วันอาทิตย์ที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย
....เมื่อครั้งที่แล้วผมพาเพื่อนๆไปดูสถานที่ขายปลาทองหรือเจ้าหัววุ้นของ เรา หวังว่าจะเป็นประโยชน์ให้กับเพื่อนๆที่แวะเวียนเข้ามาไม่มากก็น้อย สถานที่หลายๆแห่ง เพื่อนๆอาจจะคุ้นหูคุ้นตา และอาจได้เคยมีโอกาสไปมาบ้างแล้ว แต่สำหรับเพื่อนที่เพิ่งสนใจเรื่องปลาทองนี้ก็คงได้ประโยชน์ไปบ้างนะครับ


ในครั้งนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูกันว่า สายพันธุ์ปลาทองที่นิยมเลี้ยงในบ้านเรานั้น มีพันธุ์อะไรกันบ้าง


1. ปลาทองหัวสิงห์จีน



ลักษณะเด่น ของปลาพันธุ์นี้ คือ มีส่วนหัวที่ใหญ่กว่าลำตัวมาก ส่วนวุ้นที่หัวมีมากและหนาแน่นกว่าสิงห์สายพันธุ์อื่น วุ้นมีทั้งบนหัวและที่ฝาเหงือกทั้งสองข้างเรียกว่า โอคาเหมะ (Okame) แต่โดยทั่วไปนิยมเรียกปลาที่มีวุ้นบนหัวว่า รันชู (Ranchu) ส่วนหลังของปลาลาดโค้งเพียงเล็กน้อยและไม่มีครีบบนหลัง หางจะหนาและใหญ่กว่าสิงห์พันธุ์อื่นๆ ปลาส่วนมากมีสีแดง และโตตามขนาดบ่อที่เลี้ยงได้ประมาณ 20-25 ชม.




2. ปลาทองหัวสิงห์ญี่ปุ่น



เป็น ปลาที่พัฒนาสายพันธุ์มาจากสิงห์จีนโดยประเทศญี่ปุ่น หลังของปลาจะโค้งมากกว่าสิงห์จีน มีวุ้นอยู่บนส่วนหัว แก้ม เหนือริมฝีปาก และที่คาง หลังของปลาจะต้องโค้งจนคนในวงการปลาเปรียบเทียบไว้ว่า หลังโค้งไข่ผ่าซีก ครีบหางต่อกับลำตัวเป็นมุมแหลมเฉียงขึ้น 45 องศา ครีบทวารมีทั้งเดี่ยวและคู่ มีสีแดงและขาวสลับแดง (พันธุ์นี้จะเห็นกันมากในบ้านเรา)




3. ปลาทองหัวสิงห์สยาม






เป็นปลาที่พัฒนาสายพันธุ์ให้สวยขึ้นโดยประเทศไทย มีทรงและลักษณะเหมือนสิงห์ลูกผสม แต่มีสีทุกส่วนของลำตัวปลาเป็นสีดำทั้งหมด




4.ปลาทองสิงห์ตากลับ



มี ต้นกำเนิดอยู่ในประเทศจีน เรียกว่า โซเตนกัน ญี่ปุ่นเรียกว่า เดเมรันชู ส่วนหัวของปลามีวุ้นเล็กน้อย ลำตัวและทรงคล้ายสิงห์จีน แต่มีลำตัวที่ยาวกว่าสิงห์จีนมาก มีสีแดง







5.ปลาทองฮอลันดาหัววุ้น




ญี่ปุ่น เป็นผู้เพาะพันธุ์ขึ้นมาใหม่ และเรียกว่า ฮอรันดาชิชิกาชิระ มีวุ้นบนส่วนหัวของปลาจะมีมาก และมองเห็นเป็นก้อนกลม มีครีบบนหลังปลา และครีบหางกางแผ่กว้างยาวกว่าปลาสิงห ์มีสีแดงและขาวสลับแดง (พันธุ์นี้ได้รับความนิยมให้เป็นนักแสดงในภาพยนตร์มากมาย)



6.ปลาทองโคเมท





เป็น ปลาที่มีรูปทรงคล้ายปลาคร็าฟมากแต่มีหางที่ยาวกว่าปลาคร็าฟ ปลาพันธุ์นี้จะมีสีดังนี้คือ แดงทั้งตัว แดงสลับขาว และห้าสีในปลาตัวเดียวคือแดง ดำ ขาว ส้ม ฟ้า





7.ปลาทองเกล็ดแก้ว





ประเทศ ไทยสามารถเพาะพันธุ์ปลาเกล็ดแก้วหน้าหนู ส่งไปขายทั่วโลก ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันว่าเป็นปลาทองที่มีลักษณะแตกต่างจากปลาพันธุ์อื่นๆ มีทรงอ้วนกลมกว่าพันธุ์ริวกิ้น เกล็ดตามลำตัวปลาเกือบทั้งหมดหนาและแข็งโปนออกมาจากลำตัว มี 3 สายพันธุ์ได้แก่ เกล็ดแก้วหน้าหนู เกล็ดแก้วหัววุ้น เกล็ดแก้วหัวมงกุฎ




...... สรุป สายพันธุ์ปลาทองนั้นมีอยู่หลาย 10 ชนิดด้วยกัน แต่ที่ผมนำมานำเสนอให้เพื่อนๆดูนั้น คือเป็นที่นิยมเลี้ยงของผู้นิยมปลาทองในบ้านเรา ซึ่งแต่ละสายพันธุ์นั้นก็มีความสวย มีเสน่ห์ ในตัวของมันทั้งหมด อยู่ที่ว่าเราชอบแบบไหนมากกว่าครับ






เขียนโดย เจ้าหัววุ้น ที่ 22:39 0 ความคิดเห็น
วันจันทร์ที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2552
ตลาดปลาสวยงามในประเทศไทย

...ผมเชื่อว่าหลายคนคงรู้จักปลาทองกัน มาไม่มากก็น้อย เชื่อหรือไม่ครับว่าเจ้าปลาทองหัววุ้นนั้นเกิดมาบนโลกราวๆ2000ปี ตั้งแต่วงศ์ ไซไพร์นิดี้ แต่ประวัตินั้นไม่ได้ระบุว่าพวกหัววุ้นเข้ามาอยู่ในประเทศของเราตั้งแต่สมัย ใด และด้วยความที่มันเป็นสัตว์ที่น่ารัก ตัวอ้วนๆ หัวโตๆ ตากลมๆ ถอดแบบอาหมวยบ้านเรา (เอ้ ยไม่ใช่) ด้วยเหตุนี้เจ้าหัววุ้นจึงเข้าไปอยู่ในใจของผู้ที่ชื่นชอบปลาเป็นพิเศษอย่า ง่ายดาย และในวันนี้ผมจะพาเพื่อนๆไปดูว่า เราจะสามารถหาซื้อเจ้าหัววุ้นสวยๆได้ที่ไหนกันบ้างครับ




1.

ตลาดซันเดย์ Sunday Market
เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์วันอังคารเป็นวันขายส่ง เปิดขายเวลา 09.00 - 18.00 น.วันพุธ - วันอาทิตย์ เปิดขายเวลา 09.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกับพิพิธภัณฑ์เด็ก จตุจักร ถ.กำแพงเพชร แขวงลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ


2

ตลาดนัดจตุจักร Jutujak Market
เปิดขายวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เวลา 08.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามกรมการขนส่งทางบก ถ.พหลโยธิน แขวงลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ


3


จตุจักรพลาซ่า Jutujak Plaza
เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์ เวลา 10.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ด้านหน้าอยู่ตรงข้ามตลาดเซเว่นเดย์ ถ.กำแพงเพชร2 แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ


4


ตลาดศรีสมรัตน์ Srisomrat Market
เปิดขายวันอังคาร - วันอาทิตย์ 10.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง อยู่ด้านหลังตลาดซันเดย์ บริเวณติดกับลานจอดรถ ถ.กำแพงเพชร2 แขวง ลาดยาว เขต จตุจักร กรุงเทพฯ


5



ตลาดนัดธนบุรี สนามหลวง 2 Ton Buri
เปิดขายทุกวัน แต่จะมีสินค้ามากในวันเสาร์ - วันอาทิตย์ เปิดเวลา 09.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง อยู่ระหว่างพุทธมณฑลสาย3 และสาย4 ถ.เลียบคลองทวีวัฒนา เขต ทวีวัฒนา กรุงเทพฯ


6

ตลาดปลาสวยงามที่ตลาดไท
เปิดทุกวัน 10.00 - 18.00 น.
สถานที่ตั้ง ถ.รังสิต-นครนายก เขต ทองหลวง จ.ปทุมธานี


....สรุป ผม หวังว่าสถานที่เหล่านี้ จะเป็นตัวช่วยให้เพื่อนๆไปรับตัวเจ้าหัววุ้นมาได้นะครับ แต่ผมอยากขอร้องให้ทุกๆท่านที่ต้องการเลี้ยงเจ้าหัววุ้น ควรมีเวลาเอาใจใส่พวกมันบ้างนะครับ อย่าคิดว่าอยากได้แล้วจึงไปซื้อ พอได้มาก็ไม่ใส่ใจมันสุดท้ายมันก็ตายไป เราควรถามใจเราก่อนนะครับว่าพร้อมเลี้ยงมันไหม และที่สำคัญถูกแพงไม่สำคัญเท่ากับเรารักมันจริงๆไหม


เขียนโดย เจ้าหัววุ้น ที่ 0:06 0 ความคิดเห็น

วันพุธที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

วิธีทำน้ำหมัก EM ใช้ในบ่อปลา Thailand Web Stat


วิธีทำน้ำหมัก EM ใช้ในบ่อปลา
วันที่ส่ง SMS : 20 มีนาคม 2552
รอบเวลาที่ส่ง : 10:30 น.
ข้อความ :

บ่อปลา(1)วิธีการทำ EM เพื่อใช้ในบ่อปลาให้น้ำใส ไม่มีกลิ่นเหม็น
บ่อปลา(2)กากน้ำตาล 5 กก.สารเร่งพด.2 หนึ่งซอง น้ำ 20 ลิตร หมักนาน 7 วัน



การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติกนับว่าเป็นอาชีพเสริมอีกอาชีพหนึ่งที่น่า สงเสริมเป็นอย่างยิ่ง เพราะพื้นที่ที่ใช้เลี้ยงก็จะใช้เนื้อที่น้อยอาจจะ เป็นบริเวณรอบบ้านหรือบริเวณในสวนก็ได้ โดยจะเลี้ยงไว้ใช้ทำเป็นอาหารในครัว เรือนหรืจะเลี้ยงเพื่อจำหน่ายก็ได้เหมือนกัน จากที่เจ้าหน้าที่ได้ลงพื้นที่ ซึ่งได้พบกับคุณประกอบ ขันติปันดี เกษตรกรผู้ที่เลี้ยงปลาดุกในบ่อ พลาสติก โดยเลี้ยงแบบชีวภาพ และคุณประกอบได้บอกถึงวิธีการเลี้ยงและการทำ อาหารปลาดุกใช้เอง โดยมีรายละเอียดดังนี้




วิธีการเลี้ยงปลาดุก
การเลี้ยงปลาดุกในบ่อพลาสติก โดยเลี้ยงแบบชีวภาพ
1.ขุดบ่อขนาด 4*2 เมตร ลึก 70 เซนติเมตร แล้วนำพลาสติกมาคลุมในบ่อ
2.ก่อนที่จะปล่อยลูกปลาดุกต้องเอาดินผสมกับมูลวัวหมักไว้ในบ่อ 15 วันก่อน
3.ใน1 บ่อ จะปล่อยลูกปลาดุกได้ 500 ตัว โดยซื้อลูกปลามาตัวละ 1 บาท เฉลี่ยแล้วค่าลงทุนบ่อละ 1,000 บาท

การให้อาหารปลาดุก
1.หลังจากปล่อยลงบ่อให้ปลากินพวกแพรงตอล และลูกอ็อด1 ถุง โดยให้ปลากินประมาณ 1 เดือน
2.หลังจาก 1 เดือนก็ให้อาหารที่ทำเอง
ส่วนผสมของอาหารปลาดุกที่ทำเอง
- กากน้ำตาล
- ปลายสาร
- รำละเอียด
- ข้าวโพดบด
- ปลาป่น
- กากถั่วเหลือง
- กล้วยสุก มะละกอสุก (จะเป็นยาถ่ายของปลา)
- วิตามิน

วิธีการทำอาหารปลาดุก
นำส่วนผสมมาอย่างละเท่าๆกัน แล้วนำมาต้มให้สุก แล้วนำมาปั้นเป็นก้อนกลมๆ แล้วนำวิตามิน(โปร-แมกซ์)มาโรยที่ก้อนอาหารที่เราปั้นไว้สักนิดนึง เพื่อที่จะทำให้ปลาคลายเครียด
สำหรับการให้อาหาร
-ก็จะให้วันละ 2 ครั้ง เช้า – เย็น ให้กินบ่อละ 1 กิโลกรัม
-การเปลี่ยนน้ำในบ่อให้เปลี่ยนอาทิตย์ละครั้ง
-หลังจากที่เราเปลี่ยนน้ำในบ่อแล้วก็ให้ใช้ EM และดินเหนียวใส่ลงไปด้วย

สำหรับวิธีการทำEM
-กากน้ำตาล 5 กก.
-สารเร่ง พด.2 1 ซอง
-น้ำ 20 ลิตร
ให้เราหมักไว้ 7 วัน ก็สามารถนำมาใช้ได้แล้ว หลังจากเราเลี้ยงประมาณ 4 เดือนก็สามารถจับนำไปจำหน่ายได้แล้ว


ที่มา : ศูนย์ทางด่วนข้อมูลการเกษตร *1677
สถานีวิทยุร่วมด้วยช่วยกัน จ. สงขลา
การเลี้ยงปลาดุกอุย


