคม 2545 ออกเป็นตัวเพียง 11 ตัว ปลาบึกที่เลี้ยงในบ่อดินยังมีอายุน้อยเมื่อเทียบกับปลาบึกที่สามารถผสมเทียมและฟักออกเป็นตัวได้ประมาณ 60-70 % มีอายุ 16 ปี น้ำหนัก 60 กก.

ที่ 2.2 ไข่ปลาบึก ฉีดด้วย GnRHa 50 ?g/ 1 ก.ก. จากบ่อภาควิชาเทคโนโลยีการประมง รูปที่ 2.3 ไข่ปลาบึกที่สุกพร้อมจะผสม

รูปที่ 2.4 น้ำเชื้อปลาบึกหลังจากเจือจางด้วยน้ำเกลือ 0.9% รูปที่ 2.5 ประสบความสำเร็จจากการผสมเทียม ได้ลูกปลาบึก อายุ 5 เดือน

การ ฟักไข่ปลาบึกที่ผสมแล้วในกระชังผ้าขาวขนาด 1x2x0.75 เมตร นำไข่ปลาบึกที่ติดกับเชือกฟางมัดเป็นพวงลอยในกระชัง หรือนำไข่ที่ผสมแล้วติดกับตระแกรงมุ้งเขียวตัดเป็นแผ่นวางให้กระจายทั่วผิว น้ำอย่างให้ทับกัน ปกติแล้วในน้ำที่มีอุณหภูมิ 25oC ไข่ที่ได้รับการผสมจะฟักออกเป็นตัวใช้เวลาประมาณ 32 ชม. น้ำที่ใช้ฟักไข่ต้องสะอาดมีการให้อากาศและถ่ายเทน้ำตลอดเวลา หลังจากที่ไข่แดงยุบประมาณ 3 วันจะเริ่มกินอาหาร การอนุบาลลูกปลาบึกระยะแรกหลังจากออกเป็นตัวแล้วจะมีนิสัยชอบกินกันเอง เนื่องจากช่วงแรกจะกินเนื้อเป็นหลักหลังจาก 2-5 เดือนจะเปลี่ยนเป็นกินพืชการอนุบาลสามารถทำได้ลายลักษณะอาทิเช่น
การอนุบาลในตู้กระจก วิจัย ศรีสุวรรณทัชและคณะ (2527) ได้ศึกษาการฟักไข่ และการอนุบาลลูกปลาบึก 2 ชุด โดยลำเลียงไข่ที่ผสมแล้วจากอำเภอเชียงของ จังหวัดเชียงราย ไข่ฟักออกเป็นตัวหมดภายใน 46 ชั่วโมง อัตราการฟักเป็นตัวใกล้เคียงกันคือ 25% ทำการย้ายลูกปลาทันทีที่ฟักเป็นตัว นำไปอนุบาลในตู้กระจก ขนาดความจุ 173 ลิตร ปล่อยใยอัตรา 6 ตัว/ลิตร หรือ 2,500 ตัว/ตารางเมตร ให้ไรแดงกินในปริมาณที่มากพอทันทีที่ย้ายลงตู้กระจก เมื่อลูกปลามีอายุ 7 วัน จึงเริ่มหัดให้กินไรแดงแช่แข็ง ขณะที่อนุบาลจนถึงอายุได้ 10 วัน ได้กระจายลูกปลาลงในถังไฟเบอร์และย้ายลงบ่อซีเมนต์และเมื่ออายุ 14 วันหัดให้กินอาหารผสม
การอนุบาลปลาบึก พบว่าไข่ปลาฟักเป็นตัวหมดในเวลา 43 ชั่วโมง ในบ่อฟักเป็นตัวเร็วกว่าในกระชัง ศึกษาการพัฒนาเปลี่ยนแปลงจาก 1 วันถึง 150 วันโดยให้อาหารดังนี้

การอนุบาลในบ่อดินได้ขนาด 1-3 นิ้ว ระยะเวลา 15-30 วัน บ่อขนาด 800-1,600 ตารางเมตร เตรียมตากบ่อ โรยปูนขาว ใส่ปุ๋ย กรองน้ำเข้าบ่อ 50-60 เซนติเมตร ไรแดง 4-6 กิโลกรัม/ไร่ ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน นำลูกปลาปล่อย 20-30 ตัว/ตารางเมตร ประมาณ 3-5 วันจึงเพิ่มระดับน้ำเป็น 80-90 เซนติเมตร การให้อาหารช่วงแรกให้ไรแดงผสมอาหารสมทบ ปลาเป็ด รำ หัวอาหารหมูวัยอ่อน หรือใช้อาหารปลาดุกเล็กปั้นเป็นก้อนผสมวิตามินและเกลือแร่ให้อาหารทุก 4-6 ชั่วโมง ปริมาณ 1 กิโลกรัม/บ่อ 1 ไร่ เมื่อครบ 1 สัปดาห์ให้อาหารสมทบเพียงอย่างเดียว การป้องกันศัตรู มวนกรรเชียงใช้น้ำมันโซลา 2-3 ลิตร/ไร่ สาดให้ทั่วบ่อ 3-5 วัน/ครั้ง กบ เขียด งู นก ใช้ข่ายมุ้งกั้นรอบก้นบ่อการขนส่งลูกปลาขนาด 1-3 นิ้ว ใช้ถุงขนาด 20 ลิตร บรรจุลูกปลา 150-600 ตัว/ถุง อุณหภูมิ 18-20 องศาเซลเซียส ใช้เวลาไม่ควรเกิน 20 ชั่วโมง

4. การเลี้ยง
การเลี้ยงปลาบึกสามารถเลี้ยงได้หลายลักษณะโดยเลี้ยงแบบเดียว (monoculture) หรือเลี้ยงแบบผสมผสานหรือเลี้ยงแบบรวม (integrated or polyculture) แต่ต้องมีหลักการและองค์ประกอบ ดังนี้ การเลี้ยงแบบเดียว การเลี้ยงปลาบึกในบ่อดินเป็นการเลี้ยงที่นิยมเลี้ยงกันมากในปัจจุบันเนื่อง จากปลาบึกจะสามารถเจริญเติบโตได้ดี
การเลี้ยงปลาบึกขนาดความยาวเฉลี่ย 20.11 เซนติเมตร น้ำหนักเฉลี่ย 70.75 กรัม ในบ่อดินขนาด 80 ตารางเมตร อัตราปล่อย 5 ตัว/ตารางเมตร ด้วยอาหาร 3 ชนิด ชุดที่ 1 อาหารระดับโปรตีน 30% ประกอบด้วย ปลาป่น 16% กากถั่วเหลือง 39% รำละเอียด 30% ปลายข้าว 14% วิตามินและแร่ธาตุ 1% ชุดที่ 2 ระดับโปรตีน 11% ประกอบด้วย รำละเอียด : ปลายข้าว ในอัตราส่วน 3 : 1 โดยให้อาหารในอัตรา 5% ของน้ำหนักตัวปลา สัปดาห์ละ 5 วัน และปรับปริมาณอาหารทุกเดือนตามน้ำหนักปลาที่เพิ่มขึ้น ชุดที่ 3 เลี้ยงด้วยมูลสุกรแห้งอัตรา 200 กิโลกรัม/ไร่/เดือน แบ่งใส่เดือนละ 2 ครั้ง เท่า ๆ กัน ทดลองเลี้ยงนาน 11 เดือน 8 วัน จากการทดลองพบว่า ปลามีน้ำหนักเฉลี่ย 2,655, 1,541.5 และ 2,085 กรัม อัตราการเจริญเติบโต 7.53, 4.29 และ 5.87 กรัม/วัน อัตราการเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 3.25, 3.87 และ 3.72 และต้นทุนค่าอาหารต่อปลาบึก 1 กิโลกรัม เท่ากับ 22.43, 8.13 และ 1.60 บาท ตามลำดับ อัตราการรอดตาย 100% ทุกการทดลอง (อนันต์ หาญประสิทธิ์คำ และชัยศิริ ศิริกุล, 2538)
การเลี้ยงปลาบึกเชิงพาณิชย์ของเกษตรกรเริ่มสนใจเลี้ยงกัน หลังจากที่กรมประมงสามารถผสมเทียมปลาบึกได้ ปลาบึกเป็นปลาที่มีราคาค่อนข้างจะแพง แต่ในการเลี้ยงปลาบึกนั้นเกษตรกรผู้เลี้ยงต้องมีความพร้อมในหลายด้าน ทั้งทางด้านต้นทุนการเลี้ยงและสถานที่ เพราะปลาบึกเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ต้องใช้บ่อที่มีขนาดใหญ่และลึกพอสมควร อีกทั้งใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงนานประมาณ 5 - 6 ปี จึงจะได้ขนาดขาย ต้นทุนการเลี้ยงสูงมาก เกษตรกรผู้เลี้ยงหลายคนกล่าวว่าการเลี้ยงปลาบึกก็เหมือนกับการนำเงินไปฝาก ธนาคารที่รอคอยดอกเบี้ยเป็นผลตอบแทนที่ตัดสินใจเลี้ยงก็เนื่องจากราคาที่แพง ของปลาบึกเป็นสิ่งที่จูงใจการเลี้ยงปลาบึกของเกษตรกรในปัจจุบันปัญหาหลักที่ เจอก็คือ ต้นทุนค่าอาหารสูง ระยะเวลาในการเลี้ยงนาน ลูกปลาบึกเริ่มขาดแคลน และตลาดของปลาบึกค่อนข้างจะแคบคือมีแต่ตลาดภายในประเทศเท่านั้น ปัญหาที่ได้กล่าวมาล้วนแต่มีความสำคัญต่อการเลี้ยงปลาบึก แต่ปัญหาที่น่าเป็นห่วงก็คือการขาดแคลนลูกปลาเพราะปัจจุบันลูกปลาบึกที่นำมา เลี้ยงจะได้มาจากการผสมเทียมปลาบึกของกรมประมงที่ใช้พ่อ-แม่พันธุ์จากแม่น้ำ โขง ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันอยู่แล้วว่าการจับปลาบึกจากแม่น้ำโขงในปัจจุบันจับได้ ลดน้อยลงทุกปี อีกทั้งอัตราการรอดของลูกปลาเมื่อนำมาอนุบาลก็ค่อนข้างจะต่ำ และเกษตรกรบางคนก็เจอปัญหาถูกหลอกขายลูกปลาบิ๊กหวาย (ปลาลูกผสมระหว่างพ่อปลาบึกxแม่ปลาสวาย) ดังนั้นการส่งเสริมให้การเลี้ยงปลาบึกเป็นการเลี้ยงเชิงพาณิชย์ต้องมีการ พัฒนาให้การเพาะพันธุ์ปลาบึกได้โดยใช้พ่อ-แม่พันธุ์ที่เลี้ยงในบ่อหรือพ่อ -แม่พันธุ์ที่กรมประมงนำไปปล่อยลงแหล่งน้ำธรรมชาติ ซึ่งในเรื่องนี้ทางกรมประมงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็กำลังทำการศึกษาวิจัย อย่างจริงจัง เกษตรกรที่เลี้ยงปลาบึกเชิงพาณิชย์ในปัจจุบัน เช่น
คุณธีรชัย เจิดนภาพันธุ์ เริ่มเลี้ยงปลาบึกตั้งแต่ ปี 2528 ซึ่งได้ลูกปลาบึกมาจากชาวประมง ที่จับได้จากธรรมชาติ ปลาบึกขนาดน้ำหนักประมาณ 700 กรัม มาเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1 ไร่ ความลึก 50 เซนติเมตร จากนั้นย้ายลงบ่อน้ำลึกประมาณ 1.5 เมตร ปีที่ 2 เริ่มนำปลาบึกลงเลี้ยงในบ่อขนาด 1 ไร่ ความลึก 2.5 เมตร ปรากฏว่าปลาบึกโตดีกว่าในบ่อน้ำตื้นมาก ปัจจุบันฟาร์มเลี้ยงปลาบึกมีพื้นที่ประมาณ 500 ไร่ ณ บ้านบ่งน้ำใส ตำบลบางพระหลวง อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ มีปลาบึกเลี้ยง 3 รุ่น โดยรุ่นแรก ปี 2528 จำนวน 40 ตัว น้ำหนักประมาณ 50 กิโลกรัม รุ่นที่ 2 ปี 2532 จำนวนประมาณ 5,000 - 10,000 ตัว น้ำหนักประมาณ 15 - 20 กิโลกรัม รุ่นที่ 3 ปี 2534 จำนวน 5,000 ตัว น้ำหนัก 8 - 10 กิโลกรัม การขายปลาบึกจะมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อที่ฟาร์มในราคา 90 - 100 บาท/กิโลกรัม โดยจะมีพ่อค้ามารับซื้อทุกวัน ๆ ละ 100 - 200 กิโลกรัม ในการเลี้ยงใช้อาหารที่ผลิตเองเพื่อลดต้นทุน ใช้มันเส้นผสมกับปลายข้าว ปลาป่น บางครั้งใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวนำไปต้มรวมกัน อัตราการปล่อย 1 ตัว/30 ตารางเมตร บ่อขนาด 10 - 20 ไร่ ลึก 2 - 3 เมตร
คุณพยุง ทองดี เลี้ยงปลาบึกมานาน 6 ปี โดยเริ่มเลี้ยงปลาขนาด 2 นิ้ว นำมาอนุบาลด้วยอาหารปลาดุก อนุบาลมาแล้วประมาณ 2,000 ตัว เลี้ยงจำนวน 2 บ่อ บ่อแรกขนาด 16 ไร่ อายุ 6 ปี น้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม/ตัว บ่อที่ 2 ขนาด 20 ไร่ จำนวน 3,000 ตัว อายุ 4 ปี น้ำหนักประมาณ 10 กิโลกรัม/ตัว และขณะนี้เริ่มจับออกจำหน่าย ขนาดปลาที่เหมาะต่อการจำหน่ายต้องมีน้ำหนักประมาณ 20 กิโลกรัม/ตัว ได้ราคากิโลกรัมละ 80 - 120 บาท จำหน่ายได้ทุกวัน ๆ ละ ประมาณ 100 กิโลกรัม การเลี้ยงแต่เดิมเลี้ยงด้วยอาหารผสมและบะหมี่ ต่อมาเปลี่ยนมาใช้ปุ๋ยและขี้ไก่แห้งแทนเพื่อเพิ่มอาหารธรรมชาติในบ่อ
คุณจรัล ไชยองค์การ เป็นผู้หนึ่งที่สนใจเลี้ยงปลาบึกเชิงพาณิชย์ โดยฟาร์มที่เลี้ยงเป็นฟาร์มเลี้ยงปลาแบบผสมผสาน คือ เลี้ยงปลาร่วมกับการเลี้ยงไก่ ซึ่งได้เลี้ยงปลาบึกไว้ในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เลี้ยงไว้ทั้งหมด 3 รุ่น ในช่วงปี 2534 - 2536 โดยปล่อยรุ่นแรกจำนวน 500 ตัว รุ่นที่ 2 จำนวน 15,000 ตัว และรุ่นที่ 3 จำนวน 15,000 ตัวปล่อยอัตรา 1 ตัว/2 ตารางเมตร จากนั้นก็ย้ายลงมาเลี้ยงในบ่อที่เลี้ยงด้วยอาหารเสริมก่อนจำหน่ายราคา กิโลกรัมละ 100 - 150 บาท ขนาด 20-30 กิโลกรัม/ตัว ในช่วงปี 2544 เป็นต้นมาทางฟารม์ได้ปรับปรุงการเลี้ยงปลาบึกโดยการแยกเลี้ยงออกจากการ เลี้ยงไก่และพัฒนาการอัตราการปล่อยปลาบึกตามขนาดปลาและบ่อโดยแบ่งการเลี้ยง เป็น 3 ช่วงโดยระยะแรกนำลูกปลาขนาด 10-20 กรัม มาเลี้ยงในบ่ออนุบาลขนาด 4 ไร่ ปล่อย 10,000 ตัว เลี้ยงด้วยอาหารเม็ดปลาดุกนาน 6 เดือน เมื่อปลาขนาดประมาณ 1 กก. จึงย้ายลงเลี้ยงในบ่อขนาด 10 ไร่ ปล่อยบ่อละ 5,000 ตัว โดยทำอาหารธรรมชาติจากแพลงค์ตอน (น้ำเขียว) เป็นหลักเลี้ยงนาน 1 ปีได้น้ำหนักประมาณ 10-15 กก. แล้วย้ายไปเลี้ยงในบ่อ 20 ไร่ ใช้วิธีการเลี้ยงเช่นเดียวกับในบ่อ 10 ไร่ เลี้ยงนานอีก 1.5-2 ปี ได้น้ำหนัก 30 กก. จะให้อาหารเม็ดปลากินพืชและปลาดุกเสริมก่อนจำหน่ายเป็นเวลา 2 เดือน ปัญหาที่พบระยะเวลาเลี้ยงค่อนข้างนาน ถ้าเลี้ยงด้วยอาหารเม็ดตลอดต้นทุนค่าอาหารจะสูง ปัญหาปลาบึกปลอม (บิ๊กหวาย) แย่งตลาด และตลาดค่อนข้างจำกัดรูปแบบการจำหน่ายใน ปัจจุบันนิยมขายปลาเป็นขนาด 15-30 กก. ยังไม่มีการแปรรูปผลิตภัณฑ์ให้สามารถซื้อขายได้สะดวก และยังไม่สามารถส่งออกไปจำหน่ายต่างประเทศได้


รูปที่ 2.6 การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลานิลและปลาบึก .

การเลี้ยงปลาบึกร่วมกับกุ้งก้ามกรามและปลานิล โดยมีหลักการสัตว์น้ำทั้งสามชนิดต้องไม่แย่งอาหาร ที่อยู่ และกินกันเอง และสามารประหยัดต้นทุนค่าอาหารและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่
การปล่อยปลาบึกควรปล่อยขนาด 30 กรัมหรือมีอายุมากกว่า 5 เดือน อัตราปล่อย 1 / 10 ม2 ให้อาหารโปรตีน 30 % อัตรา 2 % น้ำหนักตัว/วัน
การปล่อยกุ้งก้ามกรามควรปล่อยขนด 2-3 กรัมขึ้นอายุ 2 เดือนอัตราปล่อย 10 ตัว/ม2 ให้อาหารกุ้งโปรตีน 40 % เดือนที่ 1 อัตรา 10 % เดือนที่ 2 อัตรา 5% เดือนที่ 3-4 ให้อัตรา 3 % ของน้ำหนักตัวแต่ทั้งนี้จำต้องอาศัยการกินอาหารและอัตราการรอดของกุ้งและ ปรับตามสภาพการเจริญ เติบโตและการประหยัดต้นทุน
การปล่อยปลานิลควรปล่อยขนาด 2-3 กรัม หรืออายุ 2 เดือน อัตราปล่อย 4 ตัว /ม2 ให้อาหารโปรตีน 25 % อัตรา 2 % น้ำหนักตัว/วันหรืออาจงดอาหารเนืองจากปลานิลสามารถหาอาหารธรรมชาติ เช่น สาหร่าย แพลงค์ตอนในน้ำเป็นอาหารได้เอง

.

โมง Pangasius bocourti Sauvage, 1880 เป็นปลาตระกูลเดียวกับปลาสวาย ทางภาคเหนือเรียกปลาเผาะ พบกระจายพันธุ์ในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เป็นจำนวนมาก (Berra, 1981) ในประเทศไทยพบมากในแม่น้ำโขงและแม่น้ำเจ้าพระยา (Tyson, 1991) แม่ปลาน้ำหนักเฉลี่ย 1 กิโลกรัม มีความดกไข่เฉลี่ย 7,500 ฟอง (Cacot, 1999) ไข่เป็นไข่ติดจมน้ำ กลม สีขาวอมเหลืองใส อาศัยอยู่ในแหล่งน้ำไหลที่มีปริมาณออกซิเจนละลายในน้ำสูงโดยเฉพาะในแม่น้ำ โขง พบในช่วงเดือน เมษายน-มิถุนายน ของทุกปี (วิวัฒน์และชัยศิริ, 2538) เนื้อปลามีสีขาวและรสชาติดี เป็นที่ต้องการของตลาดทำให้มีราคาสูง โดยปลาโมงขนาด 0.7-1 กิโลกรัม ๆ ละ 50 บาท ปลาโมงขนาด 1.5-2 กิโลกรัม ๆ ละ 150 บาท (Prasertwattana et al., 2003) นอกจากนี้ปลาโมงยังเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศ เช่น กลุ่มประเทศสหภาพยุโรป สหรัฐอเมริกา และในอนาคตอาจมีตลาดใหม่ในประเทศรัสเซียและตลาดเอเชีย ปัจจุบันประเทศที่ส่งออกปลาโมงในรูป Filet มีเพียงประเทศเดียวคือประเทศเวียดนาม ส่งออกโดยในรูปFilet มีปริมาณการส่งออกในปี 2542 จำนวน 20,000 ตัน (Trong et al., 2002) และปี 2547 มีปริมาณการส่งออก 120,000 ตัน มูลค่าการตลาด 17,000 ล้านบาท แต่ประเทศเวียดนามเริ่มประสบปัญหาคุณภาพผลผลิต เช่น เนื้อปลาแล่ Filet มีน้ำหนักลดลง และสีของเนื้อปลามีหลายสี เนื่องจากปลอมปนสายพันธุ์ (สีเนื้อปลาที่ตลาดยุโรปต้องการเป็นสีขาว) นอกจากนี้ยังเผชิญปัญหาป้องกันการทุ่มตลาดจากประเทศสหรัฐอเมริกา แต่ตลาดต่างประเทศยังมีความต้องการนำเข้าเนื้อปลาโมง Filet อีกปริมาณมาก จึงเป็นโอกาสดีของประเทศไทยที่จะพัฒนาการเพาะเลี้ยงปลาโมงให้เป็นสัตว์น้ำ เศรษฐกิจชนิดใหม่เพื่อการส่งออกทดแทนสินค้าเกษตรและอาหารบางชนิด เช่น กุ้งและไก่ เป็นต้น ที่มียอดการส่งออกลดลง ซึ่งด้วยศักยภาพในการเพิ่มผลผลิตปลาโมงจึงน่าจะมีลู่ทางที่สดใสในการแข่งขัน ในตลาดโลก สร้างโอกาสให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์น้ำและผู้สนใจสามารถใช้กลไกของรัฐบาล ช่วยสนับสนุนให้เกิดการพัฒนาการเพาะเลี้ยงและผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพได้ มาตรฐานสามารถส่งออกและเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศต่อไป ข้อได้เปรียบของประเทศไทยในการส่งเสริมให้เป็นปลาเศษฐกิจตัวใหม่ได้แก่ (อรรณพ, 2548)
1. ความต้องการของตลาดโลกเพิ่มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่มีผู้จำหน่ายเพียงรายเดียว คือ ประเทศเวียดนาม ซึ่งกำลังเผชิญกับปัญหาคุณภาพผลผลิต ได้แก่ เนื้อปลา Filet มีน้ำหนักลดลง และสีของเนื้อปลามีหลายสี ซึ่งสีเนื้อปลาที่ตลาดยุโรปต้องการเป็นสีขาวเพื่อทดแทนเนื้อปลา Halibut
2. ประเทศไทยมีมาตรฐานขั้นปลอดภัยฟาร์มเพาะ อนุบาลและเลี้ยงสัตว์น้ำ และมีมาตรฐานการปฏิบัติทางประมงที่ดีสำหรับการผลิตสัตว์น้ำ ทำให้ผู้นำเข้าสินค้าสัตว์น้ำมั่นใจในคุณภาพและมาตรฐานสินค้า และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ทุกขั้นตอนการผลิต
3. สามารถสร้างภาพลักษณ์สินค้าเป็น “ปลาลุ่มแม่น้ำโขง”
4. ประเทศไทยมีพื้นที่ที่เหมาะสมต่อการเพาะเลี้ยงหลายพื้นที่ เช่น จังหวัดที่มีลุ่มแม่น้ำสายหลักไหลผ่าน หรืออยู่ใกล้อ่างเก็บน้ำ คลองชลประทาน
5. สามารถเลี้ยงได้ทั้งในกระชังและบ่อดิน
6. เกษตรกรมีศักยภาพในการเพาะเลี้ยง แต่ต้องมีการวางแผนตลาดและความคุมต้นทุน
7. ประเทศไทยมีเทคโนโลยีการผลิตลูกปลาได้ดีและสามารถมีศักยภาพที่ผลิตได้เพียงพอความต้องการ