ปลาดุกอุย ( Clarias macrocephalus ) เป็นปลาพื้นบ้านของไทยชนิดไม่มี เกล็ด รูปร่างเรียวยาวมีหนวด 4 เส้น ที่ริมฝีปาก ผิวหนังมีสีน้ำตาล เนื้อมีสีเหลือง รสชาติอร่อยนุ่มนวลสามารถนำมาปรุงแต่งเป็นอาหารชนิดต่าง ๆ ได้มากมาย ในประเทศ ไทยมีพันธุ์ปลาดุกอยู่จำนวน 5 ชนิด แต่ที่เป็นที่รู้จักทั่ว ๆไปคือ ปลาดุกอุยและปลาดุกด้าน ( Clarias batrachus ) ซึ่งในอดีตทั้งปลาดุกอุยและปลาดุกด้านได้มีการเพาะเลี้ยงกันอย่างแพร่หลาย
เมื่อไม่นานมานี้เองเกษตรกรได้นำพันธุ์ปลาดุกชนิดหนึ่งเข้ามาเลี้ยงใน ประเทศไทย ซึ่งอธิบดีกรมประมงได้มีคำสั่งให้กลุ่มวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำสถาบัน วิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ดำเนินการศึกษาพบว่าเป็นปลาในตระกูล แคทฟิช เช่นเดียวกับปลาดุกอุย มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา มีชื่อว่า ( Clarias gariepinus African sharptooth catfish ) เป็นปลาที่มีการเจริญเติบใจรวดเร็วมาก สามารถกินอาหารได้แทบทุกชนิด มีความต้านทานโรคและสภาพแวดล้อมสูงเป็นปลาที่มีขนาดใหญ่ เมื่อเจริญเติบโตเต็มที่ แต่ปลาดุกชนิดนี้มีเนื้อเหลว และมีสีซีดขาว ไม่น่ารับประทาน ซึ่งกรมประมงได้ให้ชื่อว่าปลาดุกเทศ จากการศึกษาทางลักษณะรูปร่างและชีววิทยาของปลาดุกเทศทางกลุ่มวิจัยการเพาะ เลี้ยงสัตว์น้ำ สถาบันวิจัยการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำจืด ได้ทำการเพาะขยายพันธุ์ปลาโดยนำมาผสมพันธุ์กับปลาดุกอุยและปลาดุกเทศ ผลปรากฏว่าการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศเมียผสมกับปลาดุกเทศเพศผู้ สามารถเพาะขยายพันธุ์ได้ดี ลูกที่ได้มีอัตราการเจริญเติบโตรวดเร็ว ทนทานต่อโรคสูง มีลักษณะใกล้เคียงกับปลาดุกอุย จึงทำให้เกษตรกรนำวิธีการผสมข้ามพันธุ์ไปปฏิบัติกันอย่างแพร่หลาย ซึ่งลูกหลานที่เกิดจากคู่ผสมนี้ทางกรมประมงให้ชื่อว่า ปลาดุกอุย-เทศ แต่โดยทั่ว ๆไปชาวบ้านเรียกกันว่า บิ๊กอุย หรือ อุยบ่อ ส่วนการผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกอุยเพศผู้กับปลาดุกเทศเพศเมีย ลูกที่ได้ไม่แข็งแรงและเหลือรอดน้อย เมื่อเทียบกับการเพาะพันธุ์เพื่อให้ได้ปลาบิ๊กอุย ส่วน การผสมข้ามพันธุ์ระหว่างปลาดุกด้านกับปลาดุกเทศ ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควรในปัจจุบันนี้อาจกล่าวได้ว่าปลาดุกลูกผสมอุย-เทศ หรือบิ๊กอุยนั้นเป็นที่นิยมเลี้ยงของเกษตรกร เนื่องจากเลี้ยงง่าย มีการเจริญเติบโตรวดเร็ว อีกทั้งทนทานต่อโรคและสภาพแวดล้อมได้ดี ทั้งยังเป็นที่นิคมบริโภคของประชาชน เนื่องจากมีรสชาติดีและราคาถูก
การเพาะผสมเทียมปลาดุกบิ๊กอุย
1. การเลี้ยงพ่อ-แม่พันธุ์ ควรเลี้ยงในบ่อดินที่มีขนาดตั้งแต่ 100 ตารางเมตรขึ้นไป โดยปล่อยในอัตรา 20-30 ตัว/ตรม. ที่ระดับความลึกของน้ำประมาณ 1.0-1.5 เมตร ควรมีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลากินอาหารได้ดี และพัฒนาระบบสืบพันธุ์ของปลาให้มีไข่และน้ำเชื้อดียิ่งขึ้นจะใช้เวลาประมาณ 3-4 เดือนฤดูกาลผสมพันธุ์ปลาดุก จะอยู่ในช่วงเดือนมีนาคม- ตุลาคมก่อนฤดูกาลผสมพันธุ์ ในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ ควรเริ่มคัดปลาที่มีไข่แก่สมบูรณ์บางส่วนมาเริ่มดำเนินการผสมเทียม.

2. การคัดเลือกพ่อ - แม่พันธุ์ พ่อแม่พันธุ์ปลาดุกที่นำมาใช้ ควรเป็นปลาที่สมบูรณ์ ไม่บอบช้ำ และควรมีอายุตั้งแต่ 1 ปีขึ้นไป การสังเกตลักษณะปลาเพศเมียที่ดีในการเพาะพันธุ์ดูได้ จากส่วนท้องจะอูมเป่ง ไม่นิ่มหรือแข็งจนเกินไป ติ่งเพศจะมีลักษณะกลมมีสีแดง หรือชมพูอมแดง ถ้าเอามือบีบเบา ๆ ที่ท้องจะมีไข่ลักษณะเป็นเม็ดกลมสีน้ำตาลอ่อนใสไหลออกมา ส่วนปลาดุกเพศผู้จะมีติ่งเพศยาวเรียว มีสีชมพูเรื่อ ๆ ปลาไม่ควรมีขนาดอ้วนหรือผอมจนเกินไป ขนาดพ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุก ควรมีขนาดน้ำหนักมากกว่า 200 กรัมขึ้นไป หรือปลาที่มีอายุประมาณ 7-8 เดือน หรือ 1 ปี ให้อาหารที่มีคุณภาพดี เพื่อให้มีไข่แก่ จะใช้เวลา 3-4 เดือน มีการถ่ายเทน้ำบ่อย ๆ เพื่อกระตุ้นให้ปลาถึงวัยเจริญพันธุ์เร็วขึ้น ส่วนปลาดุกเทศเพศผู้นิยมใช้ ขนาดน้ำหนักตัวมากกว่า 500 กรัมขึ้นไป และควรเป็นปลาที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 1 ปี ลำตัวเพรียวยาวและไม่อ้วนจนเกินไป

3. อุปกรณ์และวิธีการผสมเทียม
1. พ่อ-แม่พันธุ์ปลา
2. ฮอร์โมนต่อมใต้สมองปลา หรือฮอร์โมนสังเคราะห์ชนิดต่าง ๆ
3. โกร่งบดต่อมใต้สมอง
4. เข็มฉีดยา
5. เครี่องชั่งน้ำหนัก สามารถชั่งได้ถึงจุดทศนิยม 2 ตำแหน่ง
6. ภาชนะสำหรับผสมไข่ปลากับน้ำเชื้อ ได้แก่ กะละมังพลาสติก และขนไก่
7. น้ำเกลือและน้ำกลั่น
8. อุปกรณ์ในการกกไข่ปลา เช่น กระชัง อวนมุ้งเขียว
9. อุปกรณ์ในการอนุบาลลูกปลา

4. ชนิดและวิธีการฉีดฮอร์โมน ฮอร์โมนที่ใช้ในการฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกมีไข่แก่เพื่อที่จะรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อนั้นมีหลายชนิดซึ่งสามารถแยกได้ ดังนี้
1. ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมอง (pituitary gland) ได้แก่ ต่อมใต้สมองปลาชนิดต่าง ๆ เช่น ต่อมใต้สมองปลาจีน ปลาโรฮู่ ปลาสวาย ปลาไน เป็นต้น มีหน่วยความเข้มข้นคือโดส ซึ่งมีสูตรการคำนวณ คือ
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองจะต้องฉีดสองครั้ง ครั้งแรกฉีดที่ระดับความเข้มข้น 1 โดส ทิ้งระยะห่าง 6 ชั่วโมง จึงฉีดครั้งที่สองที่ระดับความเข้มข้น 2 โดส หลังจากนั้นประมาณ 9 - 10 ชั่วโมง เมื่อสังเกตเห็นว่ามีไข่ตกออกมาจากช่องท้องของแม่ปลาบางตัวแล้ว จึงรีดไข่ผสมกับน้ำเชื้อได้
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ สามารถไข้ฮอร์โมนจากต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุก โดยไข้ความเข้มข้นของฮอร์โมนได้เช่นเดียวกับการฉีดปลาดุกอุย แต่ระยะเวลาการรีดไข่หลังการฉีดเข็มสองจะใช้เวลาประมาณ 4 ชั่วโมง ซึ่งต่างจากปลาดุกอุย 5-6 ชั่วโมง
การใช้ต่อมใต้สมองฉีดเร่งให้แม่ปลาวางไข่ อาจใช้ร่วมกับฮอร์โมนสกัดเพื่อให้การฉีดไข่สะดวกขึ้น โดยใส่ฮอร์โมนสกัดในระดับความเข้มข้น 100-300 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใช้ต่อมใต้สมองในอัตราเท่าเดิม
ส่วนปลาเพศผู้สามารถกระตุ้นให้มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยใช้ต่อมใต้สมองที่ระดับความเข้มข้น 0.5 โดส ฉีดให้กับพ่อปลาพร้อมกับการฉีดฮอร์โมนให้กับแม่ปลาครั้งที่สอง
2. ฮอร์โมนสกัด (Extract hormone) ได้แก่ เอช ซี จี HCG (Human chorionic Gonadotropin) มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไอ.ยู. (l.U. - lnternational unit) การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCE) สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 3,000-5,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสกัดเป็นเวลาประมาณ 15 -16(1/2) ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสกัด (HCG) ฉีดเร่งให้แม่ปลามีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวเหมือนกับปลาดุกอุยที่ระดับความเข้มข้น 2,000 -4,000 ไอยู/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนเป็นเวลาประมาณ 9(1/2) - 11 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมเทียมได้ ในเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสกัดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 200 - 400ไอยู/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ประมาณ 6 ชั่วโมง ก่อนผ่าเอาถุงน้ำเชื้อออกมาไข้ในการผสมเทียม
3. ฮอร์โมนสังเคราะห์ (Synthetic hormone) ได้แก่ LHRHa หรือ LRH-a มีหน่วยความเข้มข้นเป็นไมโครกรัม (ug) ซึ่งในการฉีดกับปลาดุกต้องใช้ร่วมกับสารระงับการทำงานของระบบการหลั่ง ฮอร์โมนคือ โดมเพอริโดน (Domperidone) หรือมีชื่อทางการค้าว่าโมทีเลียม (Motilium) ซึ่งมีหน่วยเป็น มิลลิกรัม (mg) ขนาดที่มีขายโดยทั่วไปคือ เม็ดละ 1O มิลลิกรัม
การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกอุย โดยไข้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกอุยมีไข่สุกได้ โดยการฉีดครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 20-30 ไมโครกรัมแม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/ แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก.หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์นี้เป็นเวลาประมาณ 16 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ การฉีดฮอร์โมนผสมเทียมปลาดุกเทศ โดยใช้ฮอร์โมนสังเคราะห์สามารถฉีดเร่งให้แม่ปลาดุกเทศมีไข่สุกได้โดยการฉีด ครั้งเดียวที่ระดับความเข้มข้น 15-30 ไมโครกรัม / แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. ร่วมกับการใส่โดมเพอริโดนที่ระดับความเข้มข้น 5 มิลลิกรัม/แม่ปลาน้ำหนัก 1 กก. หลังจากฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์เป็นเวลาประมาณ 10 ชั่วโมง สามารถรีดไข่ผสมน้ำเชื้อได้ ในปลาเพศผู้การกระตุ้นให้พ่อพันธุ์มีน้ำเชื้อมากขึ้น โดยการฉีดฮอร์โมนสังเคราะห์ที่ระดับความเข้มข้น 5 ไมโครกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ร่วมกับโดมเพอริโดน 5 มิลลิกรัม/พ่อปลาน้ำหนัก 1 กก.ก่อนผ่าถุงน้ำเชื้อประมาณ 10 ชั่วโมง

5. ปริมาณสารละลายที่ใช้หลังจากที่เตรียมฮอร์โมนที่จะฉีดให้กับ พ่อ-แม่พันธุ์ปลาดุกแล้ว การคำนวณสารละลายที่จะผสมกับฮอร์โมนเพื่อฉีดให้กับพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเป็น เรื่องที่ควรคำนึง คือ จะต้องใช้น้ำกลั่นหรือน้ำสะอาดเติมในปริมาณที่เหมาะสม โดยการฉีดปลาดุกขนาด 200-500 กรัม จะใช้ปริมาณสารละลายผสมแล้ว ประมาณ 0.3-0.7 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 500-2,000 กรัม ควรใช้ปริมาณสารละลายผสมประมาณ 0.4 -1.2 ซีซี ส่วนปลาดุกขนาด 2,000 กรัมขึ้นไปใช้ สารละลายประมาณ 1.0-2.5 ซีซี

6. ตำแหน่งที่ฉีดฮอร์โมน การฉีดฮอร์โมนปลาดุกนั้น ตำแหน่งที่เหมาะสมที่สุดคือ บริเวณกล้ามเนื้อใต้ครีบหลังส่วนต้นเหนือเส้นข้างตัว โดยใช้เข็มเบอร์ 22-24 แทงเข็มเอียงทำมุมกับลำตัวประมาณ 30 องศา แทงลึกประมาณ 1 นิ้ว/(2 เซนติเมตร) ในกรณีที่ต้องฉีดสองครั้ง ควรฉีดครั้งที่สองสลับข้างกับการฉีดครั้งแรกหลังจากฉีดฮอร์โมนปลาดุก แล้วขังในภาชนะที่มีระดับน้ำเพียงท่วมหลังพ่อ-แม่พันธุ์ปลาเท่านั้น เพราะถ้าใส่น้ำมากเกินไปปลาจะบอบช้ำมาก
ชนิดและปริมาณต่อมใต้สมองในการฉีดกระตุ้นให้ปลาดุกอุยวางไข่
ชนิดต่อม ฉีดครั้งที่ 1 (โดส) ฉีดครั้งที่ 2 (โดส)
ปลาสวาย 1.5 2.5
ปลาจีน 1 2
ปลาไน 0.8 1.8