ความแตกต่างระหว่างเพศ
แม่ปลาเจริญพันธุ์ (mature) เมื่ออายุได้ 4 ปี ขึ้นไป ในปลาที่ยังไม่เจริญพันธุ์สังเกตความแตกต่างระหว่างเพศแทบไม่ได้เลย ช่วงเจริญพันธุ์ คัดเลือกแม่ปลาที่มีความสมบูรณ์ทางเพศ โดยการใช้ Flexible Catheter หรือใช้สายยางเล็ก ๆ ดูดไข่ เพื่อนำไข่มาวัดขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไข่เท่ากับ 1.8-2.2 มิลลิเมตร ส่วนปลาเพศผู้ที่สมบูรณ์เต็มที่ เพียงกดเบา ๆ ที่ช่องเพศน้ำเชื้อก็จะไหลออกมา (Cacot, 1999 ; Tuan, 1999 ; เจริญ และสมบัติ, 2547)

แหล่งพ่อแม่พันธุ์
พ่อแม่พันธุ์ปลาโมงที่ใช้เพาะพันธุ์ในปัจจุบันได้มาโดยวิธีรวบรวมปลาโมงอายุ 1 ปี จากธรรมชาติจำนวนทั้งหมด 216 ตัว มาเลี้ยงในบ่อดินขนาด 1,600 ตารางเมตร เลี้ยงปลาเพศผู้และเพศเมียรวมในบ่อเดียวกัน เมื่อปลาโมงมีอายุ 4 ปี น้ำหนักเฉลี่ย 6 กิโลกรัม จึงนำมาขุนเลี้ยงด้วยอาหารผสม ให้กินวันละ 1% ของน้ำหนักตัว (อาหารผสม = ปลาเป็ดบดละเอียด : รำละเอียด : ปลาป่น ร่วมกับวิตามินอี, วิตามินซี และน้ำหนักหมึก อัตราส่วน 2:2:1 ร่วมกับวิตามินอี 0.050 กรัม/กิโลกรัม, วิตามินซี 0.025-0.050 กรัม/กิโลกรัม และน้ำหมึก 0.5-5 %) นอกจากนั้นต้องคอยดูแลเพิ่มน้ำในบ่อเสมอ การเพาะพันธุ์จะเริ่มได้ในเดือนมีนาคมจนถึงเมษายน
แม่พันธุ์ที่มีไข่แก่เต็มที่ สังเกตจากลักษณะภายนอกไม่ชัดเจน จึงตรวจสอบความสมบูรณ์ของแม่พันธุ์ปลาโมงโดยใช้ Flexible Catheter หรือใช้สายยางเล็ก ๆ สอดเข้าช่องเพศลึกประมาณ 2-3 นิ้ว แม่พันธุ์ปลาโมงที่มีความสมบูรณ์เพศ มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางไข่ตั้งแต่ 1.6-1.9 มิลลิเมตร ตรวจสอบความสมบูรณ์โดยวิธีกดบริเวณช่องเพศจะพบว่ามีน้ำเชื้อสีขาวขุ่นไหลออกมา
การฉีดฮอร์โมนกระตุ้นการตกไข่
แม่พันธุ์ปลาโมง
แม่ปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง <1.9>1.6 mim)
1. ฉีด Priming ด้วย HCG ทุก ๆ 24 ชั่วโมง
อัตรา 500 iu/kg
แม่ปลามีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง >1.9 mim
2. ฉีด Resolving ด้วย เข็มที่ 1,500 iu/kg HCG
เว้นระยะห่าง 8 ชั่วโมง
เข็มที่ 2 20 ?g/kg LHRHa+10 mg/kg domperidone
แม่ปลาวางไข่หลังจากฉีดฮอร์โมนครั้งสุดท้าย 11-18 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิน้ำ 26.5-30 oC
พ่อพันธุ์ปลาโมง ฉีดกระตุ้นด้วย LHRHa+domperidone อัตรา 10 ไมโครกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม ร่วมกับ Domperidone อัตรา 10 มิลลิกรัมต่อน้ำหนัก 1 กิโลกรัม พักพ่อแม่พันธุ์ปลาไว้ในบ่อคอนกรีตหรือถังไฟเบอร์กลาสเพิ่มออกซิเจนในบ่อ ตลอดเวลา เนื่องจากพ่อแม่พันธุ์ปลาโมงมีขนาดใหญ่ และมีเงี่ยงคม หากใช้ยาสลบช่วยในระหว่างการฉีดและรีดจะช่วยให้ทำงานสะดวกขึ้น นอกจากนั้นหากใช้เปลช่วยในการเคลื่อนย้ายปลาระหว่างการฉีดจะทำให้ปลาบอบช้ำ น้อยลง

การผสมเทียม
เนื่องจากไข่ปลาโมงเป็นไข่แบบจมติด การผสมเทียมจึงใช้วิธีแห้ง โดยรีดไข่ลงในภาชนะที่แห้งสนิท หลังจากรีดน้ำเชื้อลงผสมแล้วใช้ขนไก่คนจนทั่ว จากนั้นนำไปโรยในตาข่ายมุ้งสีฟ้าขนาด 20 ช่องตาต่อนิ้ว หรืออาจจะนำไข่ปลาที่ผสมกับน้ำเชื้อแล้ว ไปเคลือบด้วยดินสอพองละลายน้ำ (ดินสอพอง 1 กก./น้ำ 500 ซี.ซี.) เพื่อไม่ให้ไข่ติดกันแล้วฟักในแบบกรวยจราจร

การฟักไข่ปลา
ฟักไข่ปลา (50 กรัม/ตรม.) ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x2x0.6 เมตร ระดับน้ำลึก 0.3 เมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาหรือฟักไข่ปลา (500 กรัม/กรวยความจุ 13 ลิตร) ในกรวยจราจร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลา เพื่อให้ไข่เคลื่อนไหวตลอด

การอนุบาลลูกปลา
อนุบาลลูกปลาอายุ 2-7 วัน ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x2x0.6 เมตร ระดับน้ำลึก 0.30 เมตร อัตรา 25 ตัว/ลิตร ระบบน้ำไหลผ่าน ให้ไรแดงเป็นอาหารของลูกปลา โดยให้กินอย่างเพียงพอวันละ 6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง ดูดตะกอนทุกวัน เวลา 06.00 น. และ 15.30 น.
เมื่อลูกปลาโมงอายุ 7-21 วัน ในบ่อซีเมนต์ขนาด 2x2x0.6 เมตร ระดับน้ำลึก 0.30 เมตร อัตรา 12.5 ตัว/ลิตร ระบบน้ำไหลผ่าน ให้ไรแดง+ไข่ตุ๋น (ไข่ 12 ฟอง+นมผง 15 กรัม+น้ำ 700 มิลลิลิตร) เป็นอาหารของลูกปลาโดยให้กินอย่างเพียงพอ วันละ 6 ครั้ง แต่ละครั้งห่างกัน 4 ชั่วโมง ดูดตะกอนทุกวัน เวลา 06.00 น. และ 15.30 น. มีอัตรารอดเฉลี่ย 50-80 %
เมื่อลูกปลาโมงอายุ 21-35 วัน ในบ่อดินในกระชังตาข่ายมุ้งสีฟ้า จมน้ำลึก 0.60 เมตร อัตรา 2.5 ตัว/ลิตร เพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยใช้เครื่องตีน้ำ จำนวน 1 ตัว ให้ไรแดง+ไข่ตุ๋น+รำ : ปลาป่น (2 :1) เป็นอาหารลูกปลาโดยให้กินอย่างเพียงพอ วันละ 4 ครั้ง เวลา 06.00 น., 10.00 น., 15.00 น. และ 15.30 น. มีอัตรารอดเฉลี่ย 70-80%
อนุบาลลูกปลาอายุ 35-60 วัน ในบ่อดิน อัตรา 75-100 ตัว/ตรม. เพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยใช้เครื่องตีน้ำ จำนวน 1 ตัว ให้กินอาหาร 3 มื้อ/วัน (รำกับปลาป่น อัตรา 2:1 ร่วมกับอาหารเม็ดขนาดจิ๋ว) เวลา 06.00 น., 15.00 น. และ 20.00 น. อัตรารอดเฉลี่ย 70-80%
อนุบาลลูกปลาอายุ 60-90 วัน ในบ่อดิน อัตรา 62.5 ตัว/ตรม. เพิ่มออกซิเจนในน้ำโดยใช้เครื่องตีน้ำ จำนวน 1 ตัว ให้อาหารปลาดุกเล็กพิเศษ วันละ 1 มื้อ (15.00 น.)อัตรารอดเฉลี่ย 70-80%

การเพาะผสมเทียมปลาโมงด้วยฮอร์โมนและต่อมใต้สมอง
สมบัติ, 2548 ได้รายงานการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ buserelin acetate (BUS), สารสกัดจากต่อมใต้สมองปลา(pituitary gland extract, PG) และ ฮอร์โมนสกัด HumanChorionic Gonadotropic (HCG) มีผลให้แม่ปลาโมงตกไข่ทุกตัว โดยใช้เวลาตกไข่หลังฉีดฮอร์โมน 19.00?3.55, 16.83?0.17 และ 19.50?3.14 ชั่วโมง ตามลำดับ ซึ่งไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง อัตราปฏิสนธิมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 86.00?7.81, 68.00?21.00 และ 95.00?1.73 % ตามลำดับ ส่วนอัตราฟักเฉลี่ยเท่ากับ 65.33?25.58, 86.00?2.65 และ 87.33?3.06 % ตามลำดับ พบว่าทั้งอัตราปฏิสนธิและอัตราฟักมีค่าไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ อัตรารอดตายเฉลี่ยเท่ากับ 87.00?7.00, 85.00?9.29 และ 84.00?3.21 % ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าอัตราการรอดตายเฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัย สำคัญทางสถิติ จำนวนไข่ต่อน้ำหนักแม่พันธุ์ 1 กิโลกรัมเท่ากับ 6,980?3,622, 9,563?4,040 และ 8,135?2,970% ตามลำดับ ผลการวิเคราะห์ทางสถิติพบว่าจำนวนไข่เฉลี่ยไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติ

ความหนาแน่นต่อการเจริญเติบโตและผลผลิตปลาโมงในกระชัง
ศิราณีและเฉลิมพล, 2548 รายงานว่าการเลี้ยงปลาโมงในกระชังที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกัน 4 ระดับ คือ 50, 100, 150 และ 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ในแม่น้ำโขง เมื่อสิ้นสุดการทดลองซึ่งเลี้ยงเป็นระยะเวลา 7 เดือน พบว่าปลาโมงที่เลี้ยงทุกชุดการทดลองมีอัตราการเจริญเติบโตอัตราไม่แตกต่าง กันทางสถิติ แสดงให้เห็นว่าระดับความหนาแน่นที่แตกต่างกันทั้ง 4 ระดับ ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาที่เลี้ยงในแม่น้ำโขง ซึ่งไม่สอดคล้องกับการทดลองอื่นหลาย ๆ การทดลองที่ว่าความหนาแน่นมีผลต่ออัตราการเจริญเติบโต Hepher (1967) และ Wang et al. (2000) กล่าวว่าระดับความหนาแน่นในการเลี้ยงปลามีผลต่อการเจริญเติบโตของปลาและ อัตราการรอดตายของปลามีความสัมพันธ์ในลักษณะที่ปฏิภาคผกผันกับระดับความหนา แน่นคือเมื่อเลี้ยงปลาที่ความหนาแน่นมีมากขึ้นการเจริญเติบโตและอัตราการรอด ตายของปลาจะลดลงเนื่องมาจากอัตราแน่นที่มากขึ้นปลาจะมีความเครียดมากขึ้นส่ง ผลให้อัตราการเจริญเติบโตลดลง และอาจจะเนื่องจากอัตราการปล่อยที่ยังต่ำไปทำให้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโต ในการเลี้ยงปลาโมงในกระชังในแม่น้ำโขงของเกษตรกรส่วนมากจะเลี้ยงในอัตรา 80-100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ซึ่งจากการทดลองในครั้งนี้จะเห็นได้ว่าอัตราการปล่อยของเกษตรกรนั้นยังไม่ ถึงกำลังการผลิตสูงสุดของกระชัง (carrying capacity) และในการทดลองครั้งนี้เป็นการเลี้ยงปลาในแหล่งน้ำไหลซึ่งคุณภาพน้ำอยู่ใน เกณฑ์ที่เหมาะสม อยู่ในสภาพแวดล้อมที่ดี มีการถ่ายเทของน้ำในกระชังและมีการพัดพาของเสียออกจากกระชัง
นอกจากอัตราการเจริญเติบโตจะไม่แตกต่างกันแล้วอัตราการรอดทั้ง 4 ระดับ เมื่อทดสอบทางสถิติแล้วพบว่าไม่แตกต่างกัน (97.44+2.24, 98.96+0.63, 99.34+0.60 และ 99.26+0.26 ตามลำดับ) เนื่องจากคุณภาพน้ำซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้สามารถเลี้ยงปลาโมงในอัตรา ที่หนาแน่นได้ เพราะคุณสมบัติของน้ำในแม่น้ำโขงอยู่ในเกณฑ์ที่เหมาะสมโดยดูได้จากค่าปริมาณ ออกซิเจนที่ละลายน้ำมีค่าอยู่ระหว่าง 3.3-3.8 มิลลิกรัม/ลิตร ความเป็นกรดเป็นด่างอยู่ระหว่าง 6.4-7.6 อุณหภูมิอยู่ระหว่าง 25-28 องศาเซลเซียส และไม่พบว่ามีปริมาณของแอมโมเนียและไนไตรท์โดยอ้างถึงไมตรีและจารุวรรณ (2528) กล่าวว่าปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมไม่ต่ำกว่า 3.0 มิลลิกรัม/ลิตร ค่าความเป็นกรดเป็นด่างระหว่าง 6.5-9.0 เป็นระดับที่เหมาะสมแก่การเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ และอุณหภูมิที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาอยู่ในระหว่าง 25-32 องศาเซลเซียส และอัตราการปล่อยปลาที่ยังไม่ถึงระดับสูงสุดของกำลังผลิตสูงสุดของกระชังจึง ทำให้อัตราการรอดสูง และในการทดลองเลี้ยงปลาเทโพในกระชังด้วยอาหารต่างกัน 2 ชนิด คือ อาหารผสมเองและอาหารสำเร็จรูปปลาดุกใหญ่ (จินตนาและสมเกียรติ, 2540) เมื่อสิ้นสุดการทดลองในเดือนที่ 6 มีอัตราการรอดตาย 97.85 % และ 93.81 % ตามลำดับ ซึ่งในการทดลองครั้งนี้ก็มีอัตราการรอดสูงเพราะสภาพการเลี้ยงใกล้เคียงกัน คือเลี้ยงในกระชังและในแม่น้ำ
ส่วนอัตราการแลกเนื้อ เมื่อนำมาทดสอบทางสถิติพบว่ามีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญระหว่างระดับความหนาแน่น 100 ตัว/ลูกบาศก์เมตรกับระดับความหนาแน่น 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ส่วนระดับความหนาแน่นอื่น ๆ ไม่แตกต่างกัน สาเหตุที่อัตราการแลกเนื้อของชุดการทดลอง 100 ตัว/ลูกบาศก์เมตร สูงกว่าระดับความหนาแน่น 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตร อาจจะเนื่องมาจากการผิดพลาดในการให้อาหาร เพราะในการทดลองครั้งนี้เป็นการทดลองร่วมกับเกษตรกร และในช่วงที่มีการชั่งวัดปลาในแต่ละเดือนนั้นปลาจะหยุดกินอาหารประมาณ 1-2 วัน ทำให้เกิดการสูญเสียอาหารไป
ผลผลิตปลาโมงในกระชังเมื่อเสร็จสิ้นการทดลองที่อัตราความหนาแน่น 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร พบว่ามีผลผลิตมากที่สุด คือ 83.76 กก. /ลูกบาศก์เมตร ซึ่งเหมาะสมที่จะส่งเสริมให้มีการเลี้ยงปลาชนิดนี้ในกระชังแบบพัฒนา ที่สามารถปล่อยปลาลงเลี้ยงอย่างหนาแน่น เนื่องจากแม่น้ำโขงสามารถถ่ายเทได้ดี ทำให้มีคุณสมบัติน้ำดีตลอดระยะเวลาการเลี้ยง
จากรายละเอียดต้นทุนการผลิตของการเลี้ยงปลาโมงในกระชัง ทั้ง 4 อัตราความหนาแน่น พบว่าการเลี้ยงปลาโมงในกระชังที่อัตราความหนาแน่น 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร มีผลผลิตสูงสุด (282.67 กก./กระชัง) และมีจุดคุ้มทุนต่อการผลิตต่อรุ่นต่ำสุด (39.69 บาท) ผลตอบแทนต่อการลงทุน 101.56% และที่อัตราความหนาแน่น 150 ตัว/ลูกบาศก์เมตร ก็มีจุดคุ้มทุน (39.76 บาท) และผลตอบแทนต่อการลงทุน (101.22%) ที่ไม่แตกต่างกัน และต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปร (87.08-95.57%) และเป็นค่าอาหารเป็นส่วนใหญ่ (61.37-71.46%) ซึ่งต้นทุนส่วนใหญ่ที่เป็นต้นทุนผันแปรนั้นสอดคล้องกับงานวิจัยส่วนใหญ่ที่ มีการเลี้ยงปลาในกระชัง สมปองและคณะ (2536) การเลี้ยงปลานิลในกระชังในอ่างเก็บน้ำดอกกลาย จ.ระยอง พบว่าต้นทุนค่าอาหารเป็นต้นทุนที่มีค่าใช้จ่ายสูงสุดของต้นทุนทั้งหมด (63-76%) และจากการศึกษาของนิพนธ์และคณะ (2547) เรื่องการเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ระดับความหนาแน่นแตกต่างกันในบึงบอระเพ็ด พบว่าต้นทุนส่วนใหญ่เป็นต้นทุนผันแปร 87.77-92.11% และที่ความหนาแน่นสูงขึ้นคือที่ 50 ตัว/ตารางเมตร มีผลผลิตรวม รายได้สุทธิ กำไรสุทธิ และผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงกว่าการเลี้ยงปลาเทโพในกระชังที่ระดับความหนาแน่น 30 และ 40 ตัว/ตารางเมตร จากการศึกษาในครั้งนี้จะเห็นได้ว่าการเลี้ยงปลาโมงในกระชังให้ผลตอบแทนสูง มากคือ (69.32-101.56%)
ระดับความหนาแน่นที่เหมาะสมในการเลี้ยงปลาโมงในกระชังคือ ที่ความหนาแน่น 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร เพราะให้ผลตอบแทนต่อการลงทุนสูงสุด และมีจุดคุ้มทุนต่ำสุด (101.55% และ 39.6 บาท) และในการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงปลาโมงในกระชังในแม่น้ำโขงไม่ควรปล่อยใน อัตราเกิน 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร เพราะวิเคราะห์จากผลตอบแทนต่อการลงทุนแล้วไม่แตกต่างจากการเลี้ยงที่ระดับ ความหนาแน่นที่ 200 ตัว/ลูกบาศก์เมตร

1. บทนำ
ชื่อสามัญ Giant Fresh-Water Prawn ชื่อวิทยาศาสตร์ Macrobrachium rosenbergii (deMan)
เป็นสัตว์น้ำจืดที่ให้ผลผลิตเป็นอันดับ 7 ในปี 2539 ให้ผลผลิตทั้งประเทศ 5,589 ตัน ถิ่นกำเนิดแถบอินโด-แปซิฟิก แหล่งชุกชุม ลุ่มน้ำเจ้าพระยาบริเวณ จ.พระนครศรีอยุธยา บริเวณใกล้เคียง เพาะได้มากที่จังหวัด ฉะเชิงเทรา ตามลุ่มน้ำสำคัญและเขื่อน เช่น เขื่อนอุบลรัตน์ ทะเลสาบ สงขลา

2. ชีววิทยา
ลูกกุ้งวัยอ่อนจะอาศัยอยู่ในน้ำทะเลหรือน้ำกร่อย ความเค็ม 7-35 ppt ส่วนเมื่อโตเต็มวัย สามารถอาศัยในน้ำจืดได้
ก. รูปร่าง มี 3 ส่วน หัว ลำตัว หาง เป็นพวกไม่มีกระดูกสันหลัง กินอาหารซากเน่าสลายเป็นหลัก
ข. ลักษณะเพศ การผสมพันธุ์ แตกต่างของพ่อแม่กุ้งที่พร้อมผสมพันธุ์ ขนาด 10-20 ซม.(6-12 เดือน) ความดกของไข่ 100,000-200,000 ฟอง กุ้งตัวผู้จะมีขาเดินคู่ที่ 1 ที่เป็นก้าม ใหญ่กว่าตัวเมีย พบถุงน้ำเชื้อบริเวณโคนขาเดินคู่ที่ 5 และพบไข่โคนขาว่ายน้ำคู่ที่ 2 ตัวผู้มี Appendix ยื่นออกมา 2 อัน ตัวเมีย 1 อัน และในฤดูวางไข่กระดองตัวเมียมีสีแสดอมเหลืองของรังไข่ วางไข่ในช่วงฤดูฝนมาก จะลอกคราบ ก่อนวางไข่เปลือกแข็งใน 6-12 ชม. และผสมพันธุ์ใช้เวลาผสม 2-3 นาที ตัวเมียหงายท้องไข่ที่ผสมและจะไหลออกมา จากโคนขาเดินคู่ที่ 3 จะวางไข่หลังลอกคราบ 20-24 ชม. ไข่มีสีเหลืองอมแดง ขนาด 0.8 ม.ม. ติดกับท้องแม่กุ้ง 2-3 วัน ปีหนึ่งแม่กุ้งสามารถวางไข่ได้ 2-4 ครั้ง หลังจากออกเป็นตัวใช้ระยะพัฒนา ขั้นที่ 1-12 ระยะเวลาประมาณ 12 วัน ลูกกุ้งจะอพยพจากน้ำกร่อยสู่น้ำจืด


รูปที่ 2.7 วงจรชีวิตกุ้งก้ามกราม

3. การเพาะพันธุ์
แม่กุ้งที่มีไข่ติดบริเวณขาว่ายน้ำหน้าท้องสีน้ำตาลอมเทา ใส่บ่อซีเมนต์อัตรา 3-4 ตัว/ม2 ใส่น้ำ 30 ซม. ให้อากาศ ความเค็มน้ำ 10-15 ppt คัดขนาดลูกกุ้งในบ่อไม่ควรให้มีอายุต่างกัน 3 วัน หลังจากฟักเป็นตัว ล่องลอยหงายท้องจะลอกคราบ 11-12 ครั้ง แล้วจะคว่ำ