7. การรีดไข่ผสมน้ำเชื้อ การรีดไข่ของปลาดุกเพื่อผสมกับน้ำเชื้อ นั้นใช้วิธีกึ่งเปียก เป็นวิธีที่เหมาะสมที่สุด นำแม่ปลาที่ได้รับการฉีดฮอร์โมนและมีไข่แก่เต็มที่แล้วมารีดไข่ใส่ในภาชนะ ผิวเรียบ เช่น กะละมังเคลือบ พร้อมกันนี้ผ่าเอาถุงน้ำเชื้อจากพ่อปลา นำมาวางบนผ้ามุ้งเขียว แล้วขยี้ให้ละเอียดพร้อมกับเทน้ำเกลือเข้มข้นประมาณ 0.7 % หรือน้ำสะอาดลงบนผ้ามุ้งเขียวที่ขยี้ถุงน้ำเชื้อให้น้ำไหลผ่านเพื่อให้น้ำ เชื้อลงไปผสมกับไข่ ผสมไข่กับน้ำเชื้อให้เข้ากันโดยการคนเบา ๆ ด้วยขนไก่ประมาณ 2-3 นาที จึงนำไข่ที่ได้รับการผสมแล้วไปล้างน้ำสะอาด 1 ครั้ง แล้วนำไปฟัก น้ำเชื้อจากปลาตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับไข้ที่ได้จากการรีดปลาเพศเมีย ประมาณ 10 ตัว

8. การฟักไข่ไข่ปลาดุกอุยเป็นไข่ติด ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลม มีน้ำตาลเข้ม ไข่ของปลาดุกเทศก็เป็นไข่ติด เช่นเดียวกับปลาดุกอุย ไข่ที่ดีควรมีลักษณะกลมและมีสีเขียวเข้ม นำไข่ปลาดุกที่ได้รับการผสมกับน้ำเชื้อแล้วไปฟัก โดยโรยไข่บนผ้ามุ้งเขียวเบอร์ 20 ที่ขึงตึงที่ระดับต่ำกว่าผิวน้ำประมาณ 5-10 เซนติเมตร โดยระดับน้ำในบ่อที่ขึงผ้ามุ้งเขียวนั้นมีระดับน้ำลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เปิดน้ำไหลผ่านตลอดเวลาและควรมีเครื่องเพิ่มอากาศใส่ไว้ในบ่อกกไข่ปลาด้วย ไข้ปลาดุกที่ได้รับการผสมจะพัฒนาและฟักเป็นตัวโดยใช้เวลาประมาณ 21-26 ชั่วโมง ที่อุณหภูมิของน้ำ 28-30 องศาเซลเซียส ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัว จะหลุดลอดตาของมุ้งเขียวลงสู่พื้นก้นบ่อด้านล่าง หลังจากลูกปลาหลุดลอดลงสู่พื้นก้นบ่อหมดแล้วจึงย้ายผ้ามุ้งเขียวที่ใช้ฟัก ไข่ออกจากบ่อฟักจะใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง ลูกปลาจะค่อย ๆ พัฒนาเจริญขึ้นเป็นลำดับจนมีอายุประมาณ 48 ชั่วโมง จึงเริ่มกินอาหาร บ่อเพาะฟักลูกปลาดุกควรมีหลังคาปกคลุมป้องกันแสงแดดและน้ำฝนได้แม่ปลาขนาด ประมาณ 1 กิโลกรัม จะได้ลูกปลาประมาณ 5,000 -20,000 ตัว ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับฤดูกาลและขนาดแม่
การอนุบาลลูกปลา
ลูกปลาดุกที่ฟักออกเป็นตัวใหม่ ๆ จะใช้อาหารในถุงไข่แดงที่ติดมากับตัวเมื่อถุงไข่แดงที่ติดมากับลูกปลายุบ ให้ไข่ไก่ต้มสุกเอาเฉพาะไข่แดงบดผ่านผ้าขาวบางละเอียดให้ลูกปลากิน 1-2 ครั้ง หลังจากนั้นจึงให้ลูกไรแดงเป็นอาหาร การขนส่งลูกปลา เมื่อลูกปลาอายุครบ 2 วัน สามารถขนย้ายได้ด้วยความระมัดระวังโดยใช้สายยางดูด แล้วบรรจุในถุงพลาสติกขนาด 18 นิ้ว ไม่ควรเกิน 10,000 ตัวต่อถุง หากขนส่งเกิน 8 ชั่วโมง ให้ลดจำนวนลูกปลาลง
การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อซีเมนต์ สามารถดูแลรักษาได้ง่ายขนาดของบ่อซีเมนต์ควรมีขนาดประมาณ 2-5 ตารางเมตร ระดับความลึกของน้ำทีใช้อนุบาลลึกประมาณ 15-30 เซนติเมตร การอนุบาลลูกปลาดุกที่มีขนาดเล็ก(อายุ 3 วัน) ระยะแรกควรใส่น้ำในบ่ออนุบาลลึกประมาณ 10-15 เซนติเมตร เมื่อลูกปลามีขนาดใหญ่ขึ้นจึงค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น การอนุบาลให้ลูกปลาดุกมีขนาด 2-3 เซนติเมตรจะใช้เวลาประมาณ 10-14 วัน น้ำที่ใช้ใน การอนุบาลจะต้องเปลี่ยนถ่ายทุกวัน เพื่อเร่งให้ลูกปลาดุกกินอาหารและมีการเจริญเติบโตดี อีกทั้งเป็นการป้องกันการเน่าเสียของน้ำด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกจะปล่อยในอัตรา 3,000-5,000 ตัว/ตรม. อาหารที่ใช้คือ ไรแดงเป็นหลัก ในบางครั้งอาจให้อาหารเสริมบ้าง เข่น ไข่ตุ๋นบดละเอียด เต้าหู้อ่อนบดละเอียด หรืออาจให้อาหารเร่งการเจริญเติบโต ซึ่งหากให้อาหารเสริมจะต้องระวังเกี่ยวกับการย่อยของลุกปลาและการเน่าเสีย ของน้ำในบ่ออนุบาลให้ดีด้วย การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดิน บ่อดินที่ใช้อนุบาลลุกปลาดุกควรมีขนาด 200-800 ตรม. บ่อดินที่จะใช้อนุบาลจะต้องมีการกำจัดศัตรูของลูกปลาก่อน และพื้นก้นบ่อควรเรียบ สะอาดปราศจากพืชพรรณไม้น้ำต่าง ๆ ควรมีร่องขนาดกว้างประมาณ 0.5 -1 เมตร ยาวจากหัวบ่อจรดท้ายบ่อ และลึกจากระดับ พื้นก้นบ่อประมาณ 20 เซนติเมตร เพื่อความสะดวกในการรวบรวมลูกปลา และ ตรงปลายร่องควรมีแอ่งลึก มีพื้นที่ประมาณ 2-4 ตรม. เพื่อเป็นแหล่งรวบรวม ลูกปลาการอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อจะต้องเตรียมอาหารสำหรับลูกปลา โดยการเพาะไรแดงไว้ล่วงหน้าเพื่อเป็นอาหารให้แก่ลูกปลาก่อนที่จะปล่อง 1 ลูกปลาดุก ลงอนุบาลในบ่อ การอนุบาลในบ่อดินจะปล่อยในอัตรา 300-500 ตัว/ตรม. การอนุบาลลูกปลาให้เติบโตได้ขนาด 3-4 เซนติเมตร ใช้เวลาประมาณ 14 วัน แต่การอนุบาลลูกปลาดุกในบ่อดินนั้น สามารถควบคุมอัตราการเจริญเติบโตและอัตรารอดได้ยากกว่าการอนุบาลในบ่อ ซีเมนต์ ปัญหาในการอนุบาลลูกปลา น้ำเสียเกิดขึ้นจากการให้อาหารลูกปลามากเกินไป หากลูกปลาป่วยให้ลดปริมาณอาหารลง 30-500 % ดูดตะกอนถ่ายน้ำแล้ว ค่อย ๆ เติมน้ำใหม่หลังจากนั้นใช้ยาปฏิชีวนะออกซีเตตร้าซัยคลิน แช่ลูกปลาในอัตรา 10-20 กรัมต่อนำ 1 ลูกบาศก์เมตร หรือในไตรฟุราโชน 5-10 กรัม ต่อน้ำ 1 ลูกบาศก์เมตร วันต่อ ๆมาใช้ยา 3/4 เท่า ปลาจะลดจำนวนการตายภายใน 2 3 วัน ถ้าปลาตายเพิ่มขึ้น ควรกำจัดลูกปลาทิ้งไป เพื่อป้องกินการติดเชื้อไปยังบ่ออื่น ๆ
ขั้นตอนการเลี้ยง
1. อัตราปล่อยปลาดุกลูกผสม (บิ๊กอุย) ลูกปลาขนาด 2-3 ซม. ควรปล่อยในอัตประมาณ 40 - 100 ตัว/ตรม. ซึ่งขึ้นอยู่กับกรรมวิธีในการเลี้ยง คือ ชนิดของอาการขนาดของบ่อและระบบการเปลียนถ่ายน้ำซึ่งปกติทั่วๆไป อัตราปล่อยเลี้ยงประมาณ 50 ตัว/ตรม. และเพื่อป้องกันโรคซื่งอาจจะติดมากับลูกปลา ใช้น้ำยาฟอร์มาลินใส่ในบ่อเลี้ยง อัตราความเข้มข้นประมาณ 30 ส่วนในล้าน (3 ลิตร/น้ำ 100 ตัน ่ในวันที่ปล่อยลูกปลาไม่จำเป็นต้องให้อาหารควรเริ่มให้อาหารในวันรุ่งขึ้น
2. การให้อาหาร เมื่อปล่อยลูกปลาดุกผสมลงในบ่อดินแล้ว อาหารที่ให้ในช่วงที่ลูกปลาดุกมีขนาดเล็ก (2-3 ซม.) ควรให้อาหารผสมคลุกน้ำปั้นเป็นก้อนให้ลูกปลากิน โดยให้กินวันละ 2 ครั้ง หว่านให้กินทั่วบ่อโดยเฉพาะในบริเวณขอบบ่อ เมื่อลูกปลามีขนาดโตขึ้นความยาวประมาณ 5-7 ซม. สามารถฝึกให้กินอาหารเม็ดได้ หลังจากนั้นเมื่อปลาโตขึ้นจนมีความยาว 15 ซม.ขึ้นไป จะให้อาหารเม็ดเพียงอย่างเดียวหรืออาหารเสริมชนิดต่าง ๆ ได้ เช่น ปลาเป็ดผสมรำละเอียดอัตรา 9 : 1 หรือให้อาหารที่ลดต้นทุน เช่น อาหารผสมบดจากส่วนผสมต่างๆเช่น กระดูกไก่ ไส้ไก่ เศษขนมปัง เศษเส้นหมี่ เศษเลือดหมู เลือดไก่ เศษเกี้ยว หรือเศษอาหารว่างๆเท่าที่สามารถหาได้นำมาบดรวมกินแล้วผสมให้ปลากินแต่การให้ อาหารประเภทนี้จะต้องระวัง เรื่องคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงให้ดี เมื่อเลี้ยงปลาได้ประมาณ 3-4 เดือนปลาจะมีขนาดประมาณ 200-400 กรัม/ตัว ซึ่งผลผลิตที่ได้จะประมาณ 10 - 14 ตัน/ไร่ อัตรารอดตายประมาณ 40- 70 %
3. การถ่ายเท น้ำเมื่อตอนเริ่มเลี้ยงใหม่ๆระดับความลึกของน้ำ ในบ่อควรมีค่าประมาณ 30 - 40 ซม. เมื่อลูกปลาเจริญเติบโตขึ้นในเดือนแรกจึงเพิ่มระดับน้ำสูงเป็นประมาณ 50 -60 ซม. หลังจากย่างเข้าเดือนที่สองควรเพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้น 10 ชม./อาทิตย์ จนระดับน้ำในบ่อมีความลึก 1.20 - 1.50 เมตร การถ่ายเทน้ำควรเริ่มตั้งแต่การเลี้ยงผ่านไปประมาณ 1 เดือน โดยถ่ายน้ำประมาณ 20 % ของน้ำในบ่อ 3 วัน/ครั้ง หรือถ้าน้ำในบ่อเริ่มเสียจะต้องถ่ายน้ำมากกว่าปกติ
4. การป้องกันโรค การเกิดโรคของปลาดุกที่เลี้ยงมักจะเกิดจาก ปัญหาคุณภาพของน้ำในบ่อเลี้ยงไม่ดี ชึ่งอาจเกิดจากสาเหตุของการให้อาหารมากเกินไปจนอาหารเหลือเน่าเสีย เราสามารถป้องกันไม่ให้เกิดโรคได้โดยต้องหมั่นสังเกตว่าเมือปลาหยุดกินอาหาร จะต้องหยุดให้อาหารทันที เพราะปลาดุกลูกผสมมีนิสัยชอบกินอาหารที่ให้ใหม่ โดยถึงแม้จะกินอิ่มแล้วถ้าให้อาหารใหม่อีกก็จะคายหรือสำรอกอาหารเก่าทิ้ง แล้วกินอาหารให้ใหม่อีกซึ่งปริมาณอาหาร ที่ให้ไม่ควรเกิน 4 - 5 % ของน้ำหนักตัวปลา
การเลี้ยงปลาให้ได้ขนาดตลาด
การเลี้ยงปลาดุกลูกผสมอุยเทศเพื่อให้ได้ขนาดตามที่ตลาดต้องการนั้นสามารถเลี้ยงได้ทั้งในบ่อดินและบ่อซีเมนต์
1. การเลี้ยงในบ่อซีเมนต์ ควรปรับสภาพของน้ำในบ่อที่เลี้ยงให้มี สภาพเป็นกลางหรือเป็นด่างเล็กน้อย แต่ต้องแน่ใจว่าบ่อซีเมนต์จะต้องหมดฤทธิ์ของปูน ระดับน้ำในบ่อเมื่อเริ่มปล่อยลูกปลาขนาด 2-3 ชม. ควรมีความลึกประมาณ 20-30 เซนติเมตร เมื่อลูกปลาเติบโตขึ้นค่อย ๆ เพิ่มระดับน้ำให้สูงขึ้นตามลำดับ โดยเพิ่มระดับน้ำประมาณ 5 ชม./อาทิตย์ให้อาหารเม็ดประมาณ 3-7 เปอร์เซ็นต์ของน้ำหนักตัวปลา โดยปล่อยปลาในอัตรา 50-70 ตัว/ตรม. ปลาจะเติบโตได้ขนาดประมาณ 100-200 กรัม/ตัว ในระยะเวลาเลี้ยงประมาณ 90 วัน อัตราการรอดประมาณ 80% ซึ่งอาหารที่ใช้เลี้ยงสามารถให้อาหารชนิดต่าง ๆ ทดแทนอาหารเม็ดได้ โดยใช้อาหารพวกไส้ไก่หรือปลาเป็ดผสมกับเศษอาหารก็ได้ แต่จำเป็นต้องถ่ายเทน้ำเพื่อป้องกันน้ำเสียยกว่าการถ่ายเทน้ำ เมื่อเลี้ยงด้วยอาหารเม็ด
2. การเลี้ยงในบ่อดิน การเลี้ยงในบ่อดินนั้น จะต้องเตรียมบ่อตามหลักการเตรียมบ่อเลี้ยงปลาทั่ว ๆ ไปดังนี้
1. จะต้องตากก้นบ่อให้แห้ง ปรับสภาพก้นบ่อให้สะอาด
2. ใส่ปูนขาวเพีอปรับสภาพของดินโดยใส่ปูนขาวในอัตราประมาณ 60 - 100 กก./ไร่
3. ใส่ปุ๋มคอกเพีอให้เกิดอาหารธรรพาติสำหริบลูกปลาในอัตราประมาณ 40 - 80 กก./ไร่
4. นำน้ำเข้าบ่อโดยกรองไม่ให้ศัตรูของลูกปลาติดเข้ามากับน้ำจนมีระดับน้ำลึก 30-40 ซม. หลังจากนั้นวันรุ่งขึ้นจึงปล่อยปลาและเพื่อให้ลูกปลามีอาหารกินควรเติมไรแดง ในอัตราประมาณ 5 กิโลกรัม เพื่อเป็นอาหารแก่ลูกปลาหลังจากนั้นจึงให้อาหารผสมแก่ลูกปลา ลูกปลาที่นำมาเลี้ยงควรตรวจดูว่ามีสภาทปกติ การปล่อยลูกปลาลงบ่อเลี้ยงจะต้องปรับสภาพอุณหภูมิของน้ำในถุงและน้ำในบ่อให้ เท่าๆกันก่อน โดยการแช่ถุงบรรจุลูกปลาในน้ำประมาณ 30 นาที จึงปล่อยลูกปลา เวลาที่เหมาะสมในการปล่อยลูกปลาควรเป็นตอนเย็นหรือตอนเช้า
โรคของปลาดุกเลี้ยง
ในกรณีที่มีการป้องกันอย่างดีแล้วแต่ปลาก็ยังป่วยเป็นโรค ซึ่งมักจะแสดงอาการให้เห็น โดยแบ่งอาการของโรคเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ดังนี้
1. การติดเชื้อจากแบคทีเรีย จะมีการตกเลือด มีแผลตามลำตัวและครีบ ครีบกร่อน ตาขุ่น หนวดหงิก กกหูบวม ท้องบวมมีน้ำในช่องท้องกินอาหารน้อยลงหรือไม่กินอาหาร ลอยตัว
2. อาการจากปรสิตเข้าเกาะตัวปลา จะมีเมือกมาก มีแผลตามลำตัว ตกเลือด ครีบเปื่อย จุดสีขาวตามลำตัว สีตามลำตัวซีดหรือเข้มผิดปกติเหงือกซีดว่ายน้ำทุรนทุราย ควงสว่านหรือไม่ตรงทิศทาง
3. อาการจากอาหารมีคุณภาพไม่เหมาะสม คือ ขาดวิตามินบีกระโหลกร้าว บริเวณใต้คางจะมีการตกเลือด ตัวคด กินอาหารน้อยลง ถ้าขาดวิตามินบีปลาจะว่ายน้ำตัวเกรงและชักกระตุก
4. อาการจากคุณภาพน้ำในบ่อไม่ดี ปลาจะว่ายน้ำขึ้นลงเร็กกว่าปกติลอยหัวครีบกร่อนเปื่อย หนวดหงิก เหงือกซีดและบวม ลำตัวซีด ไม่กินอาหาร ท้องบวม มีแผลตามตัว
อนึ่ง ในการรักษาโรดปลาควรจะได้พิจารณาให้รอบคอบก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ยาหรือสารเคมี สาเหตุของโรค ระยะรักษา ค่าใช้จ่ายในการรักษา
วิธีป้องกันโรค
1. ควรเตรียมบ่อและน้ำตามวิธีการที่เหมาะสมก่อนปล่อยลูกปลา
2. ชื้อพันธุ์ปลาจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าแข็งแรงและปราศจากโรค
3. หมั่นตรวจดูอาการของปลาอย่างสม่ำเสมอถ้าเห็นอาการผิดปกติต้องรีบหาสาเหตุและแก้ไขโดยเร็ว
4. หลังจากปล่อยปลาลงเลี้ยงแล้ว 3-4 วันควรสาดน้ำยาฟอร์มาลิน 2-3 ลิตร/ปริมาตร น้ำ 100 ตัน และหากปลาที่เลี้ยงเกิดโรคพยาธิภายนอกให้แก้ไขโดยสาดน้ำยาฟอร์มาลินในอัตรา 4 - 5 ลิตร/ปริมาตรน้ำ 100 ตัน
5. เปลี่ยนถ่ายน้ำจากระดับก้นบ่ออย่างสม่ำเสมอ
6. อย่าให้อาหารจนเหลือ
สารเคมีและยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษา
ชนิดของสารเคมี/ยา วัตถุประสงค์ ปริมาณที่ใช้
เกลือ กำจัดแบคทีเรียบางชนิดเชื้อราและปรสิตบางชนิดลดความเครียดของปลา 0.1-0.5%่ แช่ตลอด 0.5-1.0 % แช่ภายใต้การดูแลอย่างใกล้ชิด
ปูนขาว ฆ่าเชื้อก่อนปล่อยปลาปรับของดินและน้ำ 60-100 กิโลกรัม/ไร่ละลายน้ำแล้วสาดให้ทั่วบ่อ
คลอรีน ฆ่าเชื้ออุปกรณ์ต่าง ๆ ที่ใช้กับบ่อเลี้ยงปลา 10พีพีเอ็มแช่ 30 นาที แล้วล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนใช้
ดิพเทอร์เร็กซ์ กำจัดปลิงใส เห็บปลา หนอนสมอ 0.25-0.5 พีพีเอ็มแช่ตลอดยาที่ใช้ควรเป็นผงละเอียดสีขาวถ้ายาเปลี่ยนเป็นของเหลวไม่ควรใช้
ฟอร์มาลิน กำจัดปรสิตภายนอกทั่วไป 25-50 พีพีเอ็มแช่ตลอดระหว่างการใช้ควรระวังการขาดออกซิเจนในน้ำ
ออกซีดเตตร้าซัยคลิน กำจัดแบคทีเรีย ผสมกับอาหารในอัตรา 3-5 กรัม/อาหาร 1 กิโลกรัมให้กินนาน 7-10วันติดต่อกันแช่ในอัตรา 10-20 กรัมต่อน้ำ 1 ตันนาน 5-7 วัน
คลอแรมฟินิคอล <กำจัดแบคทีเรีย <ผสมกับอาหารอัตรา 1 กรัมอาหาร 1 กิโลกรัมหนึ่งสัปดาห์บางครั้งก็ใช้ไม่ได้ผลเนื่องจากเชื้อแบคทีเรียดื้อยา
การเปรียบเทียบต้นทุนการผลิตและผลตอบแทนกับปลาน้ำจืดชนิดอื่น
รายการ ดุกบิ๊กอุย ช่อน นิล ตะเพียน
ต้นทุนทั้งหมดต่อไร่(บาท) 48,834.07 411,297.83 6,151.25 9,832.84
ผลผลิตต่อไร่ (กก.) 3,191.32 19,163.07 888.27 1,120.48
เกษตรกรขายได้ (บาท) 20.25 46.22 11.35 15.16
พันธุ์ปลาที่ปล่อย (ตัว/ตรม.) 25-30 25-30 5-6 2-3
กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อ กก. (บาท) 4.95 5.75 4.43 6.39
กำไรสุทธิเฉลี่ยต่อไร่ (บาท) 15,790.16 58,439.27 3,930.61 7,162.64
ระยะเวลาในการเพาะเลี้ยง (เดือน) 5.25 6.85 10.49 10.83
ผลตอบแทนการลงทุน (ร้อยละ) 32.35 14.21 64.02 72.86
ปริมาณการเพาะเลี้ยง
การจำหน่ายผลผลิตปลาดุกในราคาเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดเป็นรายภาคปี 2535 ดังนี้
ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 44.92 บาท
จังหวัดอุทัยธานี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 19.26 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุดรธานี ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 70.23 บาท
จังหวัดนครราชสีมา ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.89 บาท
ภาคกลาง
จังหวัดชัยนาท ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 28.61 บาท
จังหวัดลพบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.38 บาท
ภาคตะวันออก
จังหวัดสมุทรปราการ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 68.49 บาท
จังหวัดนครนายก ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.86 บาท
ภาคตะวันตก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 30.95 บาท
จังหวัดกาญจนบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.07 บาท
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 54.48 บาท
จังหวัดพัทลุง ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 23.20 บาท
สำหรับในปี 2538 ราคาปลาดุกไตรมาสแรก (เดือนมกราคม-มีนาคม 2538) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.63 บาทแลไตรมาสที่สอง (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท (จุลสารเศรษฐกิจการประมง กรมประมง)
จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าต้นทุนการผลิตปลาดุกบิ๊ก อุยในปี 2535 โดยเฉลี่ยต่อไร่เป็นเงิน 48,834.07 บาท จำหน่ายได้ไร่ละ 64,624.23 บาทมีกำไรสุทธิ 15,790.16 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 15.30 บาทมีกำไรสุทธิเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.95 บาทได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 32.35
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ระหว่างปลาดุกบิ๊กอุยกับปลาช่อนในปี 2535 พบว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 411,297.83 บาท จำหน่ายผลผลิตมีรายได้ 469,737.10 บาทต่อไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 40.47 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 5.75บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 14.21
เกี่ยวกับผลการศึกษาจำนวนฟาร์มเนื้อที่ ปริมาณและมูลค่าการเลี้ยงปลาน้ำจืดในปี 2534 ของกองเศรษฐกิจการประมง กรมประมงมีดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 15,444ฟาร์มเนื้อที่ 15,430 ไร่ ปริมาณผลผลิต 13,298.46 ตัน มูลค่า 288.1 ล้านบาท ได้แก่พื้นที่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 29,226 ฟาร์ม เนื้อที่ 46,501 ไร่ ปริมาณผลผลิต 11,334.13 ตัน มูลค่า 264.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี ภาคกลาง จำนวน 14,172 ฟาร์ม เนื้อที่ 77,322 ไร่ ปริมาณผลผลิต 85,199.22 ตัน มูลค่า 1,614.5 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ จำนวน 5,897 ฟาร์ม เนื้อที่ 1,925 ไร่ ปริมาณผลผลิต 5,076.94 ตัน มูลค่า 156.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา
ราคาจำหน่ายและผลผลิต