4. การอนุบาล
เริ่มให้อาหารเมื่อลูกกุ้งอายุ 3 วัน ให้ Rotifer และตัวอ่อน Atemia หรือไรแดงแทนผสมอาหารลูกกุ้งบดละเอียด ทำความสะอาด ด้วยด่างทับทิม 2-10 ppm หรือฟอร์มาลิน 25-100 ppm 3-6 ซม. 10-12 วัน ให้อาหารผสมผสมสมทบ มีการถ่ายเทน้ำทุกวัน ๆ ละ 50 % ก่อนอนุบาลในบ่อดินควรปรับความเค็มลงให้ใกล้เคียงน้ำจืด และทำการป้องกันเชื้อโรคในบ่อด้วยฟอร์มาลิน 30-100 ซีซี./ม3
ในบ่อดิน ปล่อย 16,000-26,000 ตัว/ไร่(10-25 ตัว/ม2) เลี้ยงนาน 2 เดือน คัดขนาด 4 ซม. ทุก ๆ 15 วัน นำเลี้ยงบ่อดิน ปล่อย 4,000-8,000 ตัว/ไร่
5. การเลี้ยง
ก. ในบ่อเลี้ยง ปล่อย 5-10 ตัว/ม2 ประมาณ 8,000 ตัว/ไร่
อาหารที่ให้ควรมีโปรตีน 25-35% สูตรที่นิยม ปลาเป็ด 50% รำละเอียด 20% ปลายข้าว 20% หัวอาหาร 5% ใบกระถิน เปลือกกุ้ง 5% ให้ 3-5% ปริมาณที่ได้
ข. ในคอก
นำลูกกุ้งอนุบาล ขนาด 4-7 ซม. คอกขนาด 1-3 ไร่ คอก 1 ไร่ รัศมี 22.5 เมตร ใช้อวนยาว 145 เมตร และเสา 58 ต้น อาหารได้อาหารผสมหรืออาหารเม็ด

การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามร่วมกับปลา
กุ้งก้ามกรามเป็นกุ้งน้ำจืดที่มีขนาดใหญ่ที่สุด พบได้ทั่วไปในแหล่งน้ำจืดธรรมชาติ และแหล่งน้ำกร่อยทั่วไป โดยรู้จักกันทั่วไปคือ กุ้งนาง กุ้งหลวง แม่กุ้ง ประมาณได้ว่ากว่าครึ่งหนึ่งของต้นทุนการเลี้ยงกุ้งก้ามกรามและปลาแบบพัฒนามา จากค่าอาหารที่ใช้เลี้ยง ประกอบกับในปัจจุบัน การบริโภคกุ้งก้ามกรามมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามจึงเป็นอาชีพที่ได้รับความสนใจของประชาชนทั่วไป กุ้งก้ามกรามกำลังเป็นสัตว์เศรษฐกิจตัวใหม่ ปัจจุบันปริมาณผลผลิตจากการเลี้ยงสัตว์น้ำ 240,000 ตัน สัตว์น้ำจืดที่สำคัญประกอบด้วยปลานิล 80,000 ตัน ปลาตะเพียน 50,000 ตัน ปลาดุก 40,000 ตัน ปลาจีน 27,000 ตัน ปลาทับทิม 12,000 ตัน กุ้งก้ามกราม 10,000 ตัน ปลาสลิด ปลาช่อนและอื่น ๆ 31,000 ตัน ในปี 2543 ประเทศไทยส่งกุ้งก้ามกรามแช่แข็งประมาณ 2,964 ตัน การเลี้ยงกุ้งก้ามกรามโดยวิธีอนุบาลก่อนแล้วปล่อยลงบ่อเลี้ยงจะให้ผลกำไร มากกว่า ขนาดที่เหมาะสมของลูกกุ้งก้ามกรามที่ปล่อยลงสู่บ่อเลี้ยงมีขนาด 5-8 เซนติเมตร อัตราการปล่อยคือ 30,000 ตัว/ไร่ ผลผลิตกุ้งก้ามกรามที่มีการอนุบาลก่อนจะให้ผลผลิตประมาณ 800 ก.ก./ไร่
การเลี้ยงสัตว์น้ำแบบรวม (polyculture) ในบ่อดินถือเป็นทางเลือกอย่างหนึ่งในการช่วยลดต้นทุนและลดความเสี่ยงจากการ ได้ผลผลิตที่หลากหลาย ทั้งนี้เนื่องจากในบ่อดินมีอาหารธรรมชาติที่เกิดจากอินทรีย์วัตถุ แร่ธาตุ และมีการสร้างอาหารจากขบวนการสังเคราะห์แสงของแพลงค์ตอนพืช ประกอบกับสัตว์น้ำที่เลี้ยงร่วมกันมีพฤติกรรมที่กินอาหารต่างกันและไม่ทำ ร้ายกัน ช่วยให้การใช้อาหารในบ่อได้ประโยชน์สูงสุด และช่วยป้องกันรักษาคุณภาพน้ำที่เกิดจากเศษอาหารที่เหลือในบ่อ ส่งผลให้สัตว์มีสุขภาพที่ดีและช่วยลดต้นทุนค่าอาหารการจัดการบ่อ และภาวะเสี่ยงต่อสินค้าเกษตรที่ไม่แน่นอน เพราะมีผลผลิตชนิดอื่นทดแทนตามภาวะที่ตลาดต้องการ ตัวอย่างความสำเร็จในทางปฏิบัติแล้วในสัตว์น้ำหลายชนิด เช่น คัดเลือกปลาที่กินอาหารแตกต่างกัน และไม่เป็นอันตรายซึ่งกันและกัน เช่น ปลากินพืช (เฉา ตะเพียนขาว และปลานิล) ปลากินแพลงค์ตอนพืช (ลิ่น) กินแพลงค์ตอนสัตว์ (ซ่ง) ปลากินซากพืช (ยี่สกเทศ นวลจันทร์เทศ) กินตัวอ่อนของแมลงตามก้นบ่อ(ไน) และปลาเฉาเป็นปลาที่อาศัยหากินบริเวณผิวน้ำ ปลาลิ่นจากระดับน้ำที่ลึกถัดลงมา ปลาซ่งระดับลึกจากปลาลิ่น เป็นต้น การเลี้ยงแบบรวมโดยพิจารณาชนิดปลาที่ตลาดต้องการ และปรับปรุงผลผลิตให้สูงขึ้นด้วยวิธีการเลี้ยงแบบพัฒนาโดยให้อาหารสมทบ ได้แก่ การเลี้ยงปลานิล สวาย ปล่อย 3 : 1 ตัว / 1 ม2 หรือใช้ปลาบึกแทนปลาสวาย แต่อัตราปล่อยปลาบึกควรลดลง เช่น 1 ตัว / 10 ม2 เนื่องจากปลาบึกจะสามารถส่งขายตลาดได้ควรมีน้ำหนักกว่า 15 กก. ใช้เวลาเลี้ยงนาน 4 ปี การแนวทางการนำกุ้งก้ามกรามมาเลี้ยงรวมกับปลานิลและปลาบึกจะช่วยเพิ่ม ประสิทธิภาพการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ต่อเวลา เพิ่มโอกาสทางการตลาดและรายได้ให้กับเกษตรกรรายย่อยต่อไปได้ในอนาคต

การเลี้ยง
หลักการสัตว์น้ำทั้งสามชนิดต้องไม่แย่งอาหาร ไม่แย่งที่อยู่ และไม่กินกันเอง สามารถประหยัดต้นทุนค่าอาหารและเพิ่มผลผลิตต่อหน่วยพื้นที่ การปล่อยกุ้งก้ามกรามควรปล่อยขนด 2-3 กรัมขึ้นอายุ 2 เดือนอัตราปล่อย 10-15 ตัว/ม2 ให้อาหารกุ้งโปรตีน 40 % เดือนที่ 1 อัตรา 10 % เดือนที่ 2 อัตรา 5% เดือนที่ 3-4 ให้อัตรา 3 % ของน้ำหนัก ตัว การปล่อยปลานิลควรปล่อยขนาด 2-3 กรัม หรืออายุ 2 เดือน อัตราปล่อย 4 ตัว /ม2 ให้อาหารโปรตีน 25 % อัตรา 2 % น้ำหนักตัว/วัน หรืออาจงดอาหารเนื่องจากปลานิลสามารถหาอาหารธรรมชาติ เช่น สาหร่าย แพลงค์ตอนในน้ำ เป็นอาหารได้เอง การปล่อยปลาบึกควรปล่อยขนาด 30 กรัมหรือมีอายุมากกว่า 6 เดือน อัตราปล่อย 1 ตัว/ 5-10 ม2 ให้อาหารโปรตีน 30 % อัตรา 2 % น้ำหนักตัว/วัน แต่ต้องสังเกตและวิเคราะห์การกินอาหาร และปรับปริมาณตามสภาพการเจริญเติบโต อัตราการรอดของกุ้งและปลา เพื่อประหยัดค่าอาหาร นอกจากนี้ต้องตรวจสอบคุณภาพน้ำให้อยู่ในปริมาณที่เหมาะสม เช่น สีของน้ำควรเป็นน้ำตาลอมเขียวแสดงถึงการมีอาหารธรรมชาติที่ดี ความโปรงใสของน้ำมีค่าความลึก 30- 40 ซม. ค่าปริมาณออกซิเจนในน้ำ 5-8 มก/ลิตร:อุณหภูมิ 25-30 องศาC0:pH 7-9:8: ความเป็นด่าง 200-250 มก/ลิตร แอมโมเนีย <0.02 มก/ลิตร เป็นต้น การปรับปรุงคุณภาพน้ำสามารถทำได้โดยการถ่ายเทน้ำเป็นประจำ การให้อากาศโดยเครื่องตีน้ำหรือปั๊มอากาศโดยเฉพาะเวลาเช้าตรู่

ตาราง 2.1

ตาราง 2.2


1. คำนำ
พันธุ์กบที่นิยมเลี้ยงส่งขายต่างประเทศ เช่น ฮ่องกง มาเลเซีย ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และเยอรมัน พบว่าสหรัฐสั่งกบเข้าประเทศปีละ 3 ล้านกิโลกรัม พ่อแม่กบบลูฟร็อกคู่ละ 600-1,000 บาท
กบนา Rana tigerina, Daudin ขนาดค่อนข้างใหญ่ 4 ตัว/ก.ก.
กบนา Rana vugulosa, Wiegmann ขนาดเล็ก 6 ตัว/ก.ก.
กบภูเขา, เขียดแลว Rana blythii, Boulenaer ขนาด 3-4 ตัว/ก.ก.
กบฑูต, กบดง R. macrodon, Kuhl ขนาดใหญ่ 1-2 ตัว/ก.ก.
กบบูลฟร็อก R. catesbeiana, Show ขนาดใหญ่ 1-2 ตัว/ก.ก.

2. ชีววิทยา
กบนา ถิ่นกำเนิดแถบเอเชีย ยกเว้นกบบูลฟร็อก แคลิฟอร์เนีย สหรัฐ กบนาไข่ 500-600 ฟอง บูลฟร็อก 10,000-20,000 ฟอง วางไข่เดือน ก.พ. - ก.ค. กบนาโตเต็มวัย 12-18 เดือน (200 - 300 กรัม) กบนามีชื่อสามัญว่า Common lowland Frog ชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Rana rugulosa เป็นกบที่มีผู้นิยมนำไปประกอบอาหารบริโภคมากกว่ากบพันธุ์อื่น ๆ เนื่องจากมีรสชาติดี เลี้ยงและดูแลรักษาง่าย มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็ว จำหน่ายได้ราคาคุ้มทุน โดยมีตลาดทั้งในและนอกประเทศรองรับ
กบมีนิสัยที่ดุร้ายและชอบรังแกกัน หากเลี้ยงกบที่มีขนาดแตกต่างกันแล้วจะทำให้กบที่มีขนาดใหญ่รังแกและกัดกินกบ เล็กเป็นอาหาร นอกจากนี้กบยังเป็นสัตว์ที่ชอบอิสระเสรี เมื่อสภาพที่เลี้ยงโปร่ง มันจะกระตือรือล้นที่จะดินหาทางออกไปสู่โลกภายนอกจนกระโดดชนจนบาดเจ็บและ เป็นแผล ส่งผลให้ไม่กินอาหาร

3. การเลือกสถานที่เลี้ยง
- เป็นที่อยู่ใกล้บ้าน สะดวกต่อการดูแลรักษา ป้องกันคนขโมย และป้องกันศัตรูกบ
- เป็นที่สูง ที่ดอน ป้องกันน้ำท่วม
- พื้นที่ราบเสมอ สะดวกต่อการสร้างคอกและแอ่งน้ำในคอก
- ใกล้แหล่งน้ำเพื่อสะดวกต่อการถ่ายเทน้ำ
- ห่างจากถนน และแหล่งที่มีเสียงดังอึกทึก เพื่อป้องกันเสียงรบกวน กบจะได้โตเร็ว