การจำหน่ายผลผลิตปลาดุกในราคาเฉลี่ยสูงสุดและต่ำสุดเป็นรายภาคปี 2535 ดังนี้

ภาคเหนือ
จังหวัดเชียงใหม่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 44.92 บาท
จังหวัดอุทัยธานี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 19.26 บาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
จังหวัดอุดรธานี ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 70.23 บาท
จังหวัดนครราชสีมา ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.89 บาท
ภาคกลาง
จังหวัดชัยนาท ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 28.61 บาท
จังหวัดลพบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.38 บาท
ภาคตะวันออก
จังหวัดสมุทรปราการ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 68.49 บาท
จังหวัดนครนายก ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.86 บาท
ภาคตะวันตก
จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 30.95 บาท
จังหวัดกาญจนบุรี ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 20.07 บาท
ภาคใต้
จังหวัดกระบี่ ราคาปลาดุกสูงสุด กิโลกรัมละ 54.48 บาท
จังหวัดพัทลุง ราคาปลาดุกต่ำสุด กิโลกรัมละ 23.20 บาท
สำหรับในปี 2538 ราคาปลาดุกไตรมาสแรก (เดือนมกราคม-มีนาคม 2538) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 32.63 บาทและไตรมาสที่สอง (เดือนเมษายน-พฤษภาคม) เฉลี่ยกิโลกรัมละ 33.97 บาท (จุลสารเศรษฐกิจการประมง กรมประมง)
จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรพบว่าต้นทุนการผลิตปลาดุกบิ๊ก อุยในปี 2535 โดยเฉลี่ยต่อไร่เป็นเงิน 48,834.07 บาท จำหน่ายได้ไร่ละ 64,624.23 บาทมีกำไรสุทธิ 15,790.16 บาทต่อไร่ ส่วนต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 15.30 บาทมีกำไรสุทธิเฉลี่ยกิโลกรัมละ 4.95 บาทได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 32.35
หากเปรียบเทียบต้นทุนการผลิต ระหว่างปลาดุกบิ๊กอุยกับปลาช่อนในปี 2535 พบว่าต้นทุนการผลิตเฉลี่ยไร่ละ 411,297.83 บาท จำหน่ายผลผลิตมีรายได้ 469,737.10 บาทต่อไร่ สำหรับต้นทุนการผลิตต่อกิโลกรัมเป็นเงิน 40.47 บาท มีกำไรสุทธิเฉลี่ย 5.75บาทต่อกิโลกรัม ได้รับผลตอบแทนของการลงทุนร้อยละ 14.21
เกี่ยวกับผลการศึกษาจำนวนฟาร์มเนื้อที่ ปริมาณและมูลค่าการเลี้ยงปลาน้ำจืดในปี 2534 ของกองเศรษฐกิจการประมง กรมประมงมีดังนี้ ภาคเหนือ จำนวน 15,444ฟาร์มเนื้อที่ 15,430 ไร่ ปริมาณผลผลิต 13,298.46 ตัน มูลค่า 288.1 ล้านบาท ได้แก่พื้นที่จังหวัด นครสวรรค์ พิษณุโลก เพชรบูรณ์ อุทัยธานี ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จำนวน 29,226 ฟาร์ม เนื้อที่ 46,501 ไร่ ปริมาณผลผลิต 11,334.13 ตัน มูลค่า 264.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดอุดรธานี นครราชสีมา หนองคาย อุบลราชธานี ภาคกลาง จำนวน 14,172 ฟาร์ม เนื้อที่ 77,322 ไร่ ปริมาณผลผลิต 85,199.22 ตัน มูลค่า 1,614.5 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัดสมุทรปราการ กรุงเทพมหานคร สุพรรณบุรี ฉะเชิงเทรา ภาคใต้ จำนวน 5,897 ฟาร์ม เนื้อที่ 1,925 ไร่ ปริมาณผลผลิต 5,076.94 ตัน มูลค่า 156.7 ล้านบาท ในพื้นที่จังหวัด สุราษฎร์ธานี สตูล สงขลา
การตลาด
1. ตลาดกลางที่เป็นแหล่งซื้อขายปลาน้ำจืดขนาดใหญ่ ได้แก่ ตลาดบางปะกง ฉะเชิงเทรา ตลาดรังสิต ปทุมธานี ตลาดลาดกระบัง กรุงเทพฯ และสะพานปลา กรุงเทพฯ จากการศึกษาวิถีการตลาดปลาในภาคอีสานของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ พบว่าปลาน้ำจืด (ปลาดุก ปลาช่อน และปลาหมอเทศ) ซึ่งขนส่งในลักษณะแช่น้ำไว้ระหว่างการขนส่งและวางขายในตลาดนั้นจะผ่านมือผู้ รวบรวมจากภาคกลางแล้วสงให้พ่อค้าขายส่งมือ 1,2 จนกระทั่งถึงพ่อค้าขายปลีก
2. การบริโภคภายในประเทศ จากผลผลิตปลาดุกเฉลี่ยในปี 2530 จำนวน 13,900 ตันถ้าจำนวนประชากรมีประมาณ 52 ล้านคน ก็จะบริโภคปลาดุกเฉลี่ย 0.27 กก./คน/ปี เท่านั้นแต่จากการศึกษาของมหาวิทยาลัยขอนแก่นพบว่าในภาคอีสานบริโภคปลาน้ำ จืดเฉลี่ย 21.3 กก./คน/ปี ในจำนวนนี้เป็นปลาช่อน 7 กก./คน/ปี ปลาดุก 3.6 กก./คน/ปี ปลาหมอ 1.8 กก./คน/ปี นอกนั้นเป็นปลานิลตะเพียนและปลาอื่นๆ ปริมาณปลาดุกที่บริโภค 3.6 กก./คน/ปี นั้นร้อยละ 18.6 ได้จากการซื้อมา ดังนั้นคนอีสาน 1 คน ซื้อปลาดุกบริโภคเฉลี่ย 0.67 กก./คน/ปี ซึ่งสูงกว่าปริมาณเฉลี่ยทั้งประเทศ
3. ราคา จากการศึกษาของสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร เกี่ยวกับ ราคาสัตว์น้ำที่ชาวประมงขายได้ พบว่า การเพิ่มขึ้นของราดาปลาน้ำจืด โดยเฉพาะ ปลาช่อนและปลาดุกมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นในอัตราร้อยละ 5.85 และ 5.05 ตามลำดับ ซึ่งอัตราการเพิ่มสูงขึ้นของราคาปลาน้ำจืดนี้มีแนวโน้มสูงมากกว่า สัตว์น้ำจากทะเล
การตลาด พิจารณาฟาร์มเฉลี่ยต่อกิโลกรัมของสัตว์น้ำจืดสำคัญ ๆ เปรียบเทียบกันจะเห็นว่าอัตราการเพิ่มขึ้นของราคาฟาร์มของปลาดุกสูงขึ้นถึง ร้อยละ 25.63 ซึ่งสูงมากที่สุด ส่วนปลาช่อนนั้นอัตราเพิ่มขึ้นของราคาเพียงร้อยละ 3.6 เท่านั้นส่วนราคากุ้งก้ามกรามนั้นลดลงร้อยละ 9.01 จากปี 2529 สำหรับราคาฟาร์มเฉลี่ยในแต่ละภาคนั้นจะเห็นว่าราคาฟาร์มในภาคใต้ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือนั้นสูงมากกว่าภาคกลาง และภาคตะวันตกและภาคตะวันออก และถ้าเป็นรายจังหวัดแล้วจะเห็นว่าราคาฟาร์ม ในจังหวัดสตูลและสงขลานั้นสูงสุดกล่าวคือราคาปลาดุก ณ ฟาร์มสูงถึงกิโลกรัมละ 40 บาท ซึ่งแสดงว่าปริมาณผลิตนั้นมีผลกระทบกับราคาฟาร์มกล่าวคือ ในภาคกลาง และภาคตะวันตก ซึ่งมีการกระจุกตัวกันของแหล่งผลิตมากทำให้ราคาฟาร์มเฉลี่ยนั้นต่ำกว่าภาค อื่น ๆ ซึ่งมีการกระจายตัวของแหล่งผลิตมากกว่า
แนวโน้มการตลาด
1. ปลาดุกบิ๊กอุยเป็นปลาเลี้ยงง่ายเจริญเติบโตเร็วจึงมีเกษตรกรนิยมเลี้ยงเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้ราคาปลาดุกไม่เคลื่อนไหวมากนัก
2. เนื่องจากอุปนิสัยของคนไทยซึ่งนิยมบริโภคเนื้อปลาอยู่แล้ว ถ้าสามารถลดต้นทุนการผลิตเพื่อให้ราคาต่ำลงได้แล้วจะทำให้การบริโภคสูงขึ้น
3. ผลผลิตจากแหล่งน้ำธรรมชาติลดลงอันเนื่องมาจากแหล่งน้ำเสื่อมโทรมก็จะมีผลทำให้ มีการบริโภคปลาจากการเพาะเลี้ยงมากขึ้น
4. เมื่อมีการเลี้ยงแบบอุตสาหกรรม ซึ่งสามารถควบคุมปริมาณและคุณภาพของปลาดุกได้แล้วก็มีโอกาสในการแข่งขันในระดับต่างประเทศมากขึ้น
5. ในปัจจุบันมีการรณรงค์บริโภคอาหารโปรตีนจากเนื้อปลา เพราะให้โปรตีนสูง ย่อยง่ายและยังมีราคาถูกด้วย
ปัญหาและอุปสรรค
1. ส่วนเหลื่อมการตลาด(Market Margin)ของปลาดุกซึ่งต้องแช่น้ำตลอดจนทั้งนี้เพราะผู้บริโภคนิยมบริโภคแบบมี ชีวิตทำให้ส่วนเหลื่อมการตลาดสูง จากการศึกษาของมหาวิทยาลัย เกษตรศาสตร์ พบว่าส่วนเหลื่อมการตลาดของปลาน้ำจืดเฉลี่ยกิโลกรัมละ 14 บาท
2. สำหรับตลาดในประเทศนั้นยัง มีการแข่งขันกับปลาดุกจากแหล่งน้ำธรรมชาติในบางช่วงฤดู โดยเฉพาะในฤดูฝน ดังนั้นการผลิตและตลาดควรคำนึงถึงฤดูกาลด้วย
3. ตลาดต่างประเทศ ยังค่อนข้างจำกัด เนื่องมาจากการเผยแพร่ผลิตภัณฑ์แปรรูปยังไม่กว้างขวางเหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่น

วันอาทิตย์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

การปลูกยางพาราให้ประสบผลสำเร็จ

26 comments March 4th, 2009

สวน ยางพารา
ปลูกยางอย่างไร จึงประสบผลสำเร็จ

ยางพารา เป็นพืชที่ปลูกเพื่อหวังผลผลิตในระยะยาว จนอายุมากกว่า 20 ปี ขึ้นไป หากเกษตรกรปลูกในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม ไม่เพียงแต่เกษตรกรเองที่ต้องสูญเสียเงินที่ลงทุนลงแรงไป เสียทั้งเวลาและโอกาสแล้ว ยังทำให้ส่งผลกระทบต่อผลผลิตและเศรษฐกิจของประเทศอย่างน่าเสียดาย การปลูกยางเกษตรกรควรคำนึงถึงปัจจัยสำคัญ ได้แก่ พื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วัสดุปลูก วิธีการปลูกตั้งแต่การเตรียมพื้นที่ปลูก การปลูก รวมไปถึงการดูแลรักษาสวนยางอย่างถูกต้อง เช่น การใส่ปุ๋ย การปลูกพืชคลุม การตัดแต่งกิ่ง ฯลฯ เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโตเปิดกรีดได้เร็ว และให้ผลผลิตสูงอย่างสม่ำเสมอ

คุณสุขุม วงษ์เอก ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร บอกว่า การปลูกสร้างสวนยางเกษตรกรจำเป็นต้องเลือกพื้นที่ที่เหมาะสมกับการปลูกยาง เสียก่อน เพราะปัจจุบันมีเกษตรกรจำนวนไม่น้อยที่ปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม เช่น ในพื้นที่นาข้าว พื้นที่ลุ่มน้ำขัง พื้นที่ที่เป็นดินเค็ม ดินด่าง ดินปลวก และดินที่มีหินกรวดอัดแน่น หรือเป็นแผ่นหินแข็ง ทำให้ต้นแคระแกร็นไม่เจริญเติบโต ต้นเล็กไม่ได้ขนาดเปิดกรีดเมื่ออายุ 7 ปี ทำให้ได้ผลผลิตต่ำ นอกจากนี้ รากแขนงของต้นยางยังไม่สามารถใช้น้ำในฤดูแล้ง ยิ่งถ้าช่วงแล้งยาวนานก็จะทำให้ต้นยางตายจากยอดได้ง่าย

เกษตรกรจึง ควรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร โดยให้พิจารณาในเรื่องของดินและภูมิอากาศเป็นปัจจัยหลัก โดยเฉพาะสภาพพื้นที่ ต้องเป็นพื้นที่ราบ แต่ถ้าเป็นพื้นที่ลาดชันก็ไม่ควรเกิน 35 องศา

ถ้าความลาดชันเกิน 15 องศา จำเป็นต้องทำขั้นบันไดเพื่อป้องกันต้นยางโค่นล้มได้ง่ายด้วยแรงลม พื้นที่ควรมีระดับความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 600 เมตร เพราะถ้าสูงเกิน จะทำให้การเจริญเติบโตลดลง นอกจากนี้ ควรมีหน้าดินลึกไม่น้อยกว่า 1 เมตร มีการระบายน้ำดี ไม่มีชั้นหินหรือชั้นดินดาน ระดับน้ำใต้ดินควรต่ำกว่าระดับผิวดินมากกว่า 1 เมตร ดินเป็นดินร่วนเหนียวถึงดินร่วนทราย และมีค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ระหว่าง 4.5-5.5 นอกจากนี้ ควรมีปริมาณน้ำฝนเพียงพอไม่น้อยกว่า 1,250 มิลลิเมตร ต่อปี และมีจำนวนวันฝนตกไม่น้อยกว่า 120-150 วัน ต่อปี

หากเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่เหมาะสมดังกล่าว นอกจากต้นยางจะเจริญเติบโตไวแล้ว ยังให้ผลผลิตสูงและคุ้มค่ากับที่ลงทุนไป แต่ในทางตรงข้ามถ้าเกษตรกรปลูกยางในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสม และเกิดปัญหาภัยแล้งอย่างต่อเนื่อง

สวนยางที่เพิ่งปลูกใหม่และสวนยางที่เปิดกรีดแล้วจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้นยางยืนต้นตาย ซึ่งมักพบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคเหนือ

การแก้ไข เกษตรกรก็สามารถทำได้ด้วยการใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เช่น ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงโครงสร้างของดิน เพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ทำให้ดินร่วนซุย อุ้มน้ำได้ดี และช่วยรักษาความชื้นในดิน การใช้วัสดุคลุมดินรอบโคนต้นยาง การใส่ปุ๋ยบำรุงต้นยางด้วยปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ก็จะทำให้ต้นยาง สมบูรณ์แข็งแรงยิ่งขึ้น หรือแม้กระทั่งการขุดคูระบายน้ำให้มีความลึกมากกว่า 2 เมตร จากระดับผิวดิน ในกรณีดินมีน้ำท่วมขัง การช่วยบำรุงต้นยางเพิ่มขึ้นโดยวิธีต่างๆ เหล่านี้ จะช่วยให้ต้นยางเจริญเติบโตได้ดี แต่มีค่าใช้จ่ายมากขึ้นด้วยเช่นกัน