4. การเพาะขยายพันธุ์
กบที่ควรนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์ควรมีอายุมากกว่า 1 ปี ร่างกายสมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีบาดแผล และโรครบกวน โดยทั่วไปกบนาเพศผู้จะมีขนาดเล็กกว่าเพศเมียโดยธรรมชาติกบวางไข่ปีละ 2 ครั้ง เดือน 6 และเดือน 12 ชอบวางไข่ในที่ร่ม ชุ่มชื้น เงียบสงบ มุมอับ และน้ำตื้น มีพันธุ์ไม้ และสาหร่าย และมีกลิ่นของไอออน ฟอสเฟต และคาร์บอเนต
ก. การเลี้ยงและคัดเลือกพ่อ-แม่พันธุ์ ควรมีขนาด 300-700 กรัม ควรเลี้ยงอัตรา 20 ตัว/ม2 มีอาหารดีและสมบูรณ์ กบเพศผู้จะมีกล่องเสียงอยู่ใต้คางทั้ง 2 ข้าง ขากรรไกรมีลักษณะวงกลมคล้ำ เมื่อถึงฤดูผสมพันธุ์กบตัวผู้จะส่งเสียงร้อง ทำให้เห็นกล่องเสียงพองโปนและใส และตรงส่วนข้างลำตัวจะมีสีเหลืองอ่อน หรือมีสีเหลืองที่ใต้ขาเห็นได้อย่างชัดเจน สำหรับในกบเพศเมียจะไม่มีกล่องเสียง โดยในฤดูผสมพันธุ์ส่วนท้องจะขยายใหญ่ และตรงส่วนข้างลำตัวจะมีความสากทั้ง 2 ข้าง สามารถใช้นิ้วสัมผัสได้ และเมื่อไข่ออกจากท้องไปแล้ว ปุ่มสากเหล่านี้ก็จะหายไป
ฤดูการผสมพันธุ์ กบจะเริ่มจับคู่ผสมพันธุ์ในฤดูฝน โดยการเพาะควรเลือกกบที่จับคู่กันแล้วในบ่อเลี้ยง ถ้าเปลี่ยนคู่กบจะไม่ผสมพันธุ์กัน
บ่อผสมพันธุ์ เป็นบ่อซีเมนต์หรือบ่อส้วมกลม หรือกระชังมุ้งไนล่อนก็ได้โดยภายในอาจใส่ผักบุ้ง ผักตบชวาต้นเล็ก ๆ และระดับน้ำไม่ควรสูงกว่า 5 ซม. เพื่อให้ตัวเมียเบ่งไข่โดยใช้แรงจากขาหลังยันพื้นจนหัวทิ่มน้ำได้สะดวกและ ปล่อยไข่ได้หมดนอกจากนี้ควรเพิ่มอากาศเพื่อเพิ่มอัตราการฟักให้มากขึ้น
คัดพ่อแม่พันธุ์ 1 คู่ ต่อ 1 ตร.ม. โดยอาจฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่มีชื่อว่า Suprefact ในอัตราเพศเมีย 30 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม และเพศผู้ 20 ไมโครกรัมต่อกิโลกรัม ร่วมกับยาเสริมฤทธิ์ Motilium-M อัตรา 5 มก./กก. แล้วปล่อยลงในบ่อผสมพันธุ์ที่เตรียมไว้และหลอกพ่อแม่พันธุ์กบโดยการทำน้ำพ่น ฝอยช่วยอีกทางหนึ่ง หากแม่พันธุ์ท้องมีความสมบูรณ์มากและจับคู่กับเพศผู้ในบ่อแล้วอาจไม่จำเป็น ต้องฉีดฮอร์โมนกระตุ้นก็ได้ ที่สำคัญเมื่อปล่อยให้ผสมพันธุ์กันแล้วไม่ควรไปรบกวน หรือทำให้กบตกใจเพราะจะทำให้กบไม่ผสมพันธุ์โดยกบจะผสมพันธุ์วางไข่ในเวลา ประมาณ 04.00 – 06.00 น. โดยเมื่อวางไข่เสร็จแล้วให้ตักเอาพ่อและแม่พันธุ์ออกป้องกันไข่แตก
ข. การผสมพันธุ์วางไข่ ใช้บ่อขนาดเล็ก 4-16 ม2 กบเริ่มผสมพันธุ์วางไข่เมื่อมีฝน ฤดูฝนปล่อยกบ ผู้ : เมีย 2 : 10 จะมีการร้องก่อนผสมพันธุ์ มีสาหร่าย ที่น้ำลึก 20-25 ซม. ควรปูที่ตื้นลึก 10% ช่วงผสมควรงดอาหาร จะวางไข่ในเวลากลางคืน ตัวเมียวางไข่เป็นชุด ๆ ละ 50 ฟอง 20 ครั้ง ตัวผู้อาจผสมตัวเมียได้คราวละ 1-2 ตัว นอกฤดูผสมพันธุ์ใช้การฉีดน้ำปล่อยน้ำสลับกับตากบ่อ
ลักษณะของไข่กบมี 2 สี ด้านบนสีดำ ด้านล่างสีขาว ขนาด 1-1.7 ม.ม. วุ้นหุ้มไข่ขนาด 4-9 ม.ม. ส่วนอสุจิมีขนาดเล็กคล้ายของสัตว์น้ำทั่วไป
ค. การฟักไข่ ควรเป็นบ่อคอนกรีตขนาด 1.5x3x0.5 ม. ทำความสะอาดบ่อฟอร์มาลิน 30 ซีซี./ม3 (30 ppm) หรือยาเหลือง 15 ppm หรือด่างทับทิม 10 ppm แช่ 20 นาที แล้วเติมน้ำสะอาด เต็มน้ำลึก 3-4 นิ้ว ใส่ยาเตตร้าไซคลิน 1:2,000 ใส่ไข่ 25,000 ฟอง รวบรวมไข่ตอนเช้า ให้อากาศ ถ่ายน้ำทุกวัน 50% จะฟักเป็นตัวภายใน 3 วัน (21-24 ํC) ขนาดยาว 4 ม.ม. เริ่มให้อาหารอายุ 6 วัน

4. การอนุบาลลูกอ๊อด
ขนาดบ่อคอนกรีต 1.5x3x0.5 ม. ได้ 20,00 ตัวใส่พันธุ์ไม้ บังแสงบางส่วน และให้มีแพรองรับเมื่อลูกอ๊อด กบเล็ก อาหารให้ตัวอ่อนสัตว์น้ำเล็ก ผักต้ม ปลาบดต้มผสมรำละเอียด หรืออาหารเม็ดเลี้ยงสุนัขปั้นเป็นก้อนลอยน้ำให้กิน ระบายน้ำทุก ๆ 5 วัน ภายใน 25:30 วัน บลูฟร็อก 50-60 วัน หางจะหดหายขาหลังเกิด เป็นตัวเต็มวัย 50-70 วัน ลูกกบที่อยู่บนบกชอบอาหารมีชีวิต อาจผสม อาหารเม็ดหรือเศษปลาสับ ควรมีการคัดขนาดแยกเลี้ยง ช่วยให้อัตราการรอดสูง 80% การกินอาหารของลูกกบระยะนี้ค่อนข้างยาก มีผลต่อการเจริญเติบโต
ไข่กบจะฟักเป็นตัวอ่อนใช้เวลา 2 – 3 วัน โดย 2 วัน แรกไม่ต้องให้อาหาร เพราะลูกอ๊อดจะได้อาหารจากถุงไข่แดง หลังจากนั้นจึงเริ่มให้อาหารเช่น ลูกไร ไข่แดงต้ม รำละเอียด ไข่ตุ๋น หรือจะให้อาหารปลาดุกชนิดเม็ดลอยน้ำ ก็ได้ โดยการให้ควรให้พอดีโดยสังเกตการกินว่ากินหมดหรือไม่เพื่อป้องกันน้ำเสีย และเปลี่ยนถ่ายน้ำบ่อยครั้งเพื่อให้เจริญเติบโตรวดเร็ว โดยลูกอ๊อดจะมีอายุประมาณ 20 –30 วัน จึงจะเป็นตัวเต็มวัย ในช่วงนี้จึงควรหาไม้กระดาน โฟมหรือวัสดุอื่น ๆ เพื่อให้ลูกกบขึ้นไปอยู่ ระดับน้ำประมาณ 30 ซม. หรือ 2 - 3 นิ้ว หมั่นคัดขนาดลูกอ๊อดเพื่อให้อัตรารอดสูง


5. การเลี้ยง
ก. การเลี้ยงลูกกบ บ่อ 3x3x0.8 ม. 150-200 ตัว/ม2 ชอบลูกกุ้ง ลูกปลา ตัวอ่อน แมลง ไส้เดือน อาจใช้ปลายข้าวต้มสุกผสมอาหารลูกไก่หรืออาหารเป็ด ถ่ายเทน้ำทุกอาทิตย์ การโต 6-10 กรัมใน 1 เดือน
ข. การเลี้ยงกบขนาดตลาด ชานบ่อควรมี 2 ระดับ ขั้นบันได ขนาด 3x6x1.2 ม. หรือ 4x8x1.2 ม. หรือบ่อกลมรัศมี 3 ม. มีการระบายน้ำเข้า-ออก พื้นเรียบ ปล่อย 50-100 ตัว/ม2 มีบังแสงบางส่วน มีน้ำลึก 10 ซม. อาหารให้อาหารผสมหรืออาหารเม็ดปลาดุกหรือสุนัขหรืออาหารกบ ให้วันละ 2 ครั้งเช้าเย็น คัดขนาดเดือนละครั้ง ถ่ายเทน้ำ กบ 1 ก.ก. ใช้ปลาเป็น 4.5-6 ก.ก. 4 เดือน 200-240 กรัม บลูฟร็อก ปล่อย 8-9 กรัม 50 ตัว/ม2 ปลาเป็ด 7 เดือน 128-460 กรัม FCR 1:5 การจำศีลของกบพบมากในฤดูหนาว กระทบต่อการเติบโตและโรค พบมากในการเลี้ยงในบ่อดิน
ค. การจับและลำเลียง ก่อนจับควรอดอาหาร 1 วัน ใส่กล่องหรือกระสอบพลาสติกใส่ฟองน้ำ ถุง 8x6 นิ้ว กบขนาด 1 นิ้ว ใส่ 50 ตัวได้
ง. โรคส่วนมากเกิดจากน้ำเสีย พยาธิ และเชื้อแบคทีเรีย
เมื่อตัวโตเต็มวัยจะอาศัยอยู่บนบกหรือวัสดุอื่น ๆ ที่ลอยน้ำ ควรมีการคัดขนาดนำไปเลี้ยง โดยอาหารที่ให้กินหากฝึกให้กินอาหารเม็ดมาตลอดก็ไม่ต้องฝึกมาก และสามารถให้อาหารที่มีชีวิตเสริมได้เช่น แมลง ไส้เดือน ปลวก หนอน ลูกปลา ลูกกุ้ง ฯลฯ เป็นต้น โดย อัตราการปล่อยเลี้ยง ควรอยู่ที่ 50 – 70 ตัว/ตารางเมตร ใช้ระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 4 – 5 เดือน จะได้ขนาด 4 – 5 ตัว/กก. โดยควรมีอัตราการแลกเปลี่ยนอาหาร 3.4 กก. ได้เนื้อกบ 1 กก

1. บทนำ
กุ้งกุลาดำ Penaeus monodon เป็นสัตว์น้ำที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจของประเทศเป็น อย่างมาก เนื่องจากสามารถผลิตและเลี้ยงได้เป็นอันดับหนึ่งของโลก ในปัจจุบันผลผลิตมากกว่า 2.4 แสนตันต่อปี พื้นที่เลี้ยง 5 แสนไร่ และส่งออกทำรายได้เข้าสู่ประเทศปีละกว่า 6 หมื่นล้านบาท สร้างอาชีพให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น อุตสาหกรรม ห้องเย็น การแปรรูปอาหาร อุตสาหกรรมอาหารสัตว์ การขนส่ง เป็นต้น การเลี้ยงกุ้งเดิมเลี้ยงแบบธรรมชาติ คือ ปล่อยให้น้ำทะเลเข้ามาในนากุ้ง แล้วให้กุ้งที่ติดมา เจริญเติบโตโดยปราศจากการให้อาหาร เมื่อโตขึ้นจึงจับขายซึ่งได้ผลผลิตน้อยไม่แน่นอน จึงเปลี่ยนมาเลี้ยงแบบพัฒนาเมื่อ 5-10 ปีที่แล้ว คือมีการเพาะ ลูกกุ้งจากพ่อ-แม่กุ้งจากการเลี้ยงและจับมากจากธรรมชาติ นำลูกกุ้งที่เพาะได้มาเลี้ยงในบ่อ มีการจัดการที่ดี ให้อาหาร ถ่ายเทน้ำ ให้อากาศ อย่างสม่ำเสมอ ได้ผลผลิตเพิ่มขึ้นและผลตอบแทนสูง จึงมีการเลี้ยงมากขึ้น ในปัจจุบันมีพื้นที่ที่เหมาะสมกับการเลี้ยงได้แก่ บริเวณชายฝั่งตะวันออก ภาคใต้ฝั่งอ่าวไทยและอันดามัน หรือบริเวณที่นาดินเค็ม เสื่อมสภาพหลังแนวป่าชายเลนที่สามารถเก็บกักน้ำได้

2. ชีววิทยา
กุ้งกุลาดำ เป็นกุ้งทะเลที่ขนาดใหญ่ ลำตัวมีสีแดงอมน้ำตาล ลำตัวน้ำตาลเข้ม มีลายบาดขวางด้านหลังประมาณ 9 ลาย กรีด้านบนมี 6-8 ซี่ พบทั่วไปในทะเลแถบเอเชีย ประเทศไทยพบทั่วไปฝั่งอ่าวไทย พบมากบริเวณฝั่งชุมพร นครศรีธรรมราช ฝั่งมหาสมุทรอินเดียพบมากบริเวณภูเก็ตและระยอง ชอบอาศัยพื้นที่ดินทรายปนโคลน ปรับตัวได้ดีในสภาพน้ำกร่อย จนเกือบจืดได้ สามารถเลี้ยงในบ่อได้ดี การเจริญเติบโต อายุ 6 เดือนมีขนาด ประมาณ 70 กรัม ยาว 20 ซม. มีความแข็งแรงเลี้ยงง่ายกว่ากุ้งทะเลชนิดอื่น กินอาหารตามพื้นทะเลเศษซากสัตว์หน้าดิน หรืออาหารเม็ด ชอบกินอาหารเวลากลางคืนมากกว่ากลางวัน

3. การเพาะฟักและอนุบาล
การเพาะพันธุ์กุ้งทะเล พ่อ-แม่กุ้ง เป็นสิ่งสำคัญมาก นิยมรวบรวมแม่กุ้งจากธรรมชาติในทะเลลึก 20-30 เมตร ส่วนใหญ่จะมีไข่แก่ที่ได้รับการผสมแล้วมีน้ำเชื้อติดมากับตัวเมีย สังเกตได้จากอวัยวะเพศของตัวเมีย อยู่บริเวณโคนขาเดินคู่ที่ 4 , 5 เรียกว่า Thylecum อวัยวะเพศตัวผู้มีถุงน้ำเชื้อติดอยู่บริเวณขาเดินคู่ที่ 5 เรียกว่า Petasma แล้วนำมาเร่งให้ไข่สุก โดยบีบก้ามตากุ้งควรสลับข้างเป็นการป้องกัน ไม่ให้ก้ามตากุ้งสร้างฮอร์โมน Gonad Inhibiting ที่ค่อยยับยั้งการสุกของไข่ ทำให้กุ้งมีไข่แก่เร็วขึ้นนำไปปล่อยในบ่อ 3 วันไข่จะสุกและวางไข่ ในบ่อฟักลูกกุ้งขนาด 5-30 ตัน
การอนุบาล ลูกกุ้งมีวงจรชีวิตโดยเริ่มจากฝักเป็นตัวระยะ Nauplius อัตราการปล่อยในระยะนี้ประมาณ 5 หมื่น - 1 แสนตัว ต่อน้ำ 1 ตัน ขนาด 3-5 ตัน ลึก 60-80 ซม. ความเค็ม 25-30 ppt น้ำที่สะอาด ผ่านการกรอง ฆ่าเชื้อแล้ว ลูกกุ้งจะลอกคราบ 6 ครั้งเข้าสู่ระยะ Zoea จะเริ่มกินอาหารพวก Diatom ได้แก่ Chaetoceros Skeletonema หรือ Tetraselmis เมื่อเข้าสู่ระยะ Mysis เปลี่ยนอาหารเป็น Rotifer ลอกคราบ 3-4 ครั้ง เข้าสู่ระยะ Post larva (P1) ที่อัตราการเลี้ยงอยู่ระหว่าง 1-2 หมื่นตัว/ตัน เริ่มให้อาหารอาร์ทีเมียร์ผสมอาหารสดบ้าง เช่น หอยบดไข่ตุ๋น อาหารเทียม (อาหารผง) ใช้เวลาเลี้ยงจนถึงระยะ P15 มีการลอกคราบเร็วขึ้น จำเป็นต้องมีการดูดเศษอาหารและถ่ายเทน้ำ และเริ่มปรับลดความ เค็มลง 15-20 ppt เพื่อให้ใกล้เคียงกับในบ่ออนุบาลหรือบ่อเลี้ยง ลูกกุ้งระยะนี้สามารถนำไปเลี้ยงต่อในบ่อหรืออนุบาลต่อจากระยะ P15-P30 หรือ P60 ได้ (รูปที่ 2.8)
การอนุบาลในบ่อดิน จาก P15 - P30 ปล่อยลูกกุ้ง 3 พัน/ม2 ในกระชังบ่อดิน จาก P15 - P45 ใช้กระชังมุ้งไนลอนเบอร์ 20 ปล่อย 1 พันตัว/ม2 กั้นคอกในบ่อดินจากระยะ P15-60 ปล่อย 100 ตัว/ม2 การจัดการให้อาหารหอยแครงบด ปลาหมึกบดผสมอาหารสำเร็จรูป จำเป็นต้องคัดขนาดลูกกุ้ง ดูดของเสียให้อากาศถ่ายเทน้ำ

รูปที่ 2.8 วงจรชีวิตกุ้งกุลาดำ

4. การเลี้ยง
บ่อกุ้งที่เหมาะสมต่อการเลี้ยงขนาด 4-5 ไร่ ใช้เครื่องตีน้ำ 4-6 ตัว ในฟาร์มเลี้ยง จำเป็นต้องมีอ่างเก็บน้ำ รางส่งน้ำ รางระบายน้ำ สามารถปล่อยลูกกุ้งขนาด P15 ลงเลี้ยงได้ อัตราการปล่อย 20-40 ตัว/ม2 หรือประมาณ 2 แสนตัว/บ่อ ถ้าปล่อยขนาด P45 หรือ P60 จำเป็นต้องลดอัตรา การปล่อยลง ก่อนปล่อยกุ้งต้องเตรียมบ่อที่ดี การตากให้แห้ง การเอาขี้เลนออก ใส่ปุ๋ยเคมี 15-15-15 จำนวน 5 ก.ก./ไร่ การหว่านปูนขาว 200-500 ก.ก./ไร่ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความเป็นกรดของดิน ปุ๋ยคอกขี้ไก่แห้ง 50-100 ก.ก./ไร่ การจำจัดศัตรู เช่น ปู ปลา โดยใช้กากชา
4.1. การปล่อยกุ้งเล็กวันแรกไม่ให้อาหาร 1 วัน อาหารผสมลูกกุ้งวัยอ่อน ผสมน้ำสาดให้ทั่วบ่อ แยกอาหาร 1 กระป๋องนมใส่ยอ เพื่อตรวจการกินอาหารของกุ้ง อาหารที่ให้ต่อวัน 20-25 % ของน้ำหนักกุ้ง ถ้ากุ้ง 1 แสนตัว น้ำหนัก 2 กิโลกรัม ให้อาหารวันละ 0.5 ก.ก./วัน ถ้าป้องกันการสูญเสียอาจให้ 2 ก.ก./วัน แบ่งเป็น 5 ครั้ง เวลา 07:00, 11:00, 16:00, 21:00, และ 01:00 น.
ควรให้อาหารเสริมในระยะ 3-5 วันแรก ระดับน้ำในบ่อลึก 0.5-1 เมตร ค่อย ๆ เพื่อความลึกให้อากาศมีการถ่ายเทน้ำทุก ๆ สัปดาห์ ครั้งละ 20 % ระยะนี้ใช้เวลาเลี้ยง 1-2 เดือน
4.2. การเลี้ยงกุ้งรุ่นและใหญ่ อาหารที่ให้เป็นอาหารเม็ดตามขนาดอาหารเสริมปลาบด หรือเพิ่มหอยบด จำเป็นต้องมียอขนาด 0.5 x 0.5 เมตร ตรวจสอบการกินอาหารของกุ้ง ให้วันละ 3-5 ครั้ง แบ่งกลางคืน 60 % กลางวัน 40 % การให้สาดอาหารให้ทั่วบ่อ โดยใช้เรือสาดอาหารให้ห่างจากชานบ่อพอสมควร ตรวจสอบยอหลังให้อาหารแล้ว 1-1.5 ชม. บ่อ 4-5 ไร่ ควรมี 4-5 ยอ ปริมาณอาหารต่อยอ 1 กำมือ ถ้าอาหารหมดแสดงว่ากินพอดี ถ้าเหลือให้ลดอาหาร ถ้าพบกุ้งมีลักษณะผิดปกติ เช่น สีดำมีเมือกติดตามตัวต้องถ่ายเทน้ำ เพิ่มอากาศ ลดอาหาร กุ้งลอกคราบจะกินอาหารลดลง การปรับอาหารควรทำทุก ๆ 10 วัน ประมาณการให้ 2 เดือนแรก 20 % ของน้ำหนัก/วัน เดือนที่ 3 10% เดือนที่ 4 10% เวลาให้ให้อาหารกุ้ง 06-07, 10-11, 14-15, 17-18 และ 22-23 น. ตรวจคุณภาพน้ำที่จำเป็นเช่น ความโปร่งใส 50-60 ซม. ค่าออกซิเจน 5-8 ppm ความเป็นกรด-ด่าง (pH) 6.5-9 ความเค็ม 15-25 อุณหภูมิ 18-20 Cํ ไฮโดรเจนชัลไฟท์ ไม่เกิน 1.3 ppm. แอมโมเนียไม่เกิน 1.6 ppm การรักษาคุณภาพน้ำควรถ่ายเทน้ำทุก ๆ 2-4 วันครั้งละ 20 %

5. การเจริญเติบโตและผลผลิต
กุ้ง P15 น้ำหนักเฉลี่ย 0.01 กรัม เมื่อเลี้ยงนาน 1 เดือน ควรมีน้ำหนัก 2-4 กรัม 2 เดือนน้ำหนัก 10-15 กรัม 3 เดือน น้ำหนัก 20-25 กรัม 4 เดือน 30-35 กรัม ผลผลิต 1-1.5 ตัน/ไร่ อัตราการรอดประมาณ 75 % อัตราเปลี่ยนอาหารเป็นเนื้อ 1.5-2

6. การเลี้ยงในสภาพน้ำความเค็มต่ำ 0.5-10 ppt ร่วมกับเลี้ยงปลานิล
เริ่มได้รับความนิยมและเลี้ยงมากแถบ จังหวัดฉะเชิงเทรา สุพรรณบุรี นครปฐม เนื่องจากสภาพพื้นที่เดิม เช่น บริเวณ สมุทรสาคร สมุทรสงคราม สมุทรปราการ ไม่สามารถเลี้ยงกุ้งได้ เพราะสภาพเสื่อมโทรม ปัญหามลภาวะ คุณภาพน้ำไม่ดี และ ปัญหาโรคที่เกิดขึ้นมาก การเลี้ยงโดยทั่วไปคล้ายกับการเลี้ยงในน้ำเค็ม 15-25 ppt แต่มีความแตกต่างบ้าง เช่น อัตราการปล่อยผลผลิต คุณภาพ และที่ต้องระวังพิจารณา คือ ผลกระทบของความเค็ม

1. คำนำ
หอยนางรมที่นิยมเลี้ยงมี 2 พันธุ์ ได้แก่ หอยนางรมพันธุ์เล็ก และพันธุ์ที่เรียกว่า หอยตะโกรม Crassostrea belcheri นิยมเลี้ยงกันมาก เช่น ที่สุราษฏ์ธานี นครศรีธรรมราช ชุมพร ระยอง ชลบุรี จันทบุรี เป็นต้น ผลผลิตในปี 2539 23,420 ตัน ผลผลิต เฉลี่ยต่อไร่ ประมาณ 2,900 ก.ก.