หลังจากเลือกพื้นที่ปลูกได้แล้ว ถ้าจะปลูกยางให้ประสบผลสำเร็จสูง เพื่อให้ต้นยางเจริญเติบโต เปิดกรีดได้เร็วขึ้นนั้น มีขั้นตอนการปลูกยาง ดังนี้

การเตรียมพื้นที่ปลูกยางพารา

โดยการไถพลิกและไถพรวน อย่างน้อย 2 ครั้ง พร้อมเก็บตอไม้ เศษไม้ และเศษวัชพืชออกให้หมด เพื่อปรับสภาพพื้นที่ให้เหมาะสมต่อการปลูกยางทั้งในด้านการปฏิบัติงานและการ อนุรักษ์ดินและน้ำ และเพื่อสะดวกในการเข้าไปดูแลบำรุงรักษา และเก็บเกี่ยวผลผลิตน้ำยาง

วางแนวปลูกต้นยางพารา

กำหนดแถว หลักของต้นยางโดยให้วางขวางทางการไหลของน้ำ เพื่อลดการชะล้างหน้าดินและการพังทลายของดิน ให้แถวหลักห่างจากเขตสวนเก่า ไม่น้อยกว่า 1.5 เมตร พร้อมขุดคูตามแนวเขตสวน เพื่อป้องกันโรครากยางและการแย่งธาตุอาหาร จากนั้นวางแนวปลูกด้วยการปักไม้ชะมบตามระยะปลูก สำหรับพื้นที่ลาดเทมากกว่า 15 องศา ให้วางแนวปลูกตามแนวระดับและทำขั้นบันได ควรทำให้เสร็จสิ้นก่อนฤดูฝน (มีนาคม-ต้นเมษายน)

ระยะปลูกต้นยางพารา

ถ้า เป็นพื้นที่ราบในเขตปลูกยางเดิมภาคใต้ ใช้ระยะปลูก 2.5x 8 เมตร หรือ 3×7 เมตร จะปลูกยางได้ 80 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่ ตามลำดับ ส่วนพื้นที่ราบในเขตปลูกยางใหม่ ใช้ระยะปลูก 2.5×7 เมตร หรือ 3×6 เมตร หรือ 3×7 เมตร มีจำนวนต้นยาง 91 ต้น หรือ 88 ต้น หรือ 76 ต้น ต่อไร่

ขนาด ของหลุม ขุดหลุมให้มีขนาด 50×50x50 เซนติเมตร โดยขุดดินด้านใดด้านหนึ่งของไม้ชะมบไปในทางเดียวกัน ไม่ต้องถอนไม้ออก แยกดินส่วนบนและส่วนล่างไว้คนละกอง ผึ่งแดดประมาณ 1 สัปดาห์ พอดินแห้งย่อยดินให้ละเอียด นำดินส่วนบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ใส่ด้านบน

วิธีปลูกยางพารา

การปลูกยางให้ถูกวิธี โดยเฉพาะในพื้นที่แหล่งใหม่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือ ควรปลูกในช่วงต้นฤดูฝนตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงเดือนกรกฎาคม จะให้ผลสำเร็จสูง มีจำนวนต้นยางรอดตาย 87-94% โดยใช้ต้นยางชำถุงพันธุ์ดี มีขนาด 1-2 ฉัตร และฉัตรยอดต้องแก่เต็มที่ เลือกต้นที่สมบูรณ์แข็งแรง ไม่มีโรคและแมลงศัตรู เกษตรกรสามารถเลือกพันธุ์ยางแนะนำของกรมวิชาการเกษตร ซึ่งเป็นพันธุ์ยางชั้น 1 ที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูง จะเห็นได้ว่าเกษตรกรในเขตปลูกยางใหม่ นิยมปลูกยางพันธุ์ RRIM 600 มากกว่าร้อยละ 95 แต่ก็ยังมีพันธุ์อื่นที่ให้ผลผลิตน้ำยางสูงเช่นกัน ได้แก่ พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 251 พันธุ์สถาบันวิจัยยาง 226 พันธุ์ BPM 24 นอกจากพันธุ์ที่ให้น้ำยางแล้ว เกษตรกรยังสามารถเลือกพันธุ์ที่ให้ผลผลิต

น้ำยางและเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ PB 235 พันธุ์ PB 255 ฯลฯ หรือพันธุ์ที่ให้ผลผลิตเนื้อไม้สูง เช่น พันธุ์ฉะเชิงเทรา 50 พันธุ์ AVROS 2037 พันธุ์ BPM 24 พันธุ์ดังกล่าวเกษตรกรสามารถหาซื้อได้ตามแหล่งขยายพันธุ์ต้นยางที่จดทะเบียน กับกรมวิชาการเกษตร ในแหล่งปลูกยางจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียงได้

การปลูกด้วยต้นยางชำถุงจึงเป็นวิธีที่ปลูกได้ผลสูงกว่าวิธีการปลูกด้วย ต้นตอตา ยาง หรือติดตายางในแปลง เนื่องจากการปลูกยางในพื้นที่แหล่งใหม่มีปริมาณน้ำฝนและจำนวนวันฝนตกน้อย กว่าในเขตปลูกยางเดิมในภาคใต้ การปลูกด้วยต้นยางชำถุง ทำให้ต้นยางเจริญเติบโตสม่ำเสมอ ลดเวลาการดูแลรักษาต้นยางอ่อนให้สั้นลง ทำให้กรีดได้เร็วขึ้น เมื่อเลือกต้นยางชำถุงได้แล้ว ในกรณีที่มีการขนส่งควรระวังอย่าให้ดินในถุงแตกและให้หันลำต้นไปในทิศทาง เดียวกัน เพื่อป้องกันการกระทบกระแทกกัน หลังการขนส่งให้ตัดรากที่ม้วนเป็นก้อนอยู่ก้นถุงหรือที่ทะลุถุงออก นำมาวางเรียง 2-3 แถว ในแถวเดียวกัน โดยให้หันลำต้นไปในทางเดียวกัน เพื่อให้ต้นยางมีโอกาสพักปรับตัว ประมาณ 1 สัปดาห์ จึงย้ายลงปลูก โดยหันแผ่นตาไปทางทิศเหนือ-ใต้ ให้รอยต่อระหว่างรากกับตาอยู่ระดับปากหลุม จากนั้นใช้มีดเฉือนก้นถุงออก ประมาณ 2-3 เซนติเมตร นำไปวางในหลุมที่ขุดเตรียมไว้ จากนั้นใช้มีดกรีดข้างถุงให้ขาดออกจากกันทั้ง 2 ด้าน แต่อย่าเพิ่งดึงถุงออก เพราะจะทำให้ดินในถุงแตก จากนั้นจึงกลบดินประมาณครึ่งหลุม โดยนำดินชั้นบนใส่ก้นหลุม ส่วนดินชั้นล่างที่ผสมกับปุ๋ยหินฟอสเฟต อัตรา 170 กรัม คลุกเคล้าร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ประมาณ 3-5 กิโลกรัม ต่อหลุม ให้ใส่ไว้ด้านบน จากนั้นจึงดึงถุงออก กลบดินจนเสมอปากหลุม เหยียบดินรอบๆ ต้นยางให้แน่น โดยพูนดินโคนต้นยางให้สูงเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขังในหลุม เสร็จแล้วใช้เศษพืชคลุมบริเวณโคนต้นยางให้มีรัศมี 50-80 เซนติเมตร โดยให้ห่างจากต้นยาง 5-10 เซนติเมตร เพื่อรักษาความชื้นในดิน

คุณ สุขุม แนะนำว่า หลังจากปลูกยางแล้ว ยางจะให้ผลผลิตสูงหรือไม่ขึ้นอยู่กับการจัดการและการปฏิบัติดูแลบำรุงรักษา สวนยางเป็นอย่างดี ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่สุดที่จะทำให้การปลูกสร้างสวนยางประสบผลสำเร็จและให้ ผลผลิตสูงได้ เช่น การใส่ปุ๋ยอย่างถูกต้องถูกวิธีในอัตราและเวลาตามคำแนะนำของสถาบันวิจัยยาง การตัดแต่งกิ่งในช่วงปีที่ 1-2 เพื่อให้มีพื้นที่กรีด และปล่อยให้ต้นยางสร้างทรงพุ่มต่อไปโดยธรรมชาติ นอกจากนี้ เกษตรกรควรหมั่นดูแลสวนยางไม่ให้มีวัชพืชขึ้นรกด้วยการปลูกพืชคลุมดินตระกูล ถั่ว เพิ่มธาตุไนโตรเจนให้แก่ดิน หรือจะปลูกพืชแซมยางในช่วง 1-3 ปี ก็เป็นวิธีที่ได้ผลดี ทำให้มีรายได้ก่อนเปิดกรีด หรือใช้วิธีถากรอบโคนต้นยาง หรือไถพรวนปีละ 2 ครั้ง โดยทำในช่วงต้นฝนและปลายฤดูฝนก่อนการใส่ปุ๋ย จะทำให้ต้นยางได้ใช้ปุ๋ยอย่างเต็มที่ พร้อมหมั่นตรวจตราดูแลในเรื่องโรคและแมลง เพื่อหาวิธีป้องกันการระบาดเสียแต่เนิ่นๆ ไม่ให้เกิดความเสียหายแก่สวนยาง พอถึงช่วงฤดูแล้งควรคลุมโคนต้นยาง ก็ช่วยให้ยางรอดตายได้ หรือไม่ก็ทาปูนขาว หรือสีน้ำมันบริเวณโคนต้นยาง นอกจากจะป้องกันเปลือกไหม้จากแสงแดดได้แล้ว ยังช่วยลดการสูญเสียน้ำของต้นยางอีกด้วย

หากเกษตรกรท่านใดคิดจะ ปลูกยางในช่วงต้นพฤษภาคมนี้ ต้องมีความพร้อมทั้งในเรื่องของการเลือกพื้นที่ปลูก พันธุ์ยาง วิธีการปลูกที่ถูกวิธี และหัวใจสำคัญของการปลูกยางก็คือ การปฏิบัติต่อต้นยางเป็นอย่างดี เชื่อว่าการปลูกสร้างสวนยางย่อมประสบผลสำเร็จและให้ผลตอบแทนที่คุ้มค่าอย่าง แน่นอน เกษตรกรท่านใดต้องการทราบรายละเอียดเพิ่มเติม โปรดติดต่อสอบถามได้ที่ สถาบันวิจัยยาง กรมวิชาการเกษตร จตุจักร กทม. 10900 โทร. (02) 579-7557-8 ต่อ 181,

การเลี้ยงปลาคาร์ป

No comments December 23rd, 2009

ปลาคาร์ป
การเลี้ยงปลาคาร์ปในปัจจุบัน

จริงอยู่ราคาซื้อ-ขายปลาคาร์ปจะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับสภาพเศรษฐกิจเป็นสำคัญ เพราะปลาสวยงามชนิดนี้จะเป็นของฟุ่มเฟือยก็ว่าได้

สำหรับ คุณประหยัด สิงห์บุปผา ชาวจังหวัดปทุมธานี มีอาชีพเลี้ยงและจำหน่ายปลาคาร์ปมานานกว่า 10 ปี ได้บอกถึงเสน่ห์ของปลาคาร์ป ผู้เลี้ยงสามารถสร้างมูลค่าของปลาเพิ่มได้ไม่ยาก โดยเฉพาะปลาคาร์ปที่เลี้ยงยิ่งนานปีและมีความสวยงาม ตัวใหญ่จะเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางในหมู่คนไทยที่มีฐานะดี ถึงแม้สภาวะเศรษฐกิจไทยจะถดถอยลงไปแต่ฟาร์มเพาะเลี้ยงปลาคาร์ป ยังมีจำนวนมาก

ปัจจุบันฟาร์มที่เลี้ยงปลาคาร์ปในประเทศไทยจะแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ ๆ คือ ฟาร์มของคนที่มีฐานะและมีเงินลงทุนมาก จะต้องมีการสร้างฟาร์มด้วยบ่อซีเมนต์และมีระบบกรองน้ำที่ดีมีประสิทธิภาพ และมักจะนิยมสั่งซื้อพันธุ์ปลาคาร์ป เกรด A จากต่างประเทศมาเลี้ยง อีกกลุ่มหนึ่งจัดเป็นฟาร์มระดับชาวบ้านที่มุ่งเพาะขยายพันธุ์เพื่อผลิตลูก ปลาขายเป็นหลัก ไม่เน้นการคัดสายพันธุ์มากนัก เนื่องจากเน้นตลาดล่างหรือตลาดซื้อปลาสวยงามทั่ว ๆ ไป อย่างไรก็ตามผลผลิตลูกปลาบางฟาร์มของกลุ่มนี้ส่งออกลูกปลาคาร์ปไปยังตลาด ต่างประเทศอีกด้วย สำหรับฟาร์มของคุณประหยัดจะเลี้ยงปลาคาร์ปในบ่อดิน แต่มีการเอาใจใส่ในเรื่องของคุณภาพน้ำที่จะต้องมีความสะอาดอาหารที่ใช้ เลี้ยงจะใช้อาหารเม็ดประเภทปลากินพืช เช่น อาหารปลาดุก

คุณประหยัดบอกว่าในการคัดเลือกลูกปลาคาร์ป ออกจำหน่ายจะเริ่มต้นจากลูกปลาที่ขนาดความยาวของลำตัว 3 นิ้วขึ้นไป โดยแบ่งเกรดการขายออกเป็น 3 ระดับ เกรดเอ ปลาคัดสวยพิเศษขนาดลำตัว 3 นิ้วขึ้นไป จะมีราคาจำหน่ายเริ่มต้นที่ 100 บาทขึ้นไป, เกรดบี จะจำหน่ายตัวละ 10 บาทและเกรดซีจะขายเป็นปลาถุงราคาตัวละ 6 บาท สำหรับปลาคาร์ปเกรดเอที่มีสีและลักษณะของลำตัวสวยและมีขนาดลำตัวยาวกว่า 50 เซนติเมตร ราคาขายอาจจะถึงหลักหมื่นก็มี ทุกวันนี้คุณประหยัดจะบรรจุปลาคาร์ปหลากสีสันโดยบรรจุถุงละ 30 ตัว นำไปจำหน่ายที่ตลาดนัดจตุจักรทุกวันตลาดขายลูกปลาคาร์ปของคุณประหยัดจะอยู่ ภายในประเทศเป็นหลักคือขายส่งให้พ่อค้าปลาสวยงามตามต่างจังหวัด ตลาดยังพอไปได้เนื่องจากปลาคาร์ปยังจัดเป็นปลาสวยงามที่เลี้ยงง่ายและค่อน ข้างทนต่อทุกสภาพแวดล้อม

สำหรับเรื่องของการผสมพันธุ์ปลาคาร์ปไม่ใช่เรื่องยุ่งยาก แม่ปลาหลังจากฉีดฮอร์โมนจะถูกนำมาปล่อยในบ่อปูนซีเมนต์ขนาดความกว้างของบ่อ 2.50 เมตร,ยาว 3 เมตรและมีระดับความสูงของน้ำ 50 เซนติเมตร ภายในบ่อมีพ่อพันธุ์อยู่แล้ว และมีท่อออกซิเจนและเชือกฟางฝอยเพื่อให้ไข่ปลายึดติด เพราะธรรมชาติของไข่ปลาคาร์ปเป็นไข่ลอย สัดส่วนของการปล่อยพ่อ-แม่พันธุ์ในบ่อขนาดนี้จะปล่อยแม่พันธุ์ จำนวน 2 ตัวและพ่อพันธุ์ จำนวน 5 ตั

หลังสอบตกจากการลงเลือกตั้งสมาชิกสภา องค์การบริหารส่วนจังหวัดอุบลราชธานี (ส.อบจ.) สมัยที่แล้ว ทำให้ “ประเสริฐ โพนะทา” อดีต ส.อบจ.เขต อ.ตาลสุม หันชีวิตเข้าสู่การเป็นเกษตรกรผู้เพาะเห็ดและทำก้อนเห็ดส่งขายอย่างเต็มตัว จากเดิมที่ทำเป็นเพียงอาชีพเสริมเท่านั้น ทำให้ปัจจุบันมีรายได้เป็นกอบเป็นกำจากการขายดอกเห็ด และทำก้อนเห็ดขาย โดยไม่หวั่นแม้ว่าเศรษฐกิจของบ้านเมืองกำลังซบเซา

ประเสริฐเล่าว่า เดิมมีอาชีพเป็นตำรวจ และชอบด้านการเกษตร-ปศุสัตว์อยู่บ้าง โดยก่อนหน้านั้นได้เลี้ยงหมู จากนั้นมีโอกาสเดินทางไปศึกษาดูงานที่ จ.กาฬสินธุ์ ทำให้ได้ความรู้เกี่ยวกับการเพาะเห็ดขาย จึงนำความรู้นั้นมาลองทำ

โดยเริ่มปี 2537 จากการซื้อก้อนเห็ดสำเร็จ รูปมาเพาะในโรงเรือน เพื่อเก็บดอกขาย ซึ่งพบว่ารายได้จากการจำหน่ายค่อนข้างดี เมื่อเทียบกับการเลี้ยงหมูที่ต้องใช้เงินทุนสูงมาก จึงเริ่มไปเรียนรู้วิธีการทำก้อนเห็ดเพื่อนำมาทำเอง ซึ่งก็ได้ผล เพราะเห็ดให้ผลผลิตดี ทำให้เริ่มมีรายได้เข้ามามากขึ้น กระทั่งมีลูกค้าสั่งซื้อก้อนเห็ดเพิ่ม จนในที่สุดต้องหยุดเลี้ยงหมูมาทำเห็ดแทน

“ระหว่างที่ทำก้อนเชื้อเห็ดขาย ยังเป็นตำรวจอยู่ ต่อมาได้ลาออกและหันมาเพาะเห็ดเต็มตัว อีกทั้งได้นำความรู้ที่มีอยู่เป็นวิทยากรให้แก่เกษตรกร มีการรวมกลุ่มเกษตรผู้เพาะเห็ดใน พื้นที่ กระทั่งต่อมาได้ลงเล่นการเมืองสนามท้องถิ่น จนได้เป็น ส.อบจ.อุบลราชธานี อ.ตาลสุม 1 สมัย ซึ่งก็นับได้ว่าเป็นประสบการณ์ที่ดีมากในการทำอาชีพและให้ความรู้แก่ผู้ อื่น”

ประเสริฐบอกว่า หลังสอบตกจากการลงรับสมัครเลือกตั้ง ก็หันมาเพาะเห็ดและทำก้อนเห็ดขายต่ออย่างเต็มตัว โดยทำเป็นอาชีพหลัก ส่วนรายได้จากการจำหน่ายก้อนเชื้อและเห็ดหลังหักค่าใช้จ่ายแล้วมีเฉลี่ยอยู่ ที่ 2-3 หมื่นบาทต่อเดือน ซึ่งถือเป็นรายได้ที่ดีในช่วงที่เศรษฐกิจตกต่ำเช่นนี้

“ที่เพาะมีอยู่ 2 ชนิด คือ เห็ดขอนป่า และเห็ดนางฟ้า โดยเห็ดเหล่านี้ถือเป็นอาหารพื้นเมืองที่คนนิยมรับประทาน ราคาไม่ตก ตลาดรับซื้อไม่อั้น ปัจจุบันราคาขายส่งหน้าฟาร์ม เห็ดขอนแก่นป่าอยู่ที่ กก.ละ 50 และเห็ดนางฟ้า กก.ละ 30 บาท”

ทั้งนี้ ผู้ที่ต้องการทำอาชีพเพาะเห็ดขายนั้นไม่ยาก เพียงแค่เตรียมวัสดุทำก้อนเห็ด ประกอบด้วย ถุงพลาสติกทนร้อน ขี้เลื่อยยางพารา หัวเชื้อเห็ด คอขวด สำลี ยางรัด ตะเกียงแอลกอฮอล์ ถังนึ่งฆ่าเชื้อ โรงเพาะเห็ด รำละเอียด ปูนขาว ยิปซัม ดีเกลือ กากน้ำตาล สวยยางรดน้ำ โรงบ่มก้อนเชื้อ

ส่วนวิธีการทำก้อนเชื้อเห็ด เพียงนำขี้เลื่อยมาผสมกับอาหารและส่วนผสมตามสูตรของเห็ดแต่ ละชนิด ซึ่งสูตรผสมโดยทั่วไป ได้แก่ ขี้เลื่อย 100 กก. รำอ่อน 5 กก. ปูนขาว 1 กก. ดีเกลือ 0.3 กก. ยิปซัม 0.3 กก. กากน้ำตาล 1 กก. คลุกเคล้าให้เข้ากัน จากนั้นรดด้วยน้ำสะอาด นำมาบรรจุในถุงพลาสติกให้เต็ม ไล่ลมออกให้หมดแล้วทุบให้แน่นพอประมาณจึงนำมาใส่คอขวด ปิดด้วยสำลีหรือจุก รัดด้วยยางวงเล็ก จากนั้นนำก้อนเห็ดไปนึ่งฆ่าเชื้อที่อุณหภูมิ 100 องศาเซลเซียส ก่อนจะปล่อยให้เย็น แล้วค่อยนำเชื้อเห็ดลง ในถุงก้อน แล้วนำถุงก้อนเชื้อเข้าโรงบ่มพักไว้ประมาณ 30-35 วัน ให้อากาศถ่ายเทสะดวกเพื่อให้เส้นใยเดินเต็มถุงแล้วค่อยนำเข้าโรงเพาะเพื่อทำ การเปิดดอก

หากสนใจวิธีการเพาะเห็ด หรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ สามารถโทรศัพท์มาได้ที่ 08-1967-8732 เนื่องจาก ปะเสริฐได้ฝึกอบรมให้ความรู้แก่ชาวบ้านมาเป็นจำนวนมาก และพร้อมจะถ่ายทอดความรู้ให้แก่เกษตรกรหรือแรงงานที่ตกงานที่สนใจเพาะเห็ดใน ช่วงเศรษฐกิจตกต่ำ

การเลี้ยงปลาบู่

3 comments March 20th, 2009

ปลาบู่
ปลาบู่ เลี้ยงน้อย แต่ได้กำไรมาก ของ พูนศักดิ์ ตันติเดชามงคล

ไม่ ได้เขียนเรื่องราวเรื่องปลาบู่นานแล้ว เพราะอะไรหนึ่ง เทคโนโลยีการเลี้ยงยังไม่ค่อยมีอะไรคืบหน้ามาก สอง ผู้เลี้ยงปลาบู่เป็นอาชีพยังมีน้อย

แต่ที่เปลี่ยนแปลงไป ก็คือ ราคารับซื้อผลผลิตปลาบู่ปรับตัวขึ้นตลอด จาก 250 บาท เป็น 350 บาท และล่าสุด 500 บาท ต่อกิโลกรัมแล้ว

เห็นมั้ยล่ะ! น่าสนใจขนาดไหน อดไม่ได้ที่จะหาหนทางมาเสนอ แม้ว่าไม่มีอะไรใหม่ แต่ราคารับซื้อนี่ซิ สูงจนน่าติดตาม

เหตุผล ที่ราคารับซื้อสูง อาจเป็นเพราะว่าสัตว์น้ำชนิดนี้หายาก และไม่มีใครนิยมเลี้ยงกัน ประกอบกับตลาดต่างประเทศ โดยเฉพาะเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร์ และจีน มีความต้องการเป็นอย่างยิ่ง ทำให้มีการแย่งซื้อสินค้ากัน ส่งผลให้ราคารับซื้อปรับขึ้นสูงตลอด

ทำไม อาชีพการเพาะเลี้ยงปลาบู่จึงไม่ค่อยนิยมกัน เป็นคำถามที่หลายคนอยากรู้คำตอบ โดยเฉพาะผู้คนที่อยู่นอกวงการสัตว์น้ำ

สาเหตุ เพราะว่าสัตว์น้ำชนิดนี้หาสายพันธุ์ยาก แม้ว่าทางกรมประมงจะประสบความสำเร็จในการเพาะขยายพันธุ์แล้วก็ตาม แต่ขั้นตอนอนุบาลนั้นยังมีการเจริญเติบโตไม่เหมือนสัตว์น้ำชนิดอื่นๆ นั่นก็คือ จะต้องใช้ระยะเวลาเลี้ยงจากลูกปลา จนได้ขนาด 1 ขีด นานกว่า 1 ปี ส่งผลให้เกษตรกรไม่ค่อยนิยมซื้อพันธุ์ปลา อายุ 1-2 เดือน จากกรมประมงไปเลี้ยง ส่วนใหญ่จะเสาะหาปลาขนาด 1-2 ขีด จากธรรมชาติมากกว่า เพราะว่าไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงอนุบาลนั่นเอง

อย่างไรก็ตาม ในการนำพันธุ์จากธรรมชาติมาเลี้ยงก็ยังมีข้อเสียอยู่ 2 ประการหลักๆ หนึ่ง จำนวนหรือปริมาณไม่แน่นอน สอง ลูกปลาที่ได้มามีสุขภาพที่ไม่ค่อยแข็งแรง อันเนื่องมาจากการดักจับ

แท้จริงพันธุ์ปลาบู่ในธรรมชาติยังมีค่อน ข้างมาก โดยเฉพาะภายในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกรามในจังหวัดสุพรรณบุรี แต่ทว่าเมื่อนำมาเลี้ยงต่อจะไม่ค่อยรอดชีวิต เนื่องจากในระหว่างการจับเกิดความบอบช้ำทั้งภายในและภายนอกลำตัว ยกเว้นลูกปลาที่จับจากการวางลอบ จะเกิดบาดแผลน้อย ยิ่งจับได้ตามแหล่งน้ำใกล้ๆ กับสถานที่เลี้ยงก็ยิ่งมีอัตรารอดชีวิตระหว่างเลี้ยงสูง เพราะว่าทั้งอุณหภูมิน้ำ และสภาพน้ำหรือสิ่งแวดล้อมอื่นๆ ใกล้เคียงกันนั่นเอง

รู้จัก พูนศักดิ์ ตันติเดชามงคล ผู้เลี้ยงปลาบู่ในลุ่มน้ำแม่กลอง

แม่ กลอง เป็นชื่อลำน้ำสำคัญทางตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา มีต้นน้ำอยู่ในเขตจังหวัดตาก และจังหวัดกาญจนบุรี บริเวณหุบเขาและบนที่สูงของเทือกเขาถนนธงชัยกับเทือกเขาตะนาวศรีกั้นเขตแดน ประเทศไทยกับประเทศพม่า

ลำน้ำที่ไหลจากเขตจังหวัดตาก เรียก แควใหญ่ หรือแควศรีสวัสดิ์ และลำน้ำที่ไหลจากเขตจังหวัดกาญจนบุรีเรียก แควน้อย หรือ แควไทรโยค

แควทั้งสองไหลมาสมทบกันที่ตำบลปากแพรก อำเภอเมือง จังหวัดกาญจนบุรี เป็นลำน้ำใหม่เรียก แม่กลอง

แม่ น้ำแม่กลองไหลผ่านพื้นที่ต่างๆ ของจังหวัดกาญจนบุรี ต่อจากนั้นไหลลงพื้นที่จังหวัดราชบุรี แล้วเข้าสู่เขตอำเภอบางคนที อำเภออัมพวา และออกท้องทะเลอ่าวไทย ที่อำเภอเมืองสมุทรสงคราม เรียกบริเวณนั้นว่า อ่าวแม่กลอง

จังหวัดสมุทรสงคราม สภาพพื้นที่เหมาะแก่การทำอาชีพเกษตรกรรมเป็นอย่างยิ่ง ทั้งนี้เพราะได้รับอิทธิพลจากแม่น้ำแม่กลองไหลผ่าน และบริเวณปากอ่าวมีน้ำกร่อยและน้ำเค็มด้วย ซึ่งลักษณะเช่นนี้จึงเป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ประเภทสัตว์น้ำที่เป็นอาหารเลี้ยงประชากรในท้องถิ่นและเป็นสินค้าออกในรูป ของอาหารทะเลสดๆ เช่น ปู ปลา กุ้ง หอย นานาชนิด

แม่น้ำแม่กลอง เปรียบเสมือนสายโลหิตที่สำคัญในการดำรงชีวิตมาตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน ด้วยว่าเป็นแหล่งอุปโภค บริโภค ใช้ในการเกษตร การประมง อุตสาหกรรม การคมนาคม ขนส่งสินค้า มิแปลกที่ชาวบ้านนิยมตั้งบ้านเรือนสองฝั่งริมแม่น้ำแม่กลอง คุณพูนศักดิ์ ตันติเดชามงคล อยู่บ้านเลขที่ 43 หมู่ที่ 5 ตำบลบางยี่รงค์ อำเภอบางคนที จังหวัดสุมทรสงคราม โทร. (084) 084-8431 มีบ้านอยู่ติดกับแม่น้ำแม่กลอง เดิมทำอาชีพรับเหมาก่อสร้างทั่วๆ ไป แต่ไม่ค่อยประสบความสำเร็จ จึงหันมาเลี้ยงปลากะพง และปลาทับทิม ในกระชังบริเวณหน้าบ้านริมแม่น้ำแม่กลอง ซึ่งประสบความสำเร็จในระดับหนึ่งเท่านั้น กล่าวคือ สามารถเลี้ยงปลาจนโตและจับขายส่งตลาดได้ แต่เมื่อสรุปรายรับ-รายจ่ายแล้ว ปรากฏว่า ได้รับกำไรน้อยมาก เนื่องจากปลาทั้งสองชนิดดังกล่าวกินอาหารเก่ง ทำให้จำเป็นต้องใช้เงินเลี้ยงปลาแต่ละรุ่นค่อนข้างสูง ประกอบกับในท้องตลาดบางช่วงมีปริมาณปลาเยอะ ส่งผลให้ราคารับซื้อลดลงด้วย

“ผมเกิดที่นี่ เห็นความเปลี่ยนแปลงมาตลอด โดยเฉพาะสภาพแวดล้อม และสภาพความเป็นอยู่ของชาวบ้าน จากออกเรือดักอวน หาปลาในธรรมชาติ ป้อนตลาด และมีการพัฒนาเลี้ยงปลาในกระชัง โดยอาศัยสายน้ำแม่กลองแห่งนี้ ผมเป็นคนหนึ่งที่เห็นเพื่อนบ้านประสบความสำเร็จในการเลี้ยงปลากะพง และปลาทับทิม จึงอยากยึดอาชีพนี้ด้วย แต่ทว่าเมื่อทำไประยะหนึ่ง ก็ได้รู้คำตอบว่า กำไรที่ได้รับมันไม่ใช่สวยหรูอย่างที่คิด ทำให้เป็นเหตุต้องเปลี่ยนอาชีพใหม่อีกคือ เลี้ยงปลาบู่ และเป็นคำตอบสุดท้ายจนมาถึงวันนี้ว่า ดีที่สุด” คุณพูนศักดิ์ กล่าว

เหตุผล ที่พูดว่า ดีที่สุดนั้น คุณพูนศักดิ์ อธิบายว่า เป็นปลาน้ำจืดที่มีราคารับซื้อสูงมาก และปรับตัวขึ้นตลอด จาก 300 บาท ต่อกิโลกรัม เป็น 400 บาท และเวลานี้เกือบ 500 บาท ต่อกิโลกรัมแล้ว มิหนำซ้ำมีพวกพ่อค้าแม่ค้าแย่งกันซื้อสินค้า หรือปลาบู่อีกด้วย

“ปลา ชนิดนี้ รสชาติดีมาก โดยเฉพาะนึ่งซีอิ๊ว แต่คนไทยไม่นิยมซื้อมากินกัน ส่วนใหญ่พวกพ่อค้าและแม่ค้ามักส่งออกไปขายที่ประเทศเพื่อนบ้าน อาทิ มาเลเซีย สิงคโปร จีน เป็นต้น เมื่อไปตลาดปลายทางและแปรรูปเป็นอาหารแล้ว จะขายกันกิโลกรัมละ 1,000-2,000 บาท เลยทีเดียว” คุณพูนศักดิ์ กล่าว

สร้างกระชังเลี้ยงปลาบู่ ออกแบบง่ายๆ

หน้า บ้านริมน้ำแม่กลองของคุณพูนศักดิ์ เป็นสถานที่เลี้ยงปลาบู่ในกระชัง โดยใช้เหล็กแป๊บเชื่อมต่อเป็นแพยาวกว่า 10 เมตร และซื้อถังพลาสติค 200 ลิตร เกือบ 20 ลูก มาทำทุ่นเพื่อพยุงกระชังไม่ให้จมน้ำ

กระชังมีทั้ง หมด 5-6 ลูก แต่ละกระชังส่วนใหญ่มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร โดยออกแบบให้สามารถแยกกระชังออกกับแพได้ ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการทำความสะอาดและตรวจเช็ครอยรั่วของกระชังหลังการจับปลาขายแต่ ละรุ่น

“ใจจริงผมอยากทำกระชังเลี้ยงปลาบู่ให้มากกว่านี้ แต่ปัญหามาติดอยู่ว่า ไม่สามารถเสาะหาพันธุ์ปลาที่มีคุณภาพมาเลี้ยงได้จำนวนละมากๆ ต้องอาศัยชาวบ้านช่วยดักจับลูกปลาแถวๆ นี้ หรือสายน้ำแม่กลอง เพราะว่าถ้านำพันธุ์ปลาที่อื่นๆ มาเลี้ยงที่นี่ ส่วนใหญ่แล้วปลาไม่ค่อยรอดหรือเสียหายค่อนข้างเยอะ โดยเฉพาะพันธุ์ปลาที่มาจากบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม เพราะว่าในการจับปลามาขายส่วนใหญ่มาพร้อมกับกุ้งก้ามกราม ทำให้เกิดบาดแผลและมีเมือกออกมาด้วยนั่นเอง” คุณพูนศักดิ์ กล่าว

พันธุ์ปลาบู่ที่มีคุณภาพหายาก

พันธุ์ปลาที่ชาวบ้านจับมาขายให้กับคุณพูนศักดิ์นั้น แม้ว่าดักจับด้วยลอบ หรือวิดน้ำจับปลาจากธรรมชาติ โดยไม่บอบช้ำมา แต่ก่อนซื้อปล่อยเลี้ยงนั้นคุณพูนศักดิ์จะนั่งตรวจเช็คทุกตัว เพื่อคัดตัวที่ไม่สมบูรณ์ออกทิ้ง

“การเลี้ยงปลาบู่ให้ประสบความสำเร็จหรือไม่นั้น ขั้นตอนซื้อพันธุ์มาเลี้ยงเป็นเรื่องสำคัญที่สุด เราต้องเลือกให้ดี บอบช้ำหรือมีเมือกออกมานิดหน่อย เราก็ไม่เอาแล้ว เพราะว่าเลี้ยงไปสัก 20-30 วัน ก็ลอยตายให้เห็น เสียทั้งเงินและเวลาไปเปล่า สู้มานั่งเสียเวลาคัดเลือกในช่วงแรกไม่ได้ แถมไม่ต้องมาเสียเงินซื้อด้วย”

คุณพูนศักดิ์ บอกย้ำว่า ด้วยเหตุผลเรื่องสายพันธุ์นี่แหละ ทำให้ไม่สามารถขยายพื้นที่หรือกระชังเลี้ยงปลาให้มากกว่านี้ได้

“พันธุ์ปลาบู่มีเยอะ ทั้งในบ่อเลี้ยงกุ้งก้ามกราม และสถานีเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำของกรมประมง แต่ทว่ามีข้อกำจัดทั้งนั้น นำมาเลี้ยงแล้ว ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยคุ้มค่า”

“ผมเลี้ยงปลา ค่อยๆ เป็น ค่อยๆ ไป มีพันธุ์ที่มีคุณภาพ เราก็ซื้อมาเลี้ยง ไม่มีเราก็คอย ไม่ต้องรีบร้อน ซึ่งสามารถป้องกันการขาดทุนได้ แม้ว่าขณะนี้ผมเลี้ยงน้อยๆ แต่ทว่าเมื่อจับขายแต่ละครั้งกำไรหลายแสนบาททีเดียว เพราะว่าราคารับซื้อมันดีมากนั่นเอง” คุณพูนศักดิ์ กล่าว

อนุบาลปลาในบ่อปูน ก่อนปล่อยเลี้ยงในกระชัง

พันธุ์ปลาบู่ที่คุณพูนศักดิ์ซื้อมาเลี้ยงส่วนใหญ่จะมีขนาด 10 ตัว ต่อกิโลกรัม หรือตัวละ 1 ขีด ในราคากิโลกรัมละ 30 บาท

“ในการหาซื้อพันธุ์ปลามาเลี้ยงนั้น ผมจะไปติดต่อกับชาวบ้านที่อาศัยในตามลุ่มแม่น้ำแม่กลอง ทั้งในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง เมื่อได้ปริมาณมากแล้ว จะขับรถกระบะ มีทั้งถังน้ำ พร้อมออกซิเจน เพื่อไปบรรทุกพันธุ์ปลากลับมาเลี้ยงที่บ้าน” คุณพูนศักดิ์ เล่าให้ฟัง

เมื่อถึงบ้าน คุณพูนศักดิ์จะไม่ปล่อยพันธุ์ลงเลี้ยงในกระชังทันที แต่จะนำมาอนุบาลไว้ในบ่อซีเมนต์ ขนาดกว้าง 1.50 เมตร ยาว 2 เมตร ซึ่งมีการพ่นน้ำและเปิดออกซิเจนอยู่ตลอดเวลา

“บ่อขนาดนี้ เราดูดน้ำเข้าไปให้อยู่ระดับ 40-50 เซนติเมตร ซึ่งสามารถปล่อยพันธุ์ปลาลงไปอนุบาลได้เกือบ 80 กิโลกรัม เลย เพราะว่าขนาดปลายังเล็กอยู่ อีกทั้งในช่วงนี้ เราไม่จำเป็นต้องให้อาหารอะไร เพียงแต่พักปลาไว้อย่างเดียว ทำให้คุณภาพของปลาในบ่อเลี้ยงไม่เปลี่ยนแปลงมากนัก”

คุณพูนศักดิ์ พักปลาอยู่ในบ่อปูนซีเมนต์ดังกล่าว ประมาณ 2-3 สัปดาห์ ซึ่งหากปลาตัวไหนไม่แข็งแรง ก็จะทยอยตายในช่วงนี้ หลังจากหยุดตายก็นำไปปล่อยเลี้ยงสู่กระชัง

ปลาบู่เลี้ยงง่าย ขายคล่อง

เมื่อปลาผ่านการอนุบาลไปแล้ว ก็เท่ากับการเลี้ยงขั้นต่อไป มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงแล้ว เนื่องจากปลาที่เหลือเป็นตัวที่แข็งแรง และสามารถปรับเลี้ยงในสถานที่แคบๆ หรือในกระชังได้

1 กระชัง ที่มีขนาดกว้าง 3 เมตร ยาว 3 เมตร ลึก 1.50 เมตร สามารถปล่อยลงเลี้ยงได้ประมาณ 600 ตัว และทุกๆ 2 วัน ให้กินอาหาร 1 ครั้ง ในช่วงเย็น

อาหารของปลาบู่นั้น คุณพูนศักดิ์ จะซื้อปลาทูหรือปลาข้างเหลือง ในราคา 12 บาท ต่อกิโลกรัม มาสับๆ ผสมกับเกลือแกงนิดหน่อย ใส่ลงในตะกร้าพลาสติค หย่อนลงไปในกระชัง 1 คืบ

ปลาบู่ในกระชังหลังตะวันตกดินก็จะค่อยๆ ขึ้นมากินเหยื่อหรืออาหารที่วางไว้ และรุ่งเช้าก็ดึงตะกร้าขึ้นมาตรวจสอบดูว่ามีอาหารเหลือหรือไม่

หาก อาหารเหลือ ก็ให้ลดปริมาณอาหารลง แต่ถ้าหมดก็ให้เพิ่มขึ้นไปอีก เขาบอกว่า เมื่อเลี้ยงในกระชังได้ประมาณ 6 เดือน ปลาก็จะมีน้ำหนักโดยเฉลี่ย 4 ขีด แต่ส่วนใหญ่เลี้ยงให้อายุครบ 1 ปี ถึงจะขาย เพราะว่าต้องการให้ปลาโตขึ้น คือน้ำหนักประมาณ 8 ขีด ถึง 1 กิโลกรัม

“ปลาที่เลี้ยงในกระชัง ประมาณ 6-7 เดือน ไปแล้ว จะกินอาหารวันละ 5 กิโลกรัม แต่เมื่อ 10-12 เดือน ก็กินอาหารเพิ่มขึ้นเป็น 7 กิโลกรัม แต่ก็คุ้มค่า เพราะว่ากินมาก น้ำหนักปลาที่เราเลี้ยงไว้ก็เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เป็นสิ่งที่ดีมากเลย” คุณพูนศักดิ์ กล่าว

สำหรับการขายปลาบู่นั้น คุณพูนศักดิ์ บอกว่า จะมีกลุ่มพวกพ่อค้าแม่ค้าอยู่จำนวนหนึ่ง เพื่อซื้อส่งออกโดยตรง เพียงแต่เรายกหูโทรศัพท์เท่านั้น พวกเขาก็เดินทางมารับซื้อที่หน้าฟาร์มเลย โดยให้ราคาสูงจนผู้เลี้ยงพอใจ และไม่อยากทำอาชีพอื่นแล้ว