2. ชีววิทยา
เป็นหอยสองฝา (Bivalves) มีการผสมพันธุ์ภายนอก แล้วพัฒนาเป็นลูกหอย วัยอ่อนซึ่งสามารถว่ายน้ำได้ ดำรงชีวิตเป็นพวกแพลงค์ตอนจนกระทั่งถึงวัยเกาะวัสดุ (Setting) ลูกหอยเมื่อเกาะวัสดุแล้วจะเกาะอยู่กับที่ตลอดชีวิต โดยใช้เปลือกซิกซ้ายยึดติดกับวัสดุในน้ำ การกินอาหารโดยการกรอง ขบวนการกรองของหอย 2 ฝา จะมีประสิทธิภาพก็ต่อเมื่อปริมาณน้ำที่ไหลผ่านเข้า Mantle Cavity มากพอและตัวหอยยู่ในน้ำตลอดเวลา ดังนั้นเราจะพบว่าหอยที่เลี้ยงอยู่ในน้ำตลอดเวลาจะมีการเจริญเติบโตดีกว่า หอยที่อยู่ระดับน้ำขึ้น-น้ำลง

การพัฒนาตัวอ่อนของหอยตะโกรม
Fertilized egg------------------> Trochophore larvae-------------------> D shaped larva
(40-52 ไมครอน) (5-7 ชม.) (50-55 ไมครอน) (15-18 ชม.) (55-70 ไมครอน)(11-13 วัน)
Setting <------------------------Eye larva <--------------------(13-17 วัน)------------Umbo
(320-360 ไมครอน) (280-320 ไมครอน) (80-100 ไมครอน)

รูปที่ 2.9 วงจรชีวิตของหอยนางรม

3. การเพาะพันธุ์หอยตะโกรม
ก่อนอื่นต้องนำพ่อแม่พันธุ์มาตรวจดูความสมบูรณ์ของไข่และน้ำเชื้อ โดยสุ่มมาผ่าดูอวัยวะเพศ สีของ Gonad จะมีสีครีมทั้งตัวผู้และตัวเมีย ไข่ที่เจริญเต็มที่จะกลม น้ำเชื้อว่ายน้ำได้แข็งแรง ถ้าไข่และน้ำเชื้อไม่แข็งแรงต้องทำการขุนพ่อแม่พันธุ์ สภาพที่สร้างโรงเพาะพันธุ์ อยู่ใกล้แหล่งที่สะอาด ความเค็ม 25-30 ppt

3.1. ระบบน้ำ
น้ำทะเล ? ถังตกตะกอน ? sand filter ? ถังเก็บน้ำ ? เครื่องกรองละเอียด ?
บ่อพ่อ-แม่หอย (ไม่เกิน 5 ไมครอน) ?
?
บ่อเพาะพัก ? บ่อพักน้ำ ? เครื่อง U.V. ? ? ?
บ่ออนุบาล

3.2. การขุนพ่อแม่พันธุ์ นำพ่อแม่มาเลี้ยงในกระบะไม้กรุตัวอวนแขวนไว้ในบ่อดินหรือคลองส่งน้ำที่มีการ ถ่ายเทน้ำและควรนำพ่อแม่พันธุ์มาเลี้ยงให้สมบูรณ์ในถังหรือกระบะและให้อาหาร เสริมซึ่ง ได้แก่ แพลงค์ตอนพืช ประมาณ 1-3 สัปดาห์
3.3. การกระตุ้นพ่อแม่พันธุ์ให้ปล่อยน้ำเชื้อและวางไข่ พ่อแม่พันธุ์หอยมาทำความสะอาด ขัดล้างสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ ตามเปลือกออก นำมาใส่ในกระบะทิ้งไว้ 12-15 ชม. (1 คืน) โดยไม่ใส่น้ำ เช้าวันรุ่งขึ้นทำการเพาะโดยเปิดน้ำทะเลที่อุณหภูมิ 34-35 ํC ไหลผ่านกระบะ 1-2 ชม. สลับกับน้ำอุณหภูมิปกติ ทำประมาณ 3 ครั้ง จนกระทั่งหอยปล่อยน้ำเชื้อซึ่งมีลักษณะเป็นน้ำสีขุ่นขาว เป็นสาย และปล่อยไข่ซึ่งมีลักษณะเป็นเม็ดเล็ก ๆ ปล่อยออกมาเป็นจังหวะ จึงแยกตัวผู้และตัวเมียออกจากกัน ในภาชนะคนละใบ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดภาวะ Polyspermy คือ ไข่ 1 ใบถูกผสมโดยน้ำเชื้อหลาย ๆ ตัว ซึ่งจะทำให้ไข่มีการเจริญเติบโตผิดปกติ จากนั้นกรองสิ่งสกปรกออกโดยใช้ตะแกรงขนาด 70-90 ไมครอน ไข่มีขนาด 50 ไมครอน จะลอดผ่านได้ ส่วนน้ำเชื้อมีขนาดเล็กมากให้ใช้ตะแกรง 30 ไมครอนกรองสิ่งสกปรกออก สุ่มนับน้ำเชื้อและจำนวนไข่แล้วจึงผสมไข่กับน้ำเชื้อเข้าด้วยกัน ในถังขนาด 20-25 ลิตร ทิ้งไว้ 5-10 นาที จากนั้นแบ่งลงในถังเลี้ยงให้มีความหนาแน่นประมาณ 10-15 ใบต่อมิลลิลิตร ให้อากาศเบา ๆ ไข่ที่ได้รับการผสมจะพัฒนาเป็นตัวอ่อนต่อไป

4. การอนุบาลลูกหอยตะโกรม
ถังอนุบาลควรมีขนาด 500 ลิตรขึ้นไป วันรุ่งขึ้นหลังจากทำการผสมพันธุ์ ลูกหอยจะเข้าสู่ระยะ D shape ควรทำการเปลี่ยนน้ำในถังอนุบาลและเปลี่ยนทุก ๆ 2-3 วันจนกว่าลูกหอยจะเข้าสู่ระยะเกาะวัสดุ การเปลี่ยนน้ำจะดูดน้ำออกผ่านผ้ากรอง ขนาดตั้งแต่ 35 ไมครอนขึ้นไป สังเกตลูกหอยที่สมบูรณ์ดี เมื่อถ่ายน้ำจะสังเกตลูกหอยจะติดค้างอยู่บนตะแกรงมีสีเข้ม ส่องกล้องจะเห็นกระเพาะอาหารสีเหลือง หรือน้ำตาลเข้ม อาจใช้ยาปฏิชีวนะ ซัลฟาเมท 33 ppm. ป้องกันและรักษาโรคจากเชื้อแบคทีเรีย ควรใช้เฉพาะเวลาจำเป็น นอกจากนี้ยังอาศัยเทคนิค อื่น ๆ เช่น การคัดขนาด กำหนดความหนาแน่น ชนิดและปริมาณอาหาร ความเค็ม อาหารและการให้อาหารแก่ลูกหอย อาหารของลูกหอยได้แก่แพลงตอนพืชเซลล์เดียวขนาดเล็กต่าง ๆ ที่สำคัญ คือ

Isochrysis galbana ซึ่งเป็นสาหร่ายสีน้ำตาลแกมทอง
Tetraselmis , Chlydomonas เป็นสาหร่ายสีเขียว และ
Chaetoceros calcitrans ซึ่งเป็นไดอะตอม เป็นต้น

การ ให้อาหารต้องมีประมาณพอเหมาะ ถ้าน้อยเกินไปจะไม่เพียงพอต่อการเจริญเติบโต ถ้าให้มากเกินไปจะมีผลยับยั้งอัตราการกรองกินอาหารของลูกหอยทำให้การเจริญ เติบโตชะงักเช่นกัน หลักทั่วไปในการให้อาหารแก่ลูกหอยจะทำโดยให้ทีละน้อยและให้เพิ่มเป็นระยะ ๆ การให้อาหารทำทุกวันอย่างน้อยวันละ 2 ครั้ง เช้าและเย็น

การอนุบาลทำได้หลายลักษณะ ได้แก่
1. ใช้ระบบ Upwelling และ Downwelling นิยมใช้กับลูกหอยที่เกาะเป็นตัวเดี่ยว ๆ น้ำทะเลที่ใช้อนุบาลลูกหอยในระบบนี้จะมีการไหลเวียนตลอดเวลาโดยเมื่อลูกหอย มีขนาดเล็กมากจะให้น้ำไหลเวียนในลักษณะ Downwelling เมื่อหอยมีขนาดประมาณ 1 mm. จะเปลี่ยนทิศการไหลเวียนของน้ำเป็น Upwelling ซึ่งระบบดังกล่าวจะช่วยลดการสะสมของเสีย
2. วิธีแขวนลอย จะใช้กับหอยที่เกาะวัสดุล่อในลักษณะต่าง ๆ โดยพยายามไม่ให้ลูกหอยกองอยู่บนพื้นถัง ซึ่งเป็นบริเวณสะสมของเสีย
การนำลูกหอยขนาดเล็กเกินไปออกจากโรงเพาะฟักสู่แหล่งเลี้ยง ลูกหอยจะมีอัตรารอดต่ำมาก แต่การอนุบาลในโรงเพาะฟักนานเกินไปมักพบปัญหา เช่น เป็นการเพิ่มค่าใช้จ่าย ยุ่งยากในการเตรียมอาหาร เป็นต้น

5. การเลี้ยงลูกหอยระยะเกล็ด
เมื่อลูกหอยถึงระยะลงเกาะ (Setting or Metamorphosis) ลูกหอยจะแสดงอาการว่ายน้ำสลับกับลงไปคืบคลานเป็นระยะ ๆ จนไม่สามารถว่ายน้ำได้และเข้าเกาะวัสดุในที่สุด ดังนั้นเมื่อลูกหอยถึงระยะดังกล่าวจะต้องเตรียมวัสดุล่อลูกหอย ซึ่งอาจเป็นกระเบื้อง, แผ่น P V C,ไม้ไผ่, เปลือกหอยต่าง ๆ ฯลฯ โดยพิจารณาจากความสะดวกในการปฏิบัติงานในโรงเพาะฟักด้วย และวัสดุที่เคยใช้ล่อลูกหอยมาก่อนจะล่อลูกหอยได้ดีกว่าวัสดุที่นำมาใช้เป็น ครั้งแรก

6. การเลี้ยงและการตลาด
ถ้าเลี้ยงลูกหอยเกาะเป็นตัวเดี่ยว ๆ เมื่อหอยมีขนาดประมาณ 1 นิ้ว จึงเริ่มนำไปเลี้ยง ในแหล่งเลี้ยง ซึ่งทำได้หลายวิธี เช่น ติดกับหลักซีเมนต์ หรือติดเป็นพวงนำไปห้อยหรือทำเป็นกระบะแพวางเป็นชั้นดิน โดยให้สู่เหนือพื้น เพื่อไม่ให้หอยจมอยู่ใต้ดิน หรือของเสียที่สะสม และไม่ควรให้หอยพ้นน้ำนานเกินไปเมื่อน้ำลงต่ำสุด เพื่อให้หอยกรองอาหารได้ตลอดเวลา เลี้ยงจนได้ขนาด 8-9 cm. ซึ่งเป็นขนาดที่ตลาดต้องการ เมื่ออายุ 1ปีครึ่งขึ้นไป หากต้องการหอยที่มีขนาดใหญ่จะต้องเลี้ยงต่อไปจนมีอายุ 2-4 ปี การขายจะขายตามขนาดและความยาวของเปลือก เปลือกยาว 6-10 cm. ในราคา 4-6.50 บาทต่อตัว


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